รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 04160000-6961

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 45

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ04160000-6961
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง
Policy ID37
Branch ID1707
Kpi ID0416-1044
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)1,500,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)1,500,000
คืบหน้าล่าสุด45
หน่วยงานสํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางการเจริญเติบโตในทุกด้านรวมทั้งศูนย์กลางของประเทศในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับเมือง ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยได้ลงนามความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เป็นเมืองแรก ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ จนกระทั่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ลงนามความสัมพันธ์ในลักษณะเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่าง ๆ แล้ว รวม 36 เมือง ได้แก่ กรุงวอชิงตัน ดีซี (สหรัฐอเมริกา) กรุงปักกิ่ง เมืองแต้จิ๋ว นครกวางโจว นครฉงชิ่ง นครเทียนจิน นครเซี่ยงไฮ้ เมืองเซินเจิ้น นครอู่ฮั่น เมืองต้าเหลียน นครเฉิงตู มณฑลชานตง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) กรุงบูดาเปสต์ (สาธารณรัฐฮังการี) กรุงมอสโก นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (สหพันธรัฐรัสเซีย) กรุงมะนิลา (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) กรุงจากาตาร์ (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ จังหวัดเถื่อเทียนเว้ (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) นครหลวงเวียงจันทน์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) กรุงนูร์-สุลต่าน (สาธารณรัฐคาซัคสถาน) จังหวัดฟูกูโอกะ จังหวัดไอจิ (ประเทศญี่ปุ่น) กรุงโซล นครปูซาน เมืองแตกู (สาธารณรัฐเกาหลี) เมืองโลซาน (สมาพันธรัฐสวิส) สภาเทศบาลเกาะปีนัง (ประเทศมาเลเซีย) กรุงอังการา (สาธารณรัฐตุรกี) กรุงเตหะราน (สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน) กรุงพนมเปญ (ราชอาณาจักรกัมพูชา) กรุงลิสบอน เมืองปอร์โต (สาธารณรัฐโปรตุเกส) เมืองเซบิยา (ราชอาณาจักรสเปน) กรุงอูลานบาตอร์ (ประเทศมองโกเลีย) การลงนามความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองพี่เมืองน้องครอบคลุมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยมีหัวข้อดำเนินโครงการที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองพี่เมืองน้อง เพื่อการพัฒนาและเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองเมือง เช่น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การจราจรและขนส่ง การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้บริหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ต้องมีการเพิ่มกิจกรรมนอกเหนือจากการเดินทางเยือนหรือรับรองตามปกติ เป็นการแลกเปลี่ยนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมที่มีของกรุงเทพมหานคร เช่น การเผยแพร่วีดิทัศน์ผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ระหว่างเยาวชนเมืองพี่เมืองน้อง และผู้บริหารกรุงเทพมหานครร่วมส่งวีดิทัศน์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนกับเมืองพี่เมืองน้อง เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองพี่เมืองน้อง พัฒนาเยาวชนของทั้งสองฝ่าย และการต้อนรับเยาวชนจากเมืองพี่เมืองน้องจะเป็นการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม รวมถึงเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นการพัฒนาและความท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างเมือง ในด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเยาวชน โดยสามารถเปรียบเทียบและระบุความท้าทายที่เกิดขึ้นในการพัฒนาเมืองระหว่างกัน เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เป็นต้น และแสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและปรองดองในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะมีการต้อนรับเยาวชนจากกรุงอูลานบาตอร์ กรุงโซล เมืองต้าเหลียน และจังหวัดฟูกูโอกะ รวมถึงเมืองพี่เมืองน้องอื่น ๆ ที่มีความประสงค์ดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าวร่วมกับกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตลอดจนการจัดเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนกรุงเทพมหานครเพื่อการต่างประเทศ (Bangkok Youth Talent for International Affairs) ให้เป็นเยาวชนที่มีศักยภาพ รวมทั้งมีความพร้อมในการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเส้นทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถเป็นยุวทูต (Young Ambassador) ให้กับกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาชาติ
วัตถุประสงค์1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพหุวัฒนธรรม ส่งผลฝห้เยาวชยและประชาชนชาวกรุงเทพมฯ ที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและปรองดอง
2. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายเยาวชนระหว่างเมือง และสร้างความตระหนักรู้ถึงความท้าทายในการพัฒนาที่เกิดขึ้นระหว่างเมือง เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนร่วมกัน
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เป้าหมายสกต. ดำเนินการต้อนรับคณะเยาวชนและเจ้าหน้าที่จากเมืองพี่เมืองน้องของ กทม. ตามโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนแบบทวิภาคี ในลักษณะการเดินทางเยือนหรือรับรองตามปกติ และในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยเยาวชนมีการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองร่วมดัน
ผู้รับผิดชอบส่วนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเมือง
ผู้ตรวจประเมินนางวิมลพรรณ พิมสาร
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ45 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 145
ผลงานเดือนที่ 145
ผลงานเดือนที่ 245
ผลงานเดือนที่ 345
ผลงานเดือนที่ 145
ผลงานเดือนที่ 445
ผลงานเดือนที่ 545
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด