รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 11000000-7206

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 30

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ11000000-7206
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร (สจน.)
Policy ID22
Branch ID1101
Kpi ID1100-6526
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)10,000,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)10,000,000
คืบหน้าล่าสุด30
หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครประสบปัญหามลพิษทางน้ำมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากสภาพน้ำในคูคลองจำนวนมากที่มีสีดำส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งทับถมลงในคูคลองต่าง ๆ เป็นปริมาณมาก ทำให้สภาพความเน่าเสียในคูคลองที่เป็นอยู่ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากประชาชนจำนวนมาก ที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในชุมชนทั้งเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ ในอาคาร สถานประกอบการ ฯลฯ ประกอบกิจกรรมอันก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากแต่ละวัน และน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกทิ้งลงสู่คูคลอง แหล่งน้ำ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และความเจริญด้านต่าง ๆ ผลคือ แหล่งน้ำคูคลองกลายสภาพเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นทุกวันในปริมาณมาก ๆ จนธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ จึงเกิดเป็นสภาวะมลพิษทางน้ำที่รุนแรงเป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครพยายามแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำในคูคลองและแม่น้ำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่แผนแม่บทการจัดการน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร (Master Plan of Bangkok Sewerage System) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency, JICA) ได้จัดทำขึ้นฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2524 และกรุงเทพมหานครได้ทำแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อการจัดการน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร และเป็นที่มาของการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งมีการปรับปรุงแผนแม่บทเพื่อการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นระยะใน ปี พ.ศ. 2542 และปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นแผนแม่บทฉบับล่าสุดที่กรุงเทพมหานครปรับปรุงแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครร่วมกับ JICA ตามสภาพของเมืองที่เติบโตขึ้น จนถึงปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้าง และเปิดเดินระบบบำบัดน้ำเสียรวม 8 แห่ง ให้บริการบำบัดน้ำเสียแก่ประชาชนในกรุงเทพมหานครครอบคลุมพื้นที่ 22 เขตปกครอง ขนาดพื้นที่บริการ 215.67 ตารางกิโลเมตร มีขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียประมาณ 1.112 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน แต่มีปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบเฉลี่ยประมาณ 8,500,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน คิดเป็นร้อยละ 75 ของประสิทธิภาพ โรงควบคุมคุณภาพน้ำที่สามารถรับได้ แสดงให้เห็นว่าโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่กรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบันบางแห่งยังสามารถรับน้ำเสียเข้าสู่ระบบได้เพิ่มเติม
ประกอบด้วยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีรายงานตรวจสอบการดำเนินการมหานครปลอดภัย ด้านมลพิษ ของกรุงเทพมหานคร ในข้อตรวจพบที่ 1 ข้อเสนอแนะที่ 1 ให้พิจารณานำข้อมูลจุดน้ำเสียที่ยังไม่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางควบคุมคุณภาพน้ำและการรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำในแต่ละพื้นที่ได้ อาทิการวางแผนตรวจสอบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด การประสานขอความร่วมมือจากอาคาร สถานประกอบการ ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีอยู่ในพื้นที่โครงการหรือบริเวณใกล้เคียงให้เชื่อมต่อท่อน้ำเสียเข้าสู่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร การประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการเชื่อมท่อน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการวางแผนระยะยาวในการขยายโครงข่ายระบบท่อรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่บริการของโครงการ ข้อเสนอแนะที่ 2 กรณีโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียคงเหลือแต่ปริมาณการใช้น้ำประปาในพื้นที่โครงการมีแนวโน้มลดลง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี และโรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ ให้ศึกษาและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์โรงควบคุมคุณภาพน้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิ การขยายพื้นที่รวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ข้างเคียงที่ยังไม่มีระบบบัดน้ำเสีย เป็นต้น
กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพเมืองที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แนวทางการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ หรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อใช้ประโยชน์โรงควบคุมคุณภาพน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพเมืองที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แนวทางการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ หรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อใช้ประโยชน์โรงควบคุมคุณภาพน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2.2 ศึกษาออกแบบ/ปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี และโรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตโกสินทร์
เป้าหมายจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเพื่อให้การดำเนินการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครสอดคล้องกับสภาพเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้รับผิดชอบนายประธาน บรรจงปรุ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน โทร.2324
ผู้ตรวจประเมินคุณณัฐธิดา 1515
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ30 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 230
ผลงานเดือนที่ 330
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 430
ผลงานเดือนที่ 530
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด