รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 09000000-4355

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 25

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ09000000-4355
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์
Policy ID33
Branch ID1303
Kpi ID0900-2021
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)11,298,600
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)11,298,600
คืบหน้าล่าสุด25
หน่วยงานสำนักการศึกษา
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร จึงมีนโยบายเร่งด่วนและให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะของผู้เรียน
ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในยุคดิจิทัล รวมถึง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานในการนำเทคโนโลยี ไปสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองต่อโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการก้าวไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตอบรับกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษา บูรณาการเรียนรู้ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัย ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ

การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ประสบปัญหาการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ในหลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ รวมถึงการออกแบบเทคโนโลยี) ถึงแม้ครูผู้สอนมีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ Coding จากโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (STEM & Robotics) อย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม เนื่องจากสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนเห็นภาพ และเข้าใจกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และออกแบบเชิงวิศวกรรม ได้อย่างแท้จริง จากงานวิจัยการพัฒนาเด็กไทยด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมองกลฝังตัว มีทักษะทางช่าง เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างหุ่นยนต์และสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้นักเรียนวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงาน/สิ่งประดิษฐ์ ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน พิสูจน์ความรู้ โดยใช้หลักการ ทำโครงงาน เพื่อพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีมาก และผลงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก จึงจำเป็นต้องส่งเสริม สนับสนุนสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ทันสมัยเหมาะสมและมีคุณภาพ ให้โรงเรียนใช้ในการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนเข้าถึงความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติจริง มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร

สำนักการศึกษา จึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ ได้ร่วมศึกษากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กำหนดแนวทางพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจกระบวนการ การคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างมีคุณภาพ สามารถนำความรู้เลือกใช้เทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างนวัตกรรม ในอนาคต ส่งผลให้เกิดการยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์2.1 เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21
เป้าหมาย3.1 ด้านปริมาณ
โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับประถมศึกษา 165 โรงเรียน มีชุดสื่อการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ รวมจำนวน 832 ชุด โดยจำแนกเป็น
โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 103 โรงเรียน ๆ ละ 4 ชุด
โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 38 โรงเรียน ๆ ละ 6 ชุด
โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 24 โรงเรียน ๆ ละ 8 ชุด
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สามารถพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม
ได้อย่างมีคุณภาพ
3.2.2 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ

ผู้รับผิดชอบนางสาวพิชามญชุ์ คุ้มสุข (3421)
ผู้ตรวจประเมินนายรัฐกร ชนะวงศ์ (1549) 0898555484
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ25 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 125
ผลงานเดือนที่ 125
ผลงานเดือนที่ 225
ผลงานเดือนที่ 325
ผลงานเดือนที่ 125
ผลงานเดือนที่ 425
ผลงานเดือนที่ 525
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด