รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 09000000-4366

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 80

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ09000000-4366
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการพัฒนาEQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
Policy ID33
Branch ID1307
Kpi ID0900-2076
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด80
หน่วยงานสำนักการศึกษา
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลEQ ย่อมาจาก Emotional Quotient แปลว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถหรือศักยภาพของบุคคลในการรับรู้อารมณ์ของตนเองรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมจัดการกับอารมณ์ของตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น ตอบสนองอารมณ์และความต้องการของผู้อื่นได้ถูกต้อง ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง หรือมีทักษะทางอารมณ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ดี รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น จึงมักประสบความสำเร็จ มีความ พึงพอใจในชีวิต ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่สามารถ ควบคุม อารมณ์ได้ มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ พลอยทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและการทำงาน มีความคิดหมกมุ่น กังวล ไม่ปลอดโปร่ง เกิดปัญหากับบุคคลรอบข้างได้ นอกจากนี้ มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐอเมริกาเคยทำวิจัย พบว่า ผู้นำองค์กรทางธุรกิจในอเมริกาที่ประสบความสำเร็จสูงมีคุณลักษณะด้าน EQ สูงถึงร้อยละ 80 ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นคนมี IQ สูง นอกจาก EQ แล้ว คนที่มีความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ จะทำให้สามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
การพัฒนาผู้เรียนให้มีทั้ง EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่สำนักการศึกษามีหน้าที่ กำกับ ดูแลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีคุณภาพโดยมีเป้าหมายให้นักเรียนมีทั้งองค์ความรู้และมีทักษะในการดำรงชีวิตเพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ จึงได้จัดโครงการพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลขึ้น โดยการจัดอบรมให้แก่ครูประจำชั้น ป.2 เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำนักการศึกษา ได้จัดอบรมให้แก่ครูประจำชั้น ป.1 ไปแล้ว และจัดอบรมให้แก่ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้น ป.4 – 6 เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี EQ ในระดับปกติ
2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
2.3 เพื่อพัฒนาครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน
2.4 เพื่อพัฒนาครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน
2.5 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนาEQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน

เป้าหมาย 3.1 ด้านปริมาณ
3.1.1 กิจกรรมที่ 1 ครูประจำชั้น ป.2 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน 431 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 24 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน
3.1.2 กิจกรรมที่ 2 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 24 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน
3.1.3 กิจกรรมที่ 2 ครูผู้สอนระดับชั้น ป.4 – 6 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน
431 คน
3.1.4 กิจกรรมที่ 3 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว
จำนวน 431 โรงเรียนๆ ละ 1 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 48 คน เจ้าหน้าที่ 40 คน
3.1.5 กิจกรรมที่ 3 ครูประจำชั้น ป.2 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน 431 คน
3.1.6 กิจกรรมที่ 4 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 431 โรงเรียน
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการส่งเสริมให้มี EQ ในระดับปกติ ร้อยละ 80 มี EQ ในระดับปกติ
3.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่ได้รับการส่งเสริมให้มีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ร้อยละ 80 มีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ระดับดีขึ้นไป
3.2.3 ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 100 มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน ระดับดีขึ้นไป
3.2.4 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ร้อยละ 100 มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน ระดับดีขึ้นไป
3.2.5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา ร้อยละ 80 จัดกิจกรรมพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน ได้ในระดับดีขึ้นไป
ผู้รับผิดชอบนางสาวเปรมใจ บุญประสพ
ผู้ตรวจประเมิน
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ80 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 280
ผลงานเดือนที่ 380
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 480
ผลงานเดือนที่ 580
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด