รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 09000000-4354

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 33

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ09000000-4354
ปี2566
ชื่อโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชัน
Policy ID22
Branch ID0000000
Kpi ID0900-2035
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)7,280,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)7,280,000
คืบหน้าล่าสุด33
หน่วยงานสำนักการศึกษา
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล การจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยนโยบายหลักของกรุงเทพมหานคร มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ซึ่งเป็นยุคแห่งสังคมข้อมูลสารสนเทศ (The Information Age) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมาก ภายใต้การขับเคลื่อนของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด การจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากคณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ ได้อย่าง รอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงควรปูพื้นฐานตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ซึ่งในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาเมืองที่มีรูปแบบอารยะ ลดความเหลื่อมล้ำสำหรับทุกคน ยุทธศาสตร์ย่อยที่ ๓.๓ การศึกษาสำหรับทุกคน เป้าประสงค์ที่ ๓.๓.๓ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้นักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยตัวชี้วัดกำหนดให้ ร้อยละของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ค่าเป้าหมายร้อยละ ๕๐ แต่เท่าที่ผ่านมาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนที่ได้คะแนน ๕๐ คะแนนขึ้นไป ในวิชาคณิตศาสตร์ ในช่วงปีการศึกษา ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ คือ ร้อยละ ๒๙.๔๕ ๑๓.๘๖ ๒๕.๔๕ ๑๕.๕๙ และ ๘.๔๑ ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายปีพบว่า ผลคะแนนมีแนวโน้มลดต่ำอย่างชัดเจน ไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีผลคะแนน เพียงร้อยละ ๘.๔๑ เท่านั้น ซึ่งอาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ธรรมชาติของแต่ละวิชาที่มีเนื้อหาและความยากง่ายไม่เท่ากัน รวมไปถึงปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหาการขาดครูและครูสอนไม่ตรงตามวิชาเอก และปัจจัยด้านผู้เรียนต่างๆ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในหลายแง่มุม ตั้งแต่การปิดเรียน การไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ การปรับมาใช้การสอนผ่านกลไกต่างๆ อาทิ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ก็อาจไม่ส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่ในอีกด้าน ก็เป็นแรงผลักดันให้เกิดการปรับตัวและนำมาซึ่งเทคโนโลยี และนวัตกรรมรูปแบบการศึกษาใหม่ๆ ที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีครูเป็นพี่เลี้ยง/ครูฝึก (Coach) และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้น สำนักการศึกษาจึงต้องเร่งดำเนินการด้วยมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชัน ปูพื้นฐานความรู้ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เป็นการสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ให้นักเรียนเข้าถึงความรู้ได้อย่างเท่าเทียม และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา ด้วยการนำสื่อเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน มีความทันสมัย สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย มีความท้าทายศักยภาพของนักเรียน ดึงดูด ความสนใจ ลดภาระของผู้ปกครองในการดูแลควบคุม ตลอดจนสามารถผสมผสานความรู้และความสนุกเพลิดเพลินในรูปแบบเกมกับเนื้อหาสาระทางวิชาการ ให้นักเรียนได้ฝึกฝนตามศักยภาพการเรียนรู้ของตนเอง โดยครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในการทำแบบฝึกหัดของนักเรียนได้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานตามค่าเป้าหมาย ที่กำหนด ส่งผลให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชัน สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาไทยแลนด์ 4.0
2.2 เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของนักเรียน และสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นรายบุคคล
2.3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น


เป้าหมาย3.1 ด้านปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 14000 คน มีสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชันที่ทันสมัย ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
3.2 ด้านคุณภาพ
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และมีทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชันอย่างมีคุณภาพ
2) ครูผู้สอนมีความรู้ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามศักยภาพ
ผู้รับผิดชอบนางสาวพิชามญชุ์ คุ้มสุข (3421)
ผู้ตรวจประเมินนายรัฐกร ชนะวงศ์ (1549) 0898555484
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ33 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 133
ผลงานเดือนที่ 133
ผลงานเดือนที่ 233
ผลงานเดือนที่ 333
ผลงานเดือนที่ 133
ผลงานเดือนที่ 433
ผลงานเดือนที่ 533
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด