รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 11000000-7205

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 10

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ11000000-7205
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน (สจน.)
Policy ID22
Branch ID1101
Kpi ID1100-6526
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด10
หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครประสบปัญหามลพิษทางน้ำมาอย่างยาวนานเห็นได้จากสภาพน้ำในคูคลองที่มี สีดำส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งทับถมลงในคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมากทำให้สภาพ ความเน่าเสียในคูคลองที่เป็นอยู่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากประชาชนจำนวนมากที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในชุมชนทั้งเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ ในอาคาร สถานประกอบการ ฯลฯ ประกอบกิจกรรมอันก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากแต่ละวัน และน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกทิ้งลงสู่คูคลอง และแหล่งน้ำ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่าง ถูกวิธี ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และความเจริญด้านต่าง ๆ ผลคือ แหล่งน้ำคูคลองกลายสภาพเป็นแหล่งรองรับ น้ำเสียที่เกิดขึ้นทุกวันในปริมาณมาก ๆ จนธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ จึงเกิดเป็นสภาวะมลพิษทางน้ำ ที่รุนแรงเป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครทางกรุงเทพมหานครมีมาตรการแก้ไขโดยการก่อสร้างตาม แผนแม่บท การจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักการระบายน้ำและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ในปี พ.ศ.2554 ได้เสนอแนะให้มีการแบ่งพื้นที่การดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียออกเป็น 27 โซน แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาล ทำให้โครงการบำบัดน้ำเสียเกิดความล่าช้า โดยกรุงเทพมหานครใช้งบประมาณการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียที่เปิดดำเนินการแล้วทั้ง 8 แห่งในปัจจุบัน ถึง 26,578 ล้านบาท ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียและบำรุงรักษาระบบทั้ง 8 แห่ง ประมาณปีละ 600 ล้านบาท มายาวนานนับตั้งแต่เริ่มเปิดเดินระบบ
ปัจจุบันโครงการบำบัดน้ำเสียที่กรุงเทพมหานครอยู่ในระหว่างดำเนินการ ซึ่งมีผลการศึกษาความเหมาะสม และพร้อมเข้าสู่กระบวนการออกแบบก่อสร้าง มี 3 แห่ง คือ โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย และโครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี จึงเห็นว่าโครงการดังกล่าวสามารถเสนอเข้าสู่กระบวนการ ให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐต่อไปคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยได้รับ ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาให้โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอนเป็นหนึ่งในกิจการของรัฐที่ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (opt-in) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พ.ศ.2558-2562) โดยให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 และเมื่อพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ส่งผลให้โครงการบำบัดน้ำเสียดังกล่าวยังคงต้องดำเนินต่อไปภายใต้พระราชบัญญัติฉบับใหม่ล่าสุด
กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินการให้โครงการบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอนขึ้น ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินการในโครงการบำบัดน้ำเสียนี้ ที่ปรึกษาจะต้องศึกษา จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการให้เป็นไปตามกรอบรายละเอียดที่กำหนด ซึ่งจะถูกระบุไว้ในขอบเขตงาน(TOR) ฉบับนี้ เพื่อให้ที่ปรึกษาเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสม ในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนสำหรับการดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
วัตถุประสงค์(ไม่ได้ตั้ง)
เป้าหมาย(ไม่ได้ตั้ง)
ผู้รับผิดชอบนายปธาน บรรจุปรุ (โทร.2324)
ผู้ตรวจประเมินคุณณัฐธิดา (โทร.1515)
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ10 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 210
ผลงานเดือนที่ 310
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 410
ผลงานเดือนที่ 510
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด