รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 11000000-7217

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 80

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ11000000-7217
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนและดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย (สจน.)
Policy ID22
Branch ID1101
Kpi ID1100-6526
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด80
หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครประสบปัญหามลพิษทางน้ำมาอย่างยาวนานเห็นได้จากสภาพน้ำในคูคลองที่มีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งทับถมลงในคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมากทำให้สภาพความเน่าเสียในคูคลองที่เป็นอยู่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากประชาชนจำนวนมากที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในชุมชนทั้งเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ ในอาคาร สถานประกอบการ ฯลฯ ประกอบกิจกรรมอันก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากแต่ละวัน และน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกทิ้งลงสู่คูคลอง และแหล่งน้ำ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และความเจริญด้านต่าง ๆ ผลคือ แหล่งน้ำคูคลองกลายสภาพเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นทุกวันในปริมาณมากๆ จนธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ จึงเกิดเป็นสภาวะมลพิษทางน้ำที่รุนแรงเป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางกรุงเทพมหานครจึงมีมาตรการแก้ไขโดยการก่อสร้างตามแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักการระบายน้ำและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ในปี พ.ศ.2554 ได้เสนอแนะให้มีการแบ่งพื้นที่การดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียออกเป็น 27 โซน แต่เนื่องจาก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาล ทำให้โครงการบำบัดน้ำเสียเกิดความล่าช้า
รัฐบาลให้ความสำคัญของโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จึงได้มีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ในด้านของการจัดการน้ำเสีย มีจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย บึงหนองบอน ธนบุรี และโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเคหะชุมชนร่มเกล้า อยู่ในแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558 - 2562 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร 0505/ว(ล) 30409 ลงวันที่ 15 กันยายน 2560 เรื่อง การทบทวนแผนการปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ลงมติในข้อ 5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ในโครงการขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณสูง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ทั้งในระยะ 5 ปี และระยะ 20 ปี โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย มีความพร้อมในด้านพื้นที่ มีสภาพเป็นศูนย์กลางธุรกิจมีการขยายตัวของเมืองที่มีการเจริญเติบโตสูง มีปัญหามลพิษทางน้ำที่รุนแรง และเป็นโครงการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่เหมาะสมในการเป็นโครงการต้นแบบในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558 - 2562 แต่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖2 มาตรา 22 กำหนดให้ในการเสนอโครงการที่จะให้มีการร่วมลงทุนหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ และจัดส่งรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ โดยจะครอบคลุมกระบวนการเสนอโครงการจนได้เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์โครงการจะทำให้กรุงเทพมหานครได้
เอกชนมาดำเนินโครงการแบ่งรับความเสี่ยงของโครงการที่เหมาะสมและลดภาระเงินลงทุนของภาครัฐ ในการดำเนินโครงการ พื้นที่บริหารของโครงการมีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำดีขึ้น
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยของกรุงเทพมหานคร
2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยของกรุงเทพมหานคร
2.3 กรุงเทพมหานครได้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
เป้าหมาย 3.1 ที่ปรึกษามีการวิเคราะห์ จัดทำแนวทางรวมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย
3.2 ได้แนวทางในการดำเนินการในลักษณะโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุน ตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เพื่อนำไปใช้กับโครงการบำบัดน้ำเสียอื่น ๆ
ผู้รับผิดชอบนายปธาน บรรจงปรุ (โทร.2324)
ผู้ตรวจประเมินคุณณัฐธิดา (โทร.1515)
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ80 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 280
ผลงานเดือนที่ 380
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 480
ผลงานเดือนที่ 580
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด