รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50200000-6776

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 50

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50200000-6776
ปี2566
ชื่อโครงการค่าใช้จ่ายโครงการชุมชนเขตตลิ่งชันมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน (สำนักงานเขตตลิ่งชัน)
Policy ID22
Branch ID0000000
Kpi ID5020-6513
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)395,350
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)395,350
คืบหน้าล่าสุด50
หน่วยงานสำนักงานเขตตลิ่งชัน
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลปัญหาขยะและน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สุขภาพอนามัย และจิตใจ สาเหตุหลักของปัญหามูลฝอยและน้ำเสีย เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณ มูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากอัตราการบริโภคอุปโภคของประชากรสูงขึ้น ต้องใช้น้ำในปริมาณมากขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคและชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ แล้วปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี และสารอินทรีย์ลงสู่แม่น้ำลำคลองในปริมาณมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะบำบัดน้ำให้ใสสะอาดดังเดิม และเกินศักยภาพในการบริหารจัดการมลพิษของกรุงเทพมหานครที่ยังมีอยู่จำกัด ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และองค์ความรู้ ระบบการกำจัดขยะและบำบัด น้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ จนอาจจะไม่พร้อมรับภาระที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติของสำนักการระบายน้ำ เรื่อง สาเหตุปัญหาน้ำเน่าเสียในคลอง ร้อยละ 70 มีแหล่งกำเนิดมาจากชุมชนและบ้านเรือน ในขณะที่สถานประกอบการและการเดินเรือเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียเพียงร้อยละ 20 และ ร้อยละ 10 ตามลำดับ ทั้งนี้ ครัวเรือนซึ่งเป็นต้นเหตุและผู้รับผลกระทบจากปัญหายังไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการปัญหา ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียกระทบต่อสภาพแวดล้อม น้ำมีสีดำคล้ำส่งกลิ่นเหม็นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และมีผลต่อสุขภาพที่เป็นสาเหตุอันก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ ได้แก่ ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร โรคติดต่อต่างๆที่เกิดจากสัตว์และแมลงนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และการดำรงชีวิต ดังนั้น การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย และปัญหาขยะอินทรีย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคครัวเรือนและชุมชน
จากข้อมูลข้างต้น สำนักงานเขตตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนเขตตลิ่งชันมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ และติดตามผลการดำเนินการในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการจัดกิจกรรมอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ การติดตั้งอุปกรณ์ดักไขมันในครัวเรือน การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในการแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชนที่ยั่งยืน ลดการปล่อยของเสียลงแม่น้ำลำคลอง และร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมริมคลอง ให้สะอาดสวยงาม น่าอยู่ เป็นการพัฒนาแบบองค์รวมสามารถสร้างต้นแบบชุมชนที่มีระบบการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลดีทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อให้ความรู้ผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน
2.2 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาขยะและน้ำเสียของชุมชน และการนำกลับมาใช้ประโยชน์
2.3 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย และการบำบัดน้ำเสีย
เป้าหมายกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือน จาก 43 ชุมชนๆ ละ 10 คน จำนวน 430 คน
3.1 ร้อยละ 50 ของผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนมีความรู้ในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน
3.2 ร้อยละ 50 ของผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะและน้ำเสียของชุมชน
3.3 ร้อยละ 10 ของชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย และการจัดการน้ำเสีย
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมินคุณธัญญารัตน์ สมบูรณ์
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ50 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 250
ผลงานเดือนที่ 350
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 450
ผลงานเดือนที่ 550
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด