โครงการ/กิจกรรม ปีงบประมาณ : 2566 ของหน่วยงาน : 08000000
Home
Home SED
กรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานปกครองและทะเบียน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานตรวจสอบภายใน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** กองงานผู้ตรวจราชการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานประชาสัมพันธ์ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานกฎหมายและคดี สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์
สำนักอนามัย
สำนักการศึกษา
สํานักการโยธา
สํานักการระบายน้ำ
สํานักการคลัง
สํานักเทศกิจ
สํานักการจราจรและขนส่ง
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล
สํานักสิ่งแวดล้อม
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
สํานักพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตพระนคร
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
สำนักงานเขตบางรัก
สำนักงานเขตปทุมวัน
สำนักงานเขตยานนาวา
สำนักงานเขตดุสิต
สำนักงานเขตพญาไท
สำนักงานเขตห้วยขวาง
สำนักงานเขตพระโขนง
สำนักงานเขตบางกะปิ
สำนักงานเขตบางเขน
สำนักงานเขตมีนบุรี
สำนักงานเขตลาดกระบัง
สำนักงานเขตหนองจอก
สำนักงานเขตธนบุรี
สำนักงานเขตคลองสาน
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
สำนักงานเขตบางกอกน้อย
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สำนักงานเขตหนองแขม
สำนักงานเขตบางขุนเทียน
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
สำนักงานเขตดอนเมือง
สำนักงานเขตจตุจักร
สำนักงานเขตลาดพร้าว
สำนักงานเขตบึงกุ่ม
สำนักงานเขตสาทร
สำนักงานเขตบางคอแหลม
สำนักงานเขตบางซื่อ
สำนักงานเขตราชเทวี
สำนักงานเขตคลองเตย
สำนักงานเขตประเวศ
สำนักงานเขตบางพลัด
สำนักงานเขตจอมทอง
สำนักงานเขตดินแดง
สำนักงานเขตสวนหลวง
สำนักงานเขตวัฒนา
สำนักงานเขตบางแค
สำนักงานเขตหลักสี่
สำนักงานเขตสายไหม
สำนักงานเขตคันนายาว
สำนักงานเขตสะพานสูง
สำนักงานเขตวังทองหลาง
สำนักงานเขตคลองสามวา
สำนักงานเขตบางนา
สำนักงานเขตทวีวัฒนา
สำนักงานเขตทุ่งครุ
สำนักงานเขตบางบอน
2566
2565
2564
2563
2562
2561
แสดงข้อมูล
กราฟสถานะโครงการ
พิมพ์ออกไฟล์เป็น PDF
สำนักงานเลขานุการ
(1) กิจกรรมการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ เบิกจ่ายภาพรวม ณ.วันที่ 15 กันยายน 2566 1. งบดำเนินงาน งบประมาณหลังปรับโอน 389,433,788.- บาท เบิกจ่ายได้ 375,253,436.56 บาท คิดเป็น 96.36% 2. งบลงทุน งบประมาณหลังปรับโอน 73,119,105.- บาท เบิกจ่ายได้ 47,520,697.60- บาท คิดเป็น 64.99 % 3. งบเงินอุดหนุน งบประมาณหลังปรับโอน 206,598,894.- บาท เบิกจ่ายได้ 206,598,303.00 บาท คิดเป็น 100 % 4. งบรายจ่ายอื่น งบประมาณหลังปรับโอน 251,493,097.- บาท เบิกจ่ายได้ 232,409,170.66 บาท คิดเป็น 92.41% รวม งบประมาณที่ได้รับ 920,644,844.- บาท เบิกจ่ายได้ 861,781,607.82 บาท คิดเป็น 93.61%
-
Print
(2) โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคู่มือแนวทางการบันทึกบัญชีของศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/03/2566 : ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้แล้ว
-
Print
(3) โครงการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/02/2566 : สำนักอนามัยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการโครงการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักอนามัย มีผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมประกอบด้วย ข้าราชการ-กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 123 คน คณะกรรมการอำนวยการและเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน จำนวน 14 คน และวิทยากร จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 141 คน โครงการฝึกอบรมเป็นแบบพักค้าง ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดนิมมานรดี ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บัดนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว สรุปผลการดำเนินการ ดังนี้ 1.พิธีเปิด วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ 123 คน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดนิมมานนรดี ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยมี นางสาวณัชชา สกุลการะเวก ตำแหน่งเลขานุการสำนักอนามัย ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยให้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม 2.การฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟังการบรรยายและเข้ารับการฝึกอบรม ดังนี้ 2.1 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.30 - 11.30 น. ฟังบรรยายและทำกิจกรรม เรื่อง สมดุลงาน สมดุลชีวิต เวลา 13.30 - 14.30 น. ฟังบรรยายและทำกิจกรรม เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรแห่งความสุข 1 เวลา 15.00 - 17.00 น. ฟังบรรยายและทำกิจกรรม เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรแห่งความสุข 2 เวลา 19.30 – 21.30 น. ฟังบรรยายและทำกิจกรรม ภาวนา Time : "วิปัสสนานุบาล : ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ "(The Miracle of 'Being Awake) 2.2 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 06.00 - 07.00 น. ฟังบรรยายและทำกิจกรรม ทุกย่างก้าวอย่างมีสติ เวลา 09.00 – 11.00 น. ฟังบรรยาย เรื่อง องค์กรแห่งความรัก 3. การประเมินผลโครงการฯ คณะกรรมการดำเนินโครงการได้ติดตามประเมินผลจากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 123 ชุด โดยมีหัวข้อในการประเมิน ดังนี้ 3.1 ลำดับขั้นตอน/เนื้อหา/รูปแบบการดำเนินกิจกรรมโครงการฝึกอบรมฯ มีความเหมาะสม 3.2 สถานที่ที่ใช้ในการจัดโครงการฝึกอบรมฯ มีความเหมาะสม 3.3 ระยะเวลาในการจัดโครงการฝึกอบรมฯ มีความเหมาะสม 3.4 กิจกรรมฐานต่างๆ มีส่วนช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้ข้อคิดในเชิงคุณธรรมจริยธรรม 3.5 โครงการฝึกอบรมฯ ช่วยสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมได้ 3.6 ท่านสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม 3.7 วิทยากรสามารถถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย 3.8 คณะเจ้าหน้าที่ของโครงการฝึกอบรมฯ ให้ความสนใจและแนะนำ/ดูแลผู้เข้าอบรม 3.9 ภาพรวมของการจัดโครงการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้มีความเหมาะสม ข้อแสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เข้ารับการอบรมโครงการ - ระยะเวลาวันแรกกิจกรรมนานและมากเกินไปทำให้เลิกค่อนข้างดึกควรสวดมนต์เย็นนั่งสมาธิแล้วก็พักผ่อน - ควรมีการจัดกิจกรรมทุกปี - ไม่ควรจัดโครงการตรงกับวันหยุด สรุปผลในการประเมินทั้ง 9 หัวข้อคิดเป็นร้อยละ ผลการประเมินระดับมากที่สุด ร้อยละ 58.51 ผลการประเมินระดับมาก ร้อยละ 31.00 ผลการประเมินระดับปานกลาง ร้อยละ 7.53 ผลการประเมินระดับน้อย ร้อยละ 2.15 ผลการประเมินระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 0.81 4. การประเมินผลโดยการสังเกตผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักอนามัย พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในทุกๆ กิจกรรม มีความสุภาพเรียบร้อยให้ความเคารพและมีวินัยต่อตนเอง และผู้เข้าร่วมโครงการมีความตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ
-
Print
(4) โครงการสัมมนาและดูงานการบริการสาธารณสุขและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2566 : ทำหนังสือขอยกเลิกโครงการสัมมนาและดูงานการบริการสาธารณสุขและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เสนอต่อผู้บริหาร รับทราบ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ติดภารกิจประจำที่ต้องปฏิบัติในส่วนราชการ จึงเห็นควรยกเลิกโครงการ
-
Print
กองสร้างเสริมสุขภาพ
(5) กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการวัยทำงานอายุ 25-59 ปี
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : -วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ -จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารฯ
-
Print
(6) โครงการพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 19/06/2566 : - ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชน กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดบริการสุขภาพจิตชุมชน รุ่นที่ 1 วันที่ 15 มิถุนายน 2566 รุ่นที่ 2 วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมปริ๊นส์ตั้น พาร์ค สวีท ดินแดง กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง เข้าร่วมโครงการ พร้อมแจกคู่มือการจัดบริการสุขภาพจิตชุมชนสำหรับใช้ประกอบการประชุมและให้อาสาสมัครสาธารณสุขใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน - ดำเนินการจัดทำแบบประเมินผลความพึงพอใจและสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชน เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(7) กิจกรรมคัดกรองภาวะซึมเศร้าและดูแลกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้า
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดำเนินการประเมินสุขภาพจิตผู้รับบริการด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ให้คำปรึกษา สุขภาพจิตศึกษา ดูแลช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการตามสภาพปัญหา ติดตามกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังรับบริการ และกองสร้างเสริมสุขภาพสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
-
Print
(8) กิจกรรมคลินิกครอบครัวอบอุ่น
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดำเนินการประเมินสุขภาพจิตผู้รับบริการด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ให้คำปรึกษา สุขภาพจิตศึกษา ดูแลช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการตามสภาพปัญหา ติดตามกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังรับบริการ และกองสร้างเสริมสุขภาพสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
-
Print
(9) โครงการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/08/2566 : - รวมรวมผลการตรวจสุขภาพ/คัดกรองสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สำนักอนามัย - สรุปและประเมินผลโครงการ
-
Print
(10) โครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : รวบรวมและสรุปผลการคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก จากศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - ผลการคัดกรองมะเร็งเต้านม (ต.ค. 65-ส.ค. 66) จำนวน 8,860 คน - ผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ต.ค. 65-ส.ค. 66) จำนวน 7,560 คน
-
Print
(11) กิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ทั้งเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข และเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาล แนะนำให้ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน จัดโปรแกรมสำหรับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกณณีเด็กล่าช้า กองสร้างเสริมสุขภาพจัดทำสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-
Print
(12) โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครร่วมใจขจัดภัยสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/07/2566 : จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครสาธารรสุขกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ใช้งบประมาณ 68,550 บาท
-
Print
(13) โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/07/2566 : วิเคราะห์เครือข่ายสุขภาพสำนักอนามัย จำนวน 11 เครือข่าย - เครือข่ายด้านการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวด้านสาธารณสุข - เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครเชี่ยวชาญยาเสพติด - มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย - เครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในกรุงเทพมหานคร - เครือข่ายทำงานด้านเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร - มูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย - เครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักอนามัย - เครือข่ายสถานประกอบการอาหารประเภทตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี - เครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษาพื้นที่ กรุงเทพมหานคร - มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ - เครือข่ายสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ สร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
-
Print
(14) โครงการอบรมเตรียมความพร้อมในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/07/2566 : 1. จัดพิมพ์เอกสารประกอบการอบรมเตรียมความพร้อมในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เป็นจำนวนเงิน 223,150 บาท 2. ดำเนินการจัดอบรมตามแผนการอบรมฯ จำนวน 4 รุ่น 263 ราย ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 23 มิถุนายน 2566 เป็นจำนวนเงิน 174,040 บาท
-
Print
(15) กิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : -จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารฯ
-
Print
(16) กิจกรรมการพัฒนาข้าราชการและบุคลากรด้านโภชนาการที่ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : -จัดทำหนังสือ ขอส่งสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เรียน ผู้อำนวยการเขต -สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานเสนอผู้บังคับปัญชาตามลำดับ
-
Print
(17) กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : -ประสานติดตามข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการจากศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม -รวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการจากศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม -ตรวจสอบข้อมูลรายงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการจากศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม -จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารฯ
-
Print
(18) โครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันในกลุ่มอายุตามมาตรฐาน สปสช. จากศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการคัดกรองทั้งหมด 112,457 คน
-
Print
(19) กิจกรรมดูแลช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทั้งทางกายและจิตใจ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง มีแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาทางกายและจิตใจผู้ประสบภัย/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน สามารถดำเนินการลงพื้นที่(กรณีเกิดเหตุ) เพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตามแนวทางที่กำหนดไว้ และกองสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการสรุปรายงานผล
-
Print
(20) โครงการจัดทำสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการจัดทำสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
-
Print
(21) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/06/2566 : สรุปผลจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับการอบรมฯ จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 96 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เข้ารับการอบรมฯ มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 97 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 131,400 บาท
-
Print
(22) โครงการ กรุงเทพฯ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 17/09/2566 : วันที่ 14 กันยายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดม่วง วันที่ 1 กันยายน 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตสาทร วันที่ 20 กันยายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ลานกว้างหน้าซอย หมู่บ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา
-
Print
(23) กิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ตามภารกิจ
กำลังดำเนินการ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : หน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 2 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 6945 คน รถคัดกรองมะเร็งสตรี Mobile Lady check เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 22 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 1352 คน รถคัดกรองจอประสาทตา เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 16 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 882 คน รถทันตกรรม เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 115 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 4302 คน รถเอกซเรย์ เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 47 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 3258 คน รถคลายเครียด เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 12 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 236 คน หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 27 ครั้ง จำนวนผู้รับบริการ 2860 คน หน่วยเชิงรุกศูนย์บริการสาธารณสุข เดือน สิงหาคม 2566 จำนวน 137 ชุมชน จำนวนผู้รับบริการ 4943 คน
-
Print
(24) โครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน
กำลังดำเนินการ (70.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : 1. กองสร้างเสริมสุขภาพคืนข้อมูลให้แกนนำสุขภาพ เพื่อนำไปจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนนำร่อง 69 แห่ง และจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2. ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน
-
Print
(25) กิจกรรมพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : จัดประชุมเพื่อจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี ให้สอดคล้องกับบริบทของสำนักอนามัยและสำนักพัฒนาสังคม รวมถึงการเพิ่มกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) เพื่อนำไปใช้ในปีงบประมาณ 2567
-
Print
(26) กิจกรรมการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ต้นแบบ สู่ความเป็น Smart Digital Volunteer
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 19/06/2566 : ดำเนินงานการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมตามความสนใจนอกเหนือจากแผน จำนวน 7 รุ่น 7 ศบส. ได้แก่ ศบส.4, 32, 53, 35, 43, 47, และ ศบส.18 จำนวน 1,417 คน ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครทดลองใช้ application ในการปฏิบัติงาน การประสานงาน และแจ้งข่าวสารสู่ประชาชน
-
Print
(27) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น
กำลังดำเนินการ (35.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/07/2566 : ประชุมเพื่อชี้แจงการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30-16.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 15 อาคารธานีนพรัตน์ กทม.2 และผ่านระบบออนไลน์ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 รวมถึงรูปแบบการให้บริการสำหรับศูนย์บริการสาธารณสุขที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น
-
Print
กองการพยาบาลสาธารณสุข
(28) โครงการพัฒนา ประเมินและรับรองคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด โดยโครงการ พัฒนา ประเมินและรับรองคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุข ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
-
Print
(29) โครงการ ฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารอนามัย รุ่นที่ 2
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
:
-
Print
(30) โครงการฝึกอบรมปฐมนิเทศข้าราชการ สายงานพยาบาลเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติการพยาบาลสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
:
-
Print
(31) โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ โดยโครงการ การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
-
Print
(32) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟูพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/04/2566 : 1. เชิงปริมาณ การฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟูพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน แบบไป-กลับ ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร (กิจกรรมฝึกอบรม) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 124 คน เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ 2. เชิงคุณภาพ ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตรฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.58 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
-
Print
(33) โครงการ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะท้ายแบบประคับประคองสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/05/2566 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
-
Print
(34) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : ดำเนินงานจัดโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน เรียบร้อยแล้ว ดำเนินงานจัดโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน เรียบร้อยแล้ว ผลการดำเนินงาน: ร้อยละ 100 - ผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 186 คน คิดเป็นร้อยละ 93 การประเมินผลเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวการฝึกอบรมในภาพรวม ได้แก่ ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม การสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และมีประโยชน์และคุณค่าผลการประเมินโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.75, SD=0.46) และประเมินผลความรู้ก่อนและหลังของผู้เข้าฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนการอบรม ( ค่าเฉลี่ย=7.72, SD=1.88) หลังการอบรม (ค่าเฉลี่ย=9.58, SD =.77) เมื่อนำมาทดสอบทางสถิติ t-test พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 12.28 p < 0.05) กิจกรรมที่ 2 ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานผ่านระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเข้มเข็งและยั่งยืน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 180 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 173 คน คิดเป็นร้อยละ 96.11 แบ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพ มหานครสามัญ จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 76.88 และบุคลากร จากโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 23.12 ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการเข้าร่วมกิจกรรมฯ พบว่า ผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในแต่ละประเด็นตามลำดับ ได้แก่ สื่อที่ใช้ในการจัดประชุมมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ สถานที่ที่ใช้จัดประชุมมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 70.00 ความรู้และความเข้าใจจากเนื้อหาการประชุม คิดเป็นร้อยละ 67.50 ส่วนความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมและระยะเวลาในการจัดประชุมมีความเหมาะสม มีผู้เข้าประชุมให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุดเป็นจำนวนที่เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 66.67 - ผลการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อ จำนวน 22386 ราย ต้องการเยี่ยมบ้านได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ จำนวน 21,750 ราย (97.16%) ข้อมูล 1 ตุลาคม 65- 25กรกฎาคม 66
-
Print
(35) โครงการการสร้างสรรค์งานวิจัยจากงานประจำเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/09/2566 :
-
Print
กองทันตสาธารณสุข
(36) โครงการคนกรุงเทพฯ รักฟัน (เพื่อสุขภาพ ช่องปากที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/07/2566 : ดำเนินโครงการฯ เรียบร้อย แล้ว สรุปดังนี้ (ผลผลิต) ผู้ป่วยเบาหวานขึ้นทะเบียนที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 15,406 คน ที่ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากตนเอง (จากเป้าหมาย 12,000 คน) คิดเป็นร้อยละ 128.3 (ผลลัพธ์) ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจคัดกรองและมีความจำเป็นต้องรักษา ได้รับการรักษาทันตกรรมต่อเนื่อง 3,667 คน จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 15,406 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8
-
Print
(37) โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพสำหรับ ทันตแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ สรุปผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหาร เรียบร้อยแล้วตามบันทีกที่ กท.0703/1070 ลงวันที่ 31 พ.ค.2566 ผลการดำเนินโครงการดังนี้ ผลผลิต(Output) ร้อยละ 100 ของทันตแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านทันตกรรม ผลลัพธ์(Outcome) ร้อยละ 95.74 ของผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังการอบรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70
-
Print
(38) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยทำงาน(อายุ 30-59 ปี) และผู้สูงอายุ ปี 2566
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/08/2566 : สรุปผลงานตามตัวชี้วัดดังนี้ : ร้อยละ 190.21 ของกลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 76,084 คน เป็น วัยทำงานอายุ 30-59 ปีจำนวน 38,890 คน และ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 37,194 คน)ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกทักษาการทำความสะอาดช่องปาก โดยเบิกจ่ายจากเงินนอกงบประมาณ(บัญชี) โครงการสร้าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักอนามัย จำนวน 884,925.- บาท
-
Print
สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(39) โครงการการออกหน่วยสัตวแพทย์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ผลการดำเนินงานออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ เดือนสิงหาคม 2566 ดำเนินการจำนวน 13 จุด ผลการดำเนินงานตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 รวมเป็นจำนวน 264 จุด ผลการดำเนินงานออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ เป้าหมายของโครงการ ออกหน่วยสัตวแพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 70 จุด จากพื้นที่ที่เคยพบเคส สามารถดำเนินการได้ จำนวน 264 จุด...//
-
Print
(40) โครงการการตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัย ในเนื้อสัตว์ในสถานประกอบการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินงาน 1. กิจกรรมสุ่มตรวจสุขอนามัยและวิการที่ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคในเนื้อสัตว์ในสถานประกอบการ ผลการดำเนินงานที่ได้รับการสุ่งตรวจฯ เดือนสิงหาคม 2566 ครั้งที่ 1 จำนวน 0 แ่ห่ง ครั้งที่ 2 จำนวน 86 แห่ง ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 ผลการดำเนินการสุ่มตรวจสุขอนามัยและวิการที่ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคในเนื้อสัตว์ในสถานประกอบการจากสถานประกอบการทั้งสิ้น จำนวน 749 แห่ง สถานประกอบการที่ได้รับการสุ่มตรวจฯ ครั้งที่ 1 จำนวน 749 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ครั้งที่ 2 จำนวน 747 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.73 2. กิจกรรมการสุ่มตรวจเชื้อโรคอาหารเป็นพิษจากตัวอย่างเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม ดำเนินการตรวจวิเคราะห์เชื้อ Salmonella spp. และเชื้อ Staphylococcus aureus ในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ประจำเดือน สิงหาคม 2566 รวมทั้งสิ้น 262 ตัวอย่าง ผ่่านเกณฑ์การตรวจ 232 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจ 30 ตัวอย่าง ผลการดำเนินงานสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 2,860 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์การตรวจ 2,550 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์ 310 ตัวอย่าง ตัวอย่างเนื้อสัตว์ที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษคิดเป็นร้อยละ 89.16 3. กิจกรรมการให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขแก่สถานประกอบการให้ผ่านมาตรฐานเกณฑ์การตรวจเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม ดำเนินการให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขแก่สถานประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ประจำเดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 9 แห่ง ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 แห่ง ผลการดำเนินงานสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขสถานประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑฺ์การตรวจ ทั้งสิ้น 151 แห่ง จนผ่านเกณฑ์การตรวจ 100 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.23.. ผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด.//
-
Print
(41) โครงการการควบคุมการเพิ่มจำนวนสุนัขและแมวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ดำเนินการออกหน่วยสัตวแพทย์ฺเคลื่อนที่เพื่อผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว เดือนสิงหาคม 2566 ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว จำนวน 3,096 ตัว เดือนกันยายน 2566 ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว จำนวน 978 ตัว ผลการดำเนินการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวได้ จำนวน 24,104 ตัว เป้าหมายของโครงการ การควบคุมการเพิ่มจำนวนสุนัขและแมว ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการผ่าตัดทำหมัน จำนวน 22,000 ตัว สามารถดำเนินการได้ทั้งสิน 24,104 ตัว ผลการดำเนินงานเกินกว่าเป้าหมายกำหนด ...//
-
Print
(42) โครงการควบคุมจำนวนแมวจรจัดในชุมชน พื้นที่กรุงเทพมหานคร
กำลังดำเนินการ (60.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดเนื่องจากบริษัทคู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบกรงแมวได้ครบถ้วนตามสัญญาตามกรอบเวลาที่กำหนด ทำให้การดำเนินงานในข้ันตอนถัดไป(สำนักงานเขตรับกรงเเมว)ไม่เป็นไปตามเเผนที่กำหนดไว้...//
-
Print
(43) กิจกรรมสำรวจข้อมูลสุนัขและแมวในชุมชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลการสำรวจสุนัขและแมวในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากสำนักงานเขต จำนวน 1,325 ชุมชน เป็นสุนัข 33,476 ตัว แมว 63,681 ตัว คิดเป็นร้อย 65.89
-
Print
(44) กิจกรรมผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่สุนัขในชุมชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : คัดเลือกชุมชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 19 ชุมชน จำนวนสุนัขในชุมชน 61 ตัว สุนัขที่ได้รับการผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 36 ตัว คิดเป็นร้อยละ 59.02 ...//
-
Print
(45) กิจกรรมสำรวจกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการสำรวจของสำนักงานเขต 50 เขต พบกิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง จำนวน 38 แห่ง ...||
-
Print
(46) กิจกรรมการจดทะเบียนสุนัข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : สุนัขมีเจ้าของที่เข้ารับบริการผ่าตัดทำหมันที่คลินิกสัตวแพทย์ฯ ของสำนักอนามัย เดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 108 ตัว และได้รับการจดทะเบียนสุนัข จำนวน 108 ตัว ผลการดำเนินการสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 ได้รับการผ่าตัดทำหมันที่คลินิกสัตวแพทย์ฯ จำนวน 826 ตัว และได้รับการจดทะเบียนสุนัข จำนวน 766 ตัว ผลการดำเนินงานเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 ของสุนัขมีเจ้าของที่เข้ารับบริการผ่าตัดทำหมันที่คลินิกสัตวแพย์ของสำนักอนามัยได้รับการจดทะเบียนสุนัข....||
-
Print
กองควบคุมโรคติดต่อ
(47) โครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/08/2566 : สรุปและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา
-
Print
(48) โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียม ความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข
กำลังดำเนินการ (95.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/06/2566 :โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เป็นโครงการที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ด้านระบาดวิทยาสามารถปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ข้าราชการมีความพร้อมและสามารถบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(49) โครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
-
Print
(50) โครงการสถานศึกษาปลอดโรคติดต่อ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : โครงการแล้วเสร็จอยู่ในระหว่างรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
-
Print
(51) กิจกรรมไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
-
Print
(52) กิจกรรมพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API
ยกเลิก (70.00% ) เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/08/2566 : กองควบคุมโรคติดต่อ ได้ทำหนังสือที่ กท 0708/1015 ลงวันที่ 20 ก.ค.66 เรื่อง ขอยกเลิกกิจกรรมพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API นำเรียน ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้คลี่คลายลง คณะกรรมการโรคติดต่อ ได้ประกาศยกเลิก "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็น "โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง" อีกทั้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายการรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทั้งหมดผ่านระบบ API จึงทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงระบบการรายงานโรคผ่านระบบ API ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งอยู่ในส่วนพัฒนาระบบ API ทำให้การพัฒนาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ไปยังฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไม่เป็นไปตามแผน ไม่สามารถทดสอบระบบและประเมินการใช้งานระบบได้ และยังไม่สามารถใช้งานระบบ API ได้จริง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2566
-
Print
(53) กิจกรรมเร่งรัดการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : โครงการดำเนินงานแล้วเสร็จ
-
Print
(54) กิจกรรมการแจ้งเตือนสถานการณ์และแนวทาง การปฏิบัติงานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ กองควบคุมติดต่อประสานศูนย์บริการสาธารณสุขนำข้อมูลมาสรุปยอดและรายงานผลให้กับผู้บริหารทราบ
-
Print
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(55) โครงการชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ชื่อโครงการชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดสำนักอนามัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๑. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนที่จดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง ๕๐ เขต มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ๒. เป้าหมาย สนับสนุนงบประมาณดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ๕๐ เขต อย่างต่อเนื่อง ๓. งบประมาณ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเงินอุดหนุนรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖แผนงานบูรณาการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการบำบัดยาและสารเสพติด กิจกรรมการป้องกัน บำบัด และแก้ไขปัญหายาเสพติด รายการงานแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด เป็นเงิน 2,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) ๔. ผลการดำเนินโครงการ ๔.๑ จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขต ๕๐ เขต ดำเนินการจัดกิจกรรมตามความเหมาะสม ได้แก่ ๔.๑.๑ จัดกิจกรรมขยายการดำเนินการ CBTx ในชุมชนเป้าหมาย เช่น การประชาคมในชุมชนเพื่อสร้างการรับรู้ ค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ให้การดูแลช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชม ๔.๑.๒ จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ๔.๒ สำนักงานเขตทั้ง ๕๐ เขต จัดกิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้ ๔.๒.๑ จัดกิจกรรมตามแนวทางขับเคลื่อนการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติด ในชุมชนโดยชุมชนเป็นฐาน (Community based treatment: CBTx) ต่อเนื่องในชุมชนเป้าหมายเดิม จำนวนชุมชน เป้าหมาย ๑๓๖ ชุมชน และขยายการดำเนินการในชุมชนที่มีศักยภาพหรือชุมชนที่มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวม ๗๗ ชุมชม รวมทั้งสิ้น ๒๓๑ ชุมชน โดยมีผลการประเมินตามมาตรการชุมชนยั่งยืนต่อเนื่องจากขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้ ระดับ A ดำเนินการครบ ๖ ข้อ จำนวน ๑๑๔ ชุมชน ระดับ B ดำเนินการได้ ๔ ข้อ จำนวน ๘๕ ชุมชน ระดับ C ดำเนินการได้ ๒ ข้อ จำนวน ๑๔ ชุมชน ๔.๓.๒ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย ด้านการป้องกัน และปราบปราม ยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อลดระดับปัญหายาเสพติดในชุมชน
-
Print
(56) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาและ สารเสพติดแบบครบวงจร
กำลังดำเนินการ (70.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2566 : สรุปผลการจัดกิจกรรม เบิกจ่ายเงินทดรองคืน จัดกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในวันที่ 28 -2 9 สิงหาคม 2566 และอยู่ระหว่างขยายระยะเวลาโครงการ รายละเอียดตามหนังสือที่ด่วนที่สุด ที่ กท 0709/1708 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2566
-
Print
(57) โครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและ สารเสพติด
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2. กลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 1.1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.1 ประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด กิจกรรมที่ 2.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ณ สถานที่ราชการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 2.1.2 จัดประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ ณ สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด ณ สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 รางวัล ได้แก่ - รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร ผู้ร่วมงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาคีเครือข่าย และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ และผู้เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 2.1.4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านช่องทางสื่อสารสนเทศ กิจกรรมที่ 2.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมพลังการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 1 รุ่น 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 1 คน จำนวน 69 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 2 คน รวม 138 คน 3) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชการ จำนวน 2 คน 4) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เอกชน จำนวน 11 คน 5) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) นักศึกษาสถาบันละ 4 คน x 42 สถาบัน จำนวน 168 คน 2) อาจารย์สถาบันละ 1 คน จำนวน 42 คน 3) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 7 คน 4) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 237 คน กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) นักศึกษาสถาบันละ 21 คน x 42 สถาบัน จำนวน 882 คน 2) อาจารย์สถาบันละ 2 คน x 42 สถาบัน จำนวน 84 คน 3) เจ้าหน้าที่เขต 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน 4) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน รวมทั้งสิ้น 1,050 คน เชิงคุณภาพ 1. อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคู่มือใช้ประกอบการปฏิบัติงาน 2. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด มีนวัตกรรมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 3. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด มีแรงจูงใจ และทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 4. มีอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในชุมชน 5. มีเครือข่ายอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 6. อาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 3.ผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 1.1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเนื้อหา และจัดทำคู่มืออาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด เป็นประธาน และบุคลากรของสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดเป็นคณะทำงาน ซึ่งจัดประชุม จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ครั้งที่ 2 วันที่ 12 เมษายน 2566 และครั้งที่ 3 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 และจัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.1 ประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด กิจกรรมที่ 2.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ชั้น 7 สำนักงานเขตราชเทวี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งใน และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 คน ดังนี้ 1) นายธนัช พจน์พิสุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 2) นางวนิดา ปาวรีย์ สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข 3) นายบุญส่ง ไตรขันธ์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร 4) นายจักราธร สิงหาทอ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 5) นางสาวสกุลลัคน์ ปั้นเปล่ง กองสร้างเสริมสุขภาพ 6) นางปาจรีย์ สุจริตพงศ์ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 7) นายบุญเพ็ชร์ สมประสงค์ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 หนองแขม กิจกรรมที่ 2.1.2 จัดประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคารสำนักงานเขตราชเทวี โดยคณะกรรมการพิจารณาตัดสินจากการบรรยายแนวคิด และผลงาน พร้อมวิธีการดำเนินการ และแนวทางการพัฒนาต่อยอดต่อคณะกรรมการ โดยมีชิ้นงาน แบบจำลอง โปสเตอร์ ฟิวเจอร์บอร์ด พาวเวอร์พ๊อยต์ (Power Point) หรือวีดีโอคลิป (VDO Clip) ประกอบการนำเสนอ รวมเวลาการนำเสนอต่อทีมไม่เกิน 15 นาที ทั้งนี้ มีศูนย์บริการสาธารณสุขนำเสนอผลงานนวัตกรรม จำนวน 6 ทีม ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค และศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร ผลการตัดสิน มีดังนี้ 1) รางวัลชนะเลิศ ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี ผลงาน “ส้มจี๊ดไทยช่วยเลิกบุหรี่ได้ใน 14 วัน” ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร ผลงาน “Zello ค้นหาผู้เสพ ไม่ยุ่งกับผู้ค้า” ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ผลงาน “TikTok ติ๊กใจ ป้องกันภัยยาเสพติด” ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 4) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ผลงาน ธรรมะ สร้าง“แสนสุข” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 5) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย ผลงาน “อสส. Buddy คู่หู สู้ยาเสพติด” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 6) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค ผลงาน “กองทุนก้าวใหม่ ณ ชุมชนเลียบคลองบางแค” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) ดินแดง โดยปลัดกรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ เป็นประธานในการมอบรางวัล ผู้ร่วมงานประกอบด้วยผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จำนวน 183 คน กิจกรรมที่ 2.1.4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านเพจเฟสบุค (Page Facebook) ของสำนักงานป้องกันและบำบัด การติดยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมพลังการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ให้สามารถเป็น Facilitator ที่กระตุ้นให้เกิดการทำงาน อย่างมีส่วนร่วมระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง จำนวน 69 คน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 138 คน ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 13 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน กิจกรรมประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาท แนวทาง และปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด การเสริมพลัง พัฒนาทักษะการเป็น Facilitator และการทำงานเป็นทีม รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBTx) และการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) โดยใช้กระบวนการเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติดที่ร่วมกิจกรรมสามารถปฏิบัติงานภายใต้บทบาทของ Facilitator ที่ส่งเสริม ผลักดัน ตลอดจนประสานความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในพื้นที่ ที่สำคัญยังเป็นต้นแบบ การดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธณสุขกรุงเทพมหานคร โดยผล การวัดระดับความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร กับสถาบันอุดมศึกษาในการจัดตั้งอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา ดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 19 - 20 มกราคม 2566 ณ ห้องปริ๊นบอลลูม 3 ชั้น 11 อาคาร 1 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นักศึกษาที่มีจิตอาสา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 42 แห่ง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 237 คน ซึ่งกิจกรรมได้ดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษ พิษภัย ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า การใช้กัญชาทางการแพทย์ การทำงานเป็นทีม รวมถึงมีการถอดบทเรียนการทำงานจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษาและชุมชนรอบสถานศึกษา ผลการวัดระดับความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้ระยะเวลา 3 วัน ต่อ 1 แห่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่มีจิตอาสาได้ร่วมเป็นอาสาสมัครในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดทั้งในและรอบสถานศึกษา และร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยรอบสถานศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ดำเนินการโดย นักศึกษาที่มีจิตอาสาในแต่ละสถาบันการศึกษา 21 คน อาจารย์/เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2 คน จากสถาบันการศึกษา 41 แห่ง รวมทั้งสิ้น 943 คน และมีเจ้าหน้าที่กลุ่มป้องกันการติดยาเสพติด สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต จำนวน 25 เขต ร่วมดำเนินกิจกรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,025 คน ผลการดำเนินการจัดกิจกรรม พบว่า การจัดกิจกรรมได้รับความสนใจ และได้รับความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี จากนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันการศึกษา นักศึกษาได้แนวคิด และหลักการในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ห่างไกลจากยาเสพติด มีความกล้าที่จะปฏิเสธการใช้และการทดลองสารเสพติด ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและสังคม สร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษา พัฒนาทักษะการทำงาน การแก้ปัญหา และการวางแผนงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีเครือข่ายความร่วมมือในการหาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา
-
Print
(58) โครงการสถานประกอบการปลอดภัย ยาเสพติด
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/08/2566 : สรุปโครงการสถานประกอบการปลอดภัยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานเขต 50 เขต เพื่อดำเนินโครงการสถานประกอบการปลอดภัยยาเสพติด เขตละ 20,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อสนับสนุนให้มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการในพื้นที่เขต 50 เขต อย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ 3. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ ซึ่งสำนักงานเขต ได้จัดทำโครงการรองรับงบประมาณดังกล่าว โดยดำเนินการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้พนักงานในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่นพื้นที่เขต สนับสนุนการจัดกิจกรรมตามโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE และเสริมสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ จากการติดตามผลการดำเนินงาน พบว่า สำนักงานเขตมีการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการดังกล่าวแล้ว จำนวน 49 เขต ยกเว้นเขตตลิ่งชัน ไม่ใช้งบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานในสถานประกอบการที่มีพนักงานต่ำกว่า 10 คน ในระบบ NISPA
-
Print
(59) โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยประจำปีงบประมาณ 2566 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครอง ให้มีความรู้และทักษะด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 3. เพื่อจัดพิมพ์คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน 4. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยในศูนย์บริการสาธารณสุขและในชุมชน 2. กลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน พร้อมแบบสังเกตพฤติกรรม จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 รุ่นๆ ละ 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก และผู้แทนผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน จำนวนรวม 88 คน เชิงคุณภาพ กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่นๆ ละ 1 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านเด็กและผ่านการอบรมการพัฒนาทักษะสมอง EF จำนวนรวมทั้งสิ้น 564 คน กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยให้มีการจัดส่งรายงาน การดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง ผ่านระบบสารสนเทศ ร่วมกับการรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 3. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2566 ณ สถานที่ราชการและสถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4. ผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน พร้อมแบบสังเกตพฤติกรรม โดยดำเนินการจัดสรร ดังนี้ - บุคลากรและผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย 12 แห่ง - แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีสถานรับเลี้ยง เด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย สำหรับนำไปประกอบการปฏิบัติงานและประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองในชุมชน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ในเด็กปฐมวัย โดยพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ได้รับการทบทวนองค์ความรู้ ด้าน EF และฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย รวมทั้งผู้ปกครองที่เข้าร่วม กิจกรรมฯ ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านเด็กและผ่านการอบรมการพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ร่วมแลกเปลี่ยน การดำเนินงานในระดับพื้นที่กับผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย จากสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป ) โดยพยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยงเด็ก ได้ทำการสาธิตกิจกรรม และการดูแลต่างๆ ให้แก่เด็กปฐมวัยของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ตามแผนการจัดประสบการณ์ ที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดพัฒนาทักษะสมอง EF นอกจากนั้น ผู้ปกครองได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลานที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปดำเนินงานในระดับชุมชนต่อไป ทั้งนี้ จากการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1) จุดแข็งที่เอื้อต่อการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะสมอง EF - ความพร้อมของสถานที่ ที่มีการจัดสภาพแวดล้อมเป็นสัดส่วน สงบ สะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย - บุคลากรผู้ดูแลเด็ก มีความรักในงาน พร้อมต่อการเรียนรู้พัฒนา โดยเฉพาะการใช้ แนวคิด EF กับการจัดกิจกรรม ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องปรับ Mindset และวิธีการ กระทั่งเกิดความเข้าใจและนำไปสู่วิถีปกติของการดูแลเด็กได้สำเร็จ เช่น การจัดกิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง “โรคท้องผูก” โดยเริ่มต้นจากการเล่านิทานเรื่องผักชนิดต่างๆ ชวนคุยผักที่เด็กรู้จักและไม่รู้จัก สี ลักษณะต่างๆ ต่อยอดไปสู่ผลเสีย จากการไม่ทานผักจนทำให้เกิดโรคท้องผูก และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการให้เด็กได้ลงมือทำอาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบ โดยเปิด โอกาสให้เด็กได้เลือกชนิดของผักเอง ลองทานผักที่ตนเองเลือก จากกิจกรรมตามแผนฯ ดังกล่าว ช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ในด้าน ความจำเพื่อใช้งาน การวางแผน ลงมือทำ กำกับตนเอง มุ่งเป้าหมาย ควบคุมอารมณ์ที่จะอดทนรอคอยไม่แซงคิวเพื่อน หรือยับยั้งชั่งใจที่ จะไม่ทานอาหารก่อนเวลา และประเมินตนเองจากผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว เป็นต้น - บุคลากรผู้ดูแลเด็ก สามารถสร้างความไว้วางใจให้แก่เด็ก สังเกตจากคำพูดที่ไพเราะ ภาษากายที่อบอุ่น และความพร้อมทางอารมณ์ ของเด็ก เช่น ยิ้มแย้ม แจ่มใสและตั้งใจเรียนรู้ - มีทีมสหวิชาชีพที่สามารถเสริมการดูแลเด็กได้ครบทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย พัฒนาการตามวัย และกรณีเด็กพิเศษ เช่น พูดช้า ไม่เข้า สังคม ก้าวร้าว จะได้รับการปรับแก้พฤติกรรม และส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยร่วมมือกับครอบครัวของเด็ก 2) ประเด็นเพิ่มเติมสำหรับการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์/การดูแลเด็กปฐมวัย - ระบุเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้วิธีการสอน/การสื่อสารกับเด็กตรงประเด็น และควรประเมินผลสัมฤทธิ์ในการสอนทุกครั้ง โดยวัดจากความ เข้าใจของเด็ก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการให้สอดคล้องกับเด็กทุกคน เช่น กิจกรรมและสื่อประกอบการสอนมีความเหมาะสมกับ วัย กลุ่มของเด็ก และไม่ซับซ้อน เป็นต้น - เกริ่นนำก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อให้เด็กทราบเป้าหมายที่พี่เลี้ยงจะทำการสอน เช่น นิทานเรื่องนี้ มีสัตว์กี่ตัว มีตัวอะไรบ้าง ให้เด็กได้ฝึกความ จดจ่อใส่ใจ เพื่อตอบคำถามได้หลังจบนิทาน เป็นต้น นอกจากนั้น แผนการจัดประสบการณ์ควรต่อยอดจากเป้าหมายเดิม เพื่อขยายระดับ การเรียนรู้ ให้เด็กได้รู้จักเชื่อมโยงเรื่องเดิมที่เคยเรียนรู้มาแล้วในกิจกรรมอื่นๆ มาสู่กิจกรรมใหม่ และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมใน การตั้งเป้าหมายเล็กๆ เพื่อท้าทายความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง - เปิดโอกาสให้เด็กได้ตัดสินใจเลือกทำ หรือแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง รวมถึงการตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ และมีความสุขกับกิจกรรมเพิ่มขึ้น - ใช้เพลง/กิจกรรมเข้าจังหวะ มาช่วยฝึกวินัยเชิงบวก ลดการใช้คำสั่ง/ห้าม รวมถึงเพลงที่สื่อถึงความรัก ความอบอุ่น - กล่าวชื่นชมเด็ก โดยระบุคุณลักษณะด้านดีที่เด็กแสดงออก เพื่อสร้างแรงเสริมให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความดี ตระหนักเห็นคุณค่าของ ตนเอง และจูงใจให้เด็กทำซ้ำ กระทั่งเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัว - ให้เด็กสะท้อนความรู้สึกหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม เช่น จากกิจกรรม เด็กชอบอะไรมากที่สุด เพราะอะไร เพื่อให้เด็กรู้จักประเมินตนเอง และ ทำให้พี่เลี้ยงทราบว่าต้องเพิ่มเติมสิ่งใด - ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีพื้นที่กลางแจ้ง ควรนำเด็กมาทำกิจกรรมภายนอกมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมทักษะการสังเกต/สำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อการฝึกทักความจำเพื่อใช้งานจากการเชื่อมโยงเรื่องราวที่เคยเรียนรู้ รวมถึงการได้เล่นอิสระ ปีนป่าย ออกกำลังกาย ยังช่วย เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การตั้งเป้าหมายและลงมือทำ ในส่วนของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันที่พื้นที่จำกัดควรมีอุปกรณ์ ออกกำลังกาย/ทรงตัวในร่มทดแทน - เพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ที่มีความสงบ เช่น การลดเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เสียงดังเกินไป รวมทั้งการลดระดับเสียงในการสื่อสาร กับเด็กของผู้ดูแลเด็ก - งดสื่อจอใส (สื่อจากโทรทัศน์ โนตบุค มือถือ) โดยเปลี่ยนเป็นการเปิดเสียงเพลงให้เด็กฟังและใช้จินตนาการของตนเอง - กิจกรรมมีความยืดหยุ่น เพื่อให้เด็กได้คิดอิสระ เช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดท่าประกอบเอง เมื่อเด็กเคยชินกับเพลง แล้ว ให้เพิ่มเติมเพลงใหม่ต่อไป เป็นต้น 3) สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันที่การดำเนินงานโดดเด่น สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ที่มีศักยภาพในการจัดแผนการจัดประสบการณ์และการดูแลเด็ก โดยใช้แนวคิดพัฒนาทักษะสมอง EF จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 3.1) ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน 3.2) ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี เขตปทุมวัน 3.3) ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ เขตสวนหลวง 3.4) ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน เขตจตุจักร กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยรายงานการดำเนินงานประจำเดือนผ่านระบบสารสนเทศ รายงานผลการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive functions) ของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง ระยะเวลา การจัดกิจกรรมพัฒนา/ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) แก่เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน การให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา/ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) แก่ผู้ปกครอง/ประชาชนทั่วไป การจัดนิทรรศการ/มุมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา/ ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ต.ค. 65 - ส.ค. 66 3,253 ครั้ง 1,810 ครั้ง 1,700 ครั้ง สิ่งที่สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันต้องการการสนับสนุน - การให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเด็ก เนื่องจากพบเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและพฤติกรรมก้าวร้าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น สาเหตุจากวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้จอใสเลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้อย่างเพียงพอ ซึ่งการดูแลมีความซับซ้อนกว่าเด็กปกติทั่วไป - สนับสนุนสื่อการสอน/เสริมพัฒนาการด้าน EF อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มจำนวนบุคลากร เพื่อให้การดูแลเด็กมีคุณภาพ ทั่วถึง และปลอดภัย โดยเฉพาะ การดูแลเด็กปกติร่วมกับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือก้าวร้าว 5.ปัจจัยความสำเร็จ 1) การดำเนินงานเป็นเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย ทำให้สามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ในระยะยาว เป็นผลให้การดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครอง ได้อย่างมีมาตรฐาน รวมถึงมีกลไกการดำเนินงานในระดับชุมชนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข เกิดความครอบคลุมในทุกมิติ 2) การติดตาม ประสานงานกับสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุข เช่น การสร้างช่องทางติดต่อผ่านแอพลิเคชันไลน์ การสนับสนุนองค์ความรู้ คู่มือ ชุดกิจกรรม และสื่อประชาสัมพันธ์ และแบบรายงานการดำเนินงานประจำเดือน ทำให้เกิดการดำเนินงานจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง 6.ข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไข การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ปกครองในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ยังมีจำนวนไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่ตระหนัก ถึงการพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย ที่จะช่วยป้องกันปัญหาเชิงพฤติกรรมต่างๆ รวมถึงปัญหายาและสารเสพติด ได้ในอนาคต สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงจัดสรรคู่มือและสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม เพื่อให้ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันนำไปให้ความรู้กับผู้ปกครอง เช่น การประชุมผู้ปกครอง บอร์ดประชาสัมพันธ์ การมอบการบ้าน/แบบฝึกหัดให้ผู้ปกครองนำไปฝึกบุตรหลานที่บ้าน และการให้คำปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในครอบครัวของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือปัญหาด้านพฤติกรรม
-
Print
(60) โครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : สรุปโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) ชื่อโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดสำนักอนามัย ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๖ ๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ๑.๒ เพื่อให้มีชุมชนมีส่วนร่วมในการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ใช้ยาเสพติดในชุมชน ๒. เป้าหมาย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง ๓. งบประมาณ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ เงินอุดหนุนรัฐบาล แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลผลิตการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะด้านสังคม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนสำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,534,๐๐๐บาท (หนึ่งล้านห้าแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน) งบประมาณที่ใช้จริง ๑,๐๙๐,๓๙๐ บาท ๔. ผลการดำเนินโครงการ ๔.๑ กิจกรรมที่ ๑ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชน เป็นศูนย์กลาง เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒๓ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ (ดินแดง) และการประชุมทางไกลผ่านโปรแกรม Microsoft Teams โดยมี นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการ สำนักอนามัย เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขหรือผู้แทน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น ๑๓๒ คน ทั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณ ๔.๒ กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข โดยศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง ๖๙ แห่ง เป็นผู้นำหรือผู้สนับสนุนในกิจกรรมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในชุมชนให้บรรลุเป้าหมายของเวทีประชาคม โดยใช้ข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากชุมชน และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยใช้งบประมาณในโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการชุมชน หรือแกนนำชุมชน ประชาชน ผู้แทนหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ครั้งละ ๓๕ คน ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๖๙ แห่ง จัดกิจกรรมครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๔.๓ กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติยกเลิกกิจกรรม รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ที่ กท ๐๗๐๙/๑๐๖๑ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ การติดตามความความก้าวหน้าของโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) และได้บูรณาการกิจกรรมและงบประมาณในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม ๒ กิจกรรม ดังนี้ ๔.๓.๑ กิจกรรมที่ ๑ การประชุมก้าวใหม่สัญจรศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน และการพัฒนาการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรศูนย์บริการสาธารณสุข และสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด รวม ๑๕๐ คน รวม ๖ ครั้ง ครั้งละ ๑ วัน ดังนี้ - กลุ่มกรุงเทพกลางและกรุงเทพเหนือ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด-ทองคำ บำเพ็ญ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ จตุจักร - กลุ่มกรุงเทพใต้และกรุงเทพตะวันออก ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง - กลุ่มกรุงธนเหนือและกรุงธนใต้ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา ๔.๓.๒ กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้ทบทวน พัฒนา การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานเขต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักพัฒนาสังคม สำนักการศึกษา สำนักการแพทย์ สำนักเทศกิจ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักปลัดกรุงเทมหานคร สำนักอนามัย และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ ๗ - ๘ กันยายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ มหานาค ๔.๔ กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ -๑๖.๓๐ น.ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีนางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนในพื้นที่หนองแขมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตหนองแขม เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ผู้แทนสถานีตำรวจนครบาล ประธานชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น ๑๘๐ คน
-
Print
(61) โครงการกรุงเทพมหานครปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2566 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการกรุงเทพมหานครปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคี และประชาชนในการรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ 3. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ติดแอลกอฮอล์ในศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติด โรงพยาบาลตากสิน 4. เพื่อกำหนดรูปแบบการดูแล และส่งต่อผู้ติดแอลกอฮอล์ได้อย่างเหมาะสม 2. เป้าหมาย 1. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบในช่วงเทศกาลสำคัญ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบำบัดรักษาผู้ติดแอลกอฮอล์ 3. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 โดยใช้สถานที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4. ผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างศักยภาพ เพื่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพผู้ติดแอลกอฮอล์ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพของผู้ติดแอลกอฮอล์ เพื่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งและศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติด โรงพยาบาลตากสิน มีแนวทางเดียวกันในการคัดกรอง ดูแลบำบัดรักษา ฟื้นฟู และการพัฒนาเครือข่ายจัดบริการสุขภาพผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา จากศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติด โรงพยาบาลตากสิน จำนวน 170 คน ผลการดำเนินงาน : ผู้เข้าร่วมประชุม มีแนวทางเดียวกันในการคัดกรอง ดูแลบำบัดรักษา ฟื้นฟู และการพัฒนาเครือข่ายจัดบริการสุขภาพผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างกระแสการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเมืองปลอดบุหรี่ผ่านสื่อสารมวลชนหรือโซเชียลมีเดีย ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์และสร้างกระแส เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ผ่านสื่อ Social media ตามช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook Page ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เช่น ช่อง NBT 2HD ,สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600, กรุงเทพมหานคร ,Gen Z no smoking Page Website : www.zolitic.com กิจกรรมที่ 3 จ้างเหมาจัดกิจกรรมรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบในช่วง เทศกาลสงกรานต์ ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ รลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ และเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชสื่อโซเชียล มีเดีย ดังนี้ 1. Facebook Page: มนุษย์เงินเดือน 2. Page Website : ไทยรัฐออนไลน์ 3. Website online 1.https://local.businesstoday.co/bkk/Bangkok/37657 2.https://local.smartsme.co.th/bkk/Bangkok/37657 3.https://www.zolitic.com/bkk/Bangkok/37657 4.https://local.brighttv.co.th/bkk/Bangkok/37657 5.https://local.77kaoded.com/bkk/Bangkok/37657 6.https://local.cheechongruay.smartsme.co.th/bkk/Bangkok/37657 7. https://local.thaiquote.org/bkk/Bangkok/37657 8.https://region.siamrath.co.th/bkk/Bangkok/37657 9. https://general.tnnthailand.com/bkk/Bangkok/37657 10. https://local.dara2you.com/bkk/Bangkok/37657 11. https://local.newtv.co.th/bkk/Bangkok/37657 12. https://rorbbaanrorbmeung.chiangmainews.co.th/bkk/Bangkok/37657 13. https://local.voicetv.co.th/bkk/Bangkok/37657 4. Tiktok : ข่าวสนุก สุดสัปดาห์ 5. Youtube : ข่าวสนุก สุดสัปดาห์ 6. จัดทำสื่อประเภท infographic และเผยแพร่ไปยังช่องทางของหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภาคีเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมวิ่งพักตับ พักปอด ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ วันที่ 17 มิถุนายน 2566 จัดกิจกรรมเดิน – วิ่งรณรงค์ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ณ สวนจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใส่ใจในสุขภาพ โดยได้เชิญชวนภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมรณรงค์ เดิน - วิ่งเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร และกิจกรรมแอโรบิค ภายใต้ธีมงาน เลิกดื่ม เลิกสูบ ลดเสี่ยง เนื่องในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ และวันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2566 ซึ่งกำหนดประเด็นรณรงค์ "บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย" ซึ่งการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมุ่งเน้นสร้างกระแสการป้องกันนักสูบ นักดื่มหน้าใหม่ สนับสนุนให้ประชาชนเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ ผู้ร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้แทนสำนักงานเขต สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เรื่องยาสูบ (ศจย.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครและประชาชน รวมจำนวน 500 คน กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเนื่องในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 จัดกิจกรรมเนื่องในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปี 2566 โดยมีรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นายแพทย์สุขสันต์ กิตติศุภกร) เป็นประธาน ในการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้กับบุคคล องค์กร/หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านป้องกัน ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีเด่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 14 แห่ง ดำเนินการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบดีเด่น จำนวน 3 แห่ง ร้านปลอดเหล้าและบุหรี่เข้าพรรษา ปี 2565 รับโล่เชิดชูเกียรติ จำนวน 10 แห่ง และเกียรติบัตร จำนวน 45 แห่ง ทั้งนี้ มีศิลปินนักร้องรับมอบโล่บุคคลต้นแบบไม่ดื่มไม่สูบ จำนวน 2 คน และร่วมกิจกรรม “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ได้แก่ นายพลพล พลกองเส็ง(พลพล) และนางสาววรกาญจน์ โรจนวัชร (พันช์) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน ภายในงานจัดนิทรรศการแสดงผลงานของบุคคล หน่วยงาน/องค์กรที่รับโล่ประกาศเกียรติคุณ การจัดบูธกิจกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เครือข่ายองค์กร งดเหล้า ชมรม TO BE NUMBER ONE บ้านพิชิตใจ และสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด และมีผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 350 คน กิจกรรมที่ 6 ร้านปลอดเหล้าและบุหรี่เข้าพรรษา ปี 2566 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนร้านค้าร้านอาหารที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมกิจกรรมร้านปลอดเหล้าและบุหรี่เข้าพรรษา ทั้งนี้ มีร้านเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งสิ้นจำนวน 57 ร้าน และได้สนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ธงญี่ปุ่น ป้ายตั้งโต๊ะ ถ้วยชาม ผ้ากันเปื้อน พร้อมสกรีนข้อความ “ร้านปลอดเหล้าและบุหรี่เข้าพรรษา” ซึ่งร้านที่เข้าร่วมงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม – 28 ตุลาคม 2566 5. ประโยชน์ที่ได้รับ 1) ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีส่วนร่วมในการรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2) มีภาคีเครือข่ายและความร่วมมือกันในการรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3) เกิดกระแสการไม่ดื่มไม่สูบ เป็นการป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ 6. ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) จำนวนของผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 1,020 คน คิดเป็น 204 % 2) จำนวนของภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสำคัญ 80 หน่วยงาน คิดเป็น 133 %
-
Print
(62) โครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กำลังดำเนินการ (68.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2566 : ดำเนินการขออนุมัติขยายเวลาโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ กท 0709/1873 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2566 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพองค์ความรู้ในการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด กิจกรรมที่ 7 จัดทำและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ คู่มือ แผ่นพับและวัสดุเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาผู้เสพ/ ผู้ติดยาเสพติด กิจกรรมที่ 8“พิชิตใจ Workshop”
-
Print
(63) โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับ การบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ชื่อโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ปีงบประมาณพ.ศ.2566 1.วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดที่ถูกต้องในการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่องให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 1.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 2.เป้าหมาย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) แบบไป - กลับ ครั้งละ 1 วัน จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 160 คน รวม 2 ครั้ง จำนวน 320 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดจากศูนย์บริการสาธารณสุข (คลินิกก้าวใหม่ และก้าวใหม่พลัส) และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จำนวนครั้งละ 142 คน - ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ เจ้าหน้าที่ดำเนินการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งละ 18 คน 3.งบประมาณ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เงินอุดหนุนรัฐบาล แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลผลิตการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะด้านสังคม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนสำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เป็นเงิน 266,000 บาท (สองแสนหกหมื่นหกพันบาทถ้วน) งบประมาณที่ใช้จริง 204,128 เนื่องจากสถานการณ์เลือกตั้ง ปี 2566 จึงขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินโครงการ จากเดิม ดำเนินการเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 2566 เป็น ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2566 และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการค่าใช้จ่ายในกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 266,000 บาท เป็น จำนวนเงิน 252,000 บาท ดังนี้ 1.ค่าตอบแทนผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ จากเดิม จำนวนเงิน 36,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 18,000 บาท 2.ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม จากเดิม จำนวนเงิน 6,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท0709/316 ลงวันที่ 13 ก.พ.2566 4.ผลการดำเนินงาน โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการรักษาบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) ครั้งที่ 1 วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สถานที่ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร จำนวนผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น 141 คน รายละเอียดการดำเนินโครงการ เวลา 08.45 - 09.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) โดย นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด เวลา 09.00 - 12.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง รูปแบบ Case Manager” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โดยทีมวิทยากรแนะนำแนวทางการจัดการรายกรณี (Case management) และการพัฒนาทักษะในการเป็นผู้จัดการรายกรณีอย่างเหมาะสม เวลา 13.00 - 15.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง รูปแบบ Case Manager” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ซึ่งได้ให้การแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฯ อย่างต่อเนื่อง เวลา 15.00 – 16.00 น. สรุปและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่องอย่างต่อเนื่อง และให้การบ้านในเรื่องการฝึกวางแผนพัฒนาระบบติดตามการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องของ กทม. โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลในกิจกรรมครั้งต่อไป (ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566) ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 สถานที่ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร จำนวนผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น 130 คน รายละเอียดการดำเนินโครงการ เวลา 09.00 - 12.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “ แนวทางสร้างเสริมศักยภาพการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่องของกรุงเทพมหานคร” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการบ้านที่ได้รับในการครั้งก่อน เกี่ยวกับวางแผนพัฒนาระบบติดตามการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องของ กทม. ซึ่งพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำงานติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการส่งต่อหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเคส ตลอดจนกำลังคนในการติดตามมีไม่เพียงพอ จึงมีการคิดนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบต่างๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มช่องทางติดตามที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น เวลา 13.00 - 15.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “ทบทวนการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care)” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สรุปสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ตลอดการเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเป้าหมาย กระบวนการ จนถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และการดำเนินงานอย่างสอดคล้องเพื่อไปถึงเป้าหมายในการให้บริการ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟู เวลา 15.00 – 16.00 น. สรุปและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และพิธีปิดกิจกรรม
-
Print
(64) กิจกรรมเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติดของศูนย์การเรียนรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด SDLC
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2566 : สรุปการดำเนินกิจกรรมศูนย์การเรียน SDLC ตั้งแต่เดือน ตุลาคม.65 ถึง กันยายน 66 มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 24 โรงเรียนจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 2,246 คน ศึกษาดูงาน 7 ครั้ง ผู้เข้าร่วมทั้งหมด140 คน โดยไม่ใช้งบประมาณ
-
Print
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(65) โครงการการใช้ข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อการติดตามและเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/08/2566 : ร้อยละ 100 ของสถานพยาบาลในกรุงเทพมหานคร (สำนักการแพทย์ /สำนักอนามัย) ส่งข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ตามระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100 ของสถานพยาบาลส่งข้อมูลบริการทางการแพทย์ และสุขภาพของผู้ติดเชื้อ / ผู้ป่วยเอดส์ มีคุณภาพ รายงานข้อมูลจาก DashBoard BSMS : ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ 30,105 คน ผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัส 17,142 คน ผู้ที่กดปริมาณไวรัสสำเร็จ 14,105 คน ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566
-
Print
(66) กิจกรรมนำร่องการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสของศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/08/2566: ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 18 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้าน ไวรัสที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 374 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 374 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
-
Print
(67) กิจกรรมการประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์กลางการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค (TB Referral Center)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 01/09/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 590 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 567 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 20 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
-
Print
(68) กิจกรรมการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบการกำกับกินยาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT/VOT) ที่มีคุณภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/08/2566 : ผลสำเร็จของการรักษาวัณโรคทุกประเภท รอบ 1-4/2566 * ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน 525 ราย * ผู้ป่วยที่รักษาสำเร็จ 480 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.43 ข้อมูล ณ 29 สิงหาคม 2566
-
Print
(69) โครงการติดตาม กำกับ การส่งตรวจการทดสอบความไวต่อยาของผู้ป่วยวัณโรคในศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/08/2566 : - ผลการส่งตรวจการทดสอบความไวต่อยาของผู้ป่วยวัณโรคในศูนย์บริการสาธารณสุข รอบ 1 -4/ 2566 * จำนวนผ้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 707 ราย * ได้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการส่งทดสอบความไวต่อยา 575 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.33 ข้อมูล ณ 29 สิงหาคม 2566
-
Print
(70) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุม วัณโรคในกรุงเทพมหานคร (การรณรงค์สัปดาห์วัณโรคสากล)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/04/2566 : จัดกิจกรรม "วันวัณโรคโลก World TB DAY2023" ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 1 โดยมีนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และเล่นเกมส์รับของรางวัล และมีกิจกรรมการตรวจคัดกรองสุขภาพตามกลุ่มวัย โดย ศบส. 28 ซึ่งมีพนักงาน เจ้าหน้าที่ในตึกสินสาธร รวมถึงประชาชนทั่วไป มาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 180 คน รวบรวมรายงานการจัดกิจกรรมวันวัณโรคสากลของ ศบส. ในช่วงระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2565 มีผลการดำเนินงานดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้ขับขี่รถรับจ้างสาธารณะ สถานประกอบการ ศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน และอื่นๆ ได้รับการให้ศึกษา จำนวน 12791 ราย ได้รับการคัดกรองวัณโรค จำนวน 4730 ราย ได้รับการตรวจเสมหะ จำนวน 40 ราย ได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 37 ราย เอกสารตามแนบ
-
Print
(71) กิจกรรมจัดบริการคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK PRIDE CLINIC)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 01/09/2566: จำนวนผู้รับบริการคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK Pride Clinic) ประจำเดือนกรกฎาคม 2566ผู้รับบริการทั้งหมด 512 คน ทำแบบประเมินความพึงพอใจ ทั้งหมด 46 คน - พอใจมากที่สุด 42 คน คิดเป็นร้อยละ 91.3 - พอใจ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 8.7
-
Print
กองเภสัชกรรม
(72) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/09/2566 : ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในการนำความรู้ไปใช้พัฒนาบริการของสำนักอนามัยในเรื่อง "โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคไตเรื้อรัง" โดยมีศูนย์ฯ นำความรู้ไปใช้และรายงานตามแบบฟอร์มที่กองเภสัชกรรมกำหนด จำนวน 67 ศูนย์ฯ คิดเป็นร้อยละ 97.10 ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด 69 แห่ง (มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง ไม่ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านบุคลากรในการปฏิบัติงาน)
-
Print
(73) โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
กำลังดำเนินการ (95.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : กิจกรรมที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและส่งผลดำเนินการมายังกองเภสัชกรรม เรียบร้อยแล้ว 69 แห่ง (ร้อยละ 100) กิจกรรมที่ 3 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ อยู่ระหว่างส่งเรื่องให้สำนักงานประชาสัมพันธ์พิจารณาเห็นชอบรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์
-
Print
(74) โครงการเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : ดำเนินการเบิกจ่ายและคืนงบประมาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในปีงบประมาณ 2566 กองเภสัชกรรมมีร้านยาเข้าร่วมเป็นร้านยาภายใต้โครงการเครือข่าย 102 ร้าน ครอบคุมทั้ง 50 เขตของกทม.
-
Print
(75) โครงการ Pharmacy Data Project
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/09/2566 : บุคลากรการแพทย์สังกัดสำนักอนามัยที่เข้าใช้งานโครงการ Pharmacy Data Project มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 99.74
-
Print
(76) โครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนงานกองเภสัชกรรม
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : (1.) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ครบทั้งหมด 3 จุด ตามระยะเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 (2.) จากการสำรวจผลการใช้งาน การรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลได้ดี การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2566 ได้ครบถ้วน รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 100
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี
(77) ปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/08/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการ : ลงนามสัญญาวันที่ 17 มีนาคม 2566 เริ่มดำเนินงานวันที่ 20 มีนาคม 2566 เสร็จสิ้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ส่งงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้ว
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ
(78) โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของข้าราชการ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/09/2566 : - ประสานงานกับวิทยากร คุณวุฒิชัย บุญครอง อาจารย์บรรยายพิเศษ ขอเลื่อนวันดำเนินโครงการจากวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม 2566 เป็นวันที่ 16 – 17 กันยายน 2566 - ติตต่อผู้ประสานกับโรงแรมการ์เด้น ซีวิว รีสอร์ท อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อจัดโครงการฯ ระหว่างวันที่ 16 – 17 กันยายน 2566 – ขออนุมัติโครงการงบประมาณ คำสั่งคณะกรรมการฯ ตลอดจนคำสั่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ – จัดซื้อ จัดจ้าง สิ่งสนับสนุน ได้แก่ วัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ - จัดโครงการตามแผนแบบพักค้าง ระหว่างวันที่ 16 – 17 กันยายน 2566 ณ โรงแรมการ์เด้น ซีวิว รีสอร์ท อ.บางละมุง จ.ชลบุรี – รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
-
Print
สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(79) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค สำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2566 : รายละเอียดการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค สำนักอนามัย กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมาย ได้ดำเนินการดังนี้ - ดำเนินการจัดอบรม เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2565 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพ ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 106,554.- บาท (จากที่ตั้งไว้ 125.600.-บาท เนื่องจากวิทยากร เป็นบุคลากรในหน่วยงาน) - บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) 126 คน กองสร้างเสริมสุขภาพ 2 คน สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข 15 คน รวมผู้เข้า รับการอบรมทั้งสิ้น 143 คน จากเป้าหมาย 149 คน คิดเป็น ร้อยละ 96 - มีบุคลากร จำนวน 126 คน จาก ศบส. 67 แห่ง เข้าร่วมการอบรม - บุคลากรจาก ศบส .2 แห่ง ได้แก่ ศบส. 18 จำนวน 2 คน และ ศบส. 32 จำนวน 1 คน ไม่ สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ - จำนวนผู้รับการอบรมสอบผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80) หลังการอบรม 132 คน จากผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 143 คน คิดเป็นร้อยละ 92 - ศบส. จำนวน 67 แห่ง ที่มีบุคลากรเข้าร่วมการอบรม และ สอบผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80) แห่งละ อย่างน้อย 1 คน มีจำนวน 67 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100 (จากเป้าหมาย ร้อยละ 85) กิจกรรมที่ 2 การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 - HCT จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 61 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 58 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95 - Blood gr. จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 68 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 68 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - Anti - HIV จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 60 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 60 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - น้ำตาลปลายนิ้ว จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 68 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 67 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.5 - AFB จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 19 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 19 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 98.7 ครั้งที่ 2 - HCT จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 61 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 60 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.4 - Blood gr. จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 69 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 69 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - Anti - HIV จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 59 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 59 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - น้ำตาลปลายนิ้ว จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 69 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 69 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 99.6 ครั้งที่ 3 - HCT จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 61 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 30 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.4 - Blood gr. จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 69 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 69 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - Anti - HIV จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 59 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 59 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - น้ำตาลปลายนิ้ว จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 69 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 69 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 - AFB จำนวนศูนย์ที่เข้าร่วม 19 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 19 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 99.7 กิจกรรม การตรวจสอบการควบคุมคุณภาพน้ำยา - ศูนย์ฯ ทั้ง 69 แห่ง มีการเก็บรักษาน้ำยาในอุณหภูมิ และ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามที่ผู้ผลิตน้ำยากำหนด และไม่มีการใช้น้ำยาที่หมดอายุในการ ตรวจวิเคราะห์ การทวนสอบการปฏิบัติตรวจวิเคราะห์ - มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจวิเคราะห์ของศูนย์ฯ 69 แห่ง จำนวน 74 คน ทำข้อสอบเพื่อทวนสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตรวจ วิเคราะห์ พบว่าผลผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 ทั้งหมด 74 คน คิดเป็นร้อยละ 100//
-
Print
(80) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
กำลังดำเนินการ (35.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : รายละเอียดการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ความก้าวหน้า - ฉาบผนัง ชั้น 3 - เดินท่อน้ำดี ชั้น 3 - เดินท่อดับเพลิง ชั้น 4 - เดินท่อน้ำฝน ชั้น 4 - เดินท่อไฟฟ้า ชั้น 4 - ร้อยสายไฟฟ้าชั้น 4 - เดินท่อ Duct ปรับอากาศ ชั้น 4 - เดินท่อน้ำยา VRF ปรับอากาศ ชั้น 1 การเบิกจ่ายงบประมาณ เบิกจ่ายไปแล้ว ครั้งที่ 1 เป็นเงิน 27,711,250.70 บาท (งบประมาณปี 2562-2563) ครั้งที่ 2 เป็นเงิน 13,671,895.96 บาท (งบประมาณปี 2565 จำนวน 1,000,000 บาท และงบประมาณปี 2566 จำนวน 12,671,895.96 บาท) ครั้งที่ 3 เป็นเงิน 12,897,193.04 บาท (งบประมาณปี 2566) ครั้งที่ 4 เป็นเงิน 10,565,003.60 บาท (งบประมาณ ปี 2566) ครั้งที่ 5 เป็นเงิน 16,733,392.61 บาท (งบประมาณ ปี 2566) อยู่ระหว่างเบิกจ่าย งบประมาณปี 2566 จำนวน 53,220,000 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว 36,134,092.60 บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย 16,733,392.61 บาท กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณ 2566 เป็นเงิน 352,514.79 บาท งบประมาณทั้งโครงการ 243,850,000 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว 64,845,343.30 บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย 16,733,392.61 บาท กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณ 2566 เป็นเงิน 352,514.79 บาท คงเหลือ 161,918,749.30 บาท//
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี หนองจอก
(81) ปรับปรุงอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี หนองจอก
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/07/2566 : สำนักอนามัยมีหนังสือที่ กท 0701/5488 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2566 เรื่องขออนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำนักอนามัย รายการปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี หนองจอก เป็นจำนวนเงิน 20,210,000 บาท และสำนักประมาณกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือที่ กท 1908/874 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เรื่อง สำนักอนามัยขออนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย4
(82) ปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 สาขาจันทร์-ทองอิน ดวงเด่น
กำลังดำเนินการ (25.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/08/2566 : ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคา วันที่ 3 สิงหาคม 2566 ตรวจร่างสัญญาเรียบร้อย ลงนามวันที่ 25 สิงหาคม 2566 และขอกันเหลื่อมแบบก่อหนี้
-
Print
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(83) โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 1.ขออนุมัติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ 2.ขออนุมัติโครงการฯ 3.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ 4.ประเมินผลการดำเนินงานรายกิจกรรม
-
Print
(84) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในระบบสุขภาพปฐมภูมิ
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/07/2566 : สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขได้รับความเห็นชอบให้ยกเลิกโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในระบบสุขภาพปฐมภูมิในแผนปฏิบัติราชการสำนักอนามัย ประจำปี พ.ศ.2566 ตามหนังสือที่ กท 0702/2049 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2566
-
Print
(85) โครงการส่งเสริมความรู้สู่ประชาชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - สรุป และรายงานโครงการกิจกรรมฯ
-
Print
(86) โครงการผู้สูงวัยรอบรู้ด้านสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - อยู่ระหว่างจัดทำรูปเล่มรายานผบการดำเนินงาน
-
Print
(87) โครงการพัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ด้านสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - จัดทำสรุปผลการดำเนิน ติดตาม และประเมินผลหลังเสร็จโครงการฯ ซึ่งสำนักอนามัยลงนามโปรดทราบตามหนังสือสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข ที่ กท 0702/2637 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(88) กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วยบริการทางสังคมสงเคราะห์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - สรุปและวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 3 ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565–กรกรฎาคม 2566 พบว่ามีกลุ่มเป้าหมายยุทธศาสตร์ เข้าถึงบริการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 15,865 คน ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานจนครบกระบวนการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 12,151 คน คิดเป็นร้อยละ 88.04
-
Print
(89) โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - สรุปแบบประเมินความพึงพอใจผู้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว - สรุปแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว - สรุปโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ประสบปัญหาทางการเคลื่อไหว ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
-
Print
(90) โครงการพัฒนาทักษะการให้การปรึกษารายบุคคลเชิงจิตวิทยาแนว Satir
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะการให้การปรึกษารายบุคคลเชิงจิตวิทยาแนว Satir ซึ่งสำนักอนามัยลงนามโปรดทราบตามหนังสือสำนักพัฒนาระบบสาธารณสุข ที่ กท 0702/2699 ลงวันที่ 6 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(91) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร สุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 4
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - สรุปผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 4 นำเสนอผู้บริหาร - จัดทำแฟ้มโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 4
-
Print
(92) โครงการขับเคลื่อนการบริหารแผนงานโครงการและการติดตามประเมินผลแผน สำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : 1. ดำเนินการติดตามการรายงานความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 ของสำนักอนามัย ของแต่ละส่วนราชการ โดยผ่านช่องทางไลน์ 2. ดำเนินการติดตามการรายงานความคืบหน้าของตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 ของสำนักอนามัย กับผู้รับผิดชอบหลัก โดยผ่านแบบฟอร์มที่กำหนด
-
Print
(93) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนพัฒนาสำนักอนามัย 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/04/2566 : เวียนแจ้งแผนพัฒนาสำนักอนามัย 5 ปี และรายงานผลการดำเนินงานโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนพัฒนาสำนักอนามัย 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้ทุกส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยทราบเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(94) โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - อยู่ระหว่างจัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน
-
Print
(95) โครงการจัดวารสารสุขภาพสำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2566 : - ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขรูปแบบและจัดพิมพ์วารสารฯ ฉบับที่ 3 - ดำเนินการจัดส่งวารสารฯ ฉบับที่ 2 และ 3 ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล หน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร - ผู้รับจ้างดำเนินการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของวารสารฯ พร้อมส่งข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วให้ตรวจสอบ - ผู้รับจ้างจัดส่งรายงานผลประเมินความพึงพอใจของวารสารฯ โดยผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชน ที่ได้รับวารสารฯ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 530 ราย พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 93.96
-
Print
(96) โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสาธารณสุข (พัฒนาการให้บริการการดูแลรักษาชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 4.ประเมินผลการให้บริการฯ
-
Print
(97) โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสาธารณสุข (พัฒนาศักยภาพคลินิกพิเศษในกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุขให้เป็นเครือข่ายคลินิกรับการส่งต่อ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2566 : 1.เปิดให้บริการฯ จำนวน 2 คลินิก/กลุ่มเขต เรียบร้อยแล้ว - กลุ่มกรุงเทพกลาง : คลินิกสูตินรีเวช (ศบส. 4) คลินิกหู คอ จมูก (ศบส. 2) - กลุ่มกรุงเทพเหนือ : คลินิก ARV (Start) (ศบส. 61) คลินิกพัฒนาการเด็ก (ศบส. 24) - กลุ่มกรุงเทพตะวันออก : คลินิกแพทย์แผนไทย (ศบส. 44) คลินิกผิวหนัง (ศบส. 43) - กลุ่มกรุงเทพใต้ : คลินิกจักษุ (ศบส. 7) คลินิกพัฒนาการเด็ก (ศบส. 21) - กลุ่มกรุงธนเหนือ : คลินิก ARV (Start) (ศบส. 26) คลินิกอายุรกรรม (ศบส. 28) - กลุ่มกรุงธนใต้ : คลินิกจักษุ (ศบส. 48) คลินิกแพทย์แผนไทย (ศบส. 48) 2.คลินิกพิเศษให้บริการปรึกษาและรับส่งต่อผู้ป่วยของศูนย์บริการสาธารณสุข 3.ประเมินผลการให้บริการฯ
-
Print
(98) โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสาธารณสุข (กิจกรรมที่ 3 การยกระดับคลินิกกายภาพบำบัดเป็นศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ (จำนวน 4 แห่ง)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 1.สำรวจข้อมูลการให้บริการคลินิกกายภาพบำบัดของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 2.ประเมินศูนย์บริการสาธารณสุข 4 แห่ง ที่มีความพร้อมในการยกระดับตามมาตรฐาน 3.ศูนย์บริการสาธารณสุขเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร 4.ขอเห็นชอบและประสานศูนย์บริการสาธารณสุข 4 แห่ง เพื่อดำเนินการ 5.จัดประชุมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อหารือแนวทางการดูแลและให้คำปรึกษาการให้บริการแก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 แห่ง 6.เปิดให้บริการคลินิกกายภาพบำบัด ณ ศบส.7 8 29 และ 48 (เปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2566) 7.ประเมินผลการให้บริการฯ
-
Print
(99) โครงการการให้บริการดูแล รักษา และสังเกตอาการผู้ป่วยในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย (ศบส.พลัส)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2566 : 1. จัดประชุมชี้แจงแนวทางนโยบายผู้ว่าราชการฯ ให้แก่ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุข 2. สำรวจข้อมูลความพร้อมของศูนย์บริการสาธารณสุขเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องฯ 4. ศูนย์บริการสาธารณสุขจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ครุภัณฑ์ และจ้างบุคลากรเพิ่มเติม 5. เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ กลุ่มกรุงเทพเหนือ : ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง กลุ่มกรุงเทพกลาง : ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก กลุ่มกรุงเทพตะวันออก : ศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ กลุ่มกรุงเทพใต้ : ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย กลุ่มกรุงธนเหนือ : ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา กลุ่มกรุงธนใต้ : ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม 6.ประเมินผลการให้บริการฯ
-
Print
(100) โครงการจ้างเหมาบำรุงรักษาระบบเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์
กำลังดำเนินการ (92.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : 1. บริษัท แอ็บสแตรค คอมพิวเตอร์ จำกัด ได้มีหนังสือที่ HD66/032 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2566 เรื่อง แจ้งส่งมอบการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ ของงวดที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2566) 2. คณะกรรมการตรวจรับฯ ได้กำหนดประชุมตรวจรับการจ้างเหมาบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรม-ประยุกต์ งวดที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2566) ในวันที่ 19 กันยายน 2566 3. บริษัท แอ็บสแตรค คอมพิวเตอร์ จำกัด อยู่ระหว่างดำเนินการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรม-ประยุกต์ งวดที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2566)
-
Print
(101) โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2566
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : - จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2566 และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดนวัตกรรมประเภทสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 1 วัน วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมมิราเคิล แกรนด์ บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีผู้ร่วมงานจำนวนทั้งหมด 400 คน - สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
-
Print
(102) โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการให้บริการ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : -สรุปผลการดำเนินโครงการ
-
Print
(103) กิจกรรมการพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของสำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 25/09/2566 : 1. จัดทำ Dashboard จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การให้บริการ รักษา ดูแล และงานเชิงรุกของศูนย์บริการสาธารณสุข และ 2) การให้บริการงานสงเคราะห์สาธารณสุข พร้อมเผยแพร่ Dashboard ดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสำนักอนามัยแล้วรวมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทางอีเมล์
[email protected]
เรียบร้อยแล้ว 2. รายงานความก้าวหน้าให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ครั้งที่ 3 (เดือนกันยายน 2566) เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานครแล้ว
-
Print
(104) กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : - สรุปรวบรวมการดำเนินกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน พบว่า มีการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการคนพิการเชิงรุก 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) การลงพื้นที่ค้นหาคนพิการโดยทีมสหวิชาชีพ 2) การสำรวจและค้นหาคนพิการโดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) 3) การให้บริการสุขภาพเคลื่อนที่ 4) การให้บริการผ่าน Line Chatbot และมีคนพิการที่เข้าถึงสิทธิสวัสดิการ หรือช่วยเหลือ หรือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ขอรับการประเมินความพิการมีความพึงพอใจในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการของคนพิการอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.85
-
Print
(105) กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพคนกรุงเทพฯ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : - รณรงค์สร้างเสริมสุขภาพในเดือนสิงหาคม 2566 - สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
-
Print
(106) กิจกรรมสาระสุขภาพทางสื่อสาธารณะ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : - จัดทำแผนการเผยแพร่ กิจกรรมสาระสุขภาพทางสื่อสาธารณะ - รวบรวม ตรวจสอบ กลั่นกรองเนื้อหา จัดทำสื่อสุขภาพ และรวบรวมภาพกิจกรรม ข่าวสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ - เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ด้านสุขภาพ และประชาสัมพันธ์การให้บริการด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.66-8 ก.ย.66 ผ่านช่องทางสื่อสาธารณะ ดังนี้ - ทาง Facebook, website และ TikTok : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 399 เรื่อง - ทาง Instagram : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 7 เรื่อง - ทาง YouTube : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 เรื่อง
-
Print
(107) กิจกรรมติดตามความสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : - ติดตาม ประสาน การรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการที่มีเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะข้าราชการฯ - สรุปผล การดำเนินโครงการที่มีเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะข้าราชการฯ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 สำนักอนามัย จำนวน 10 โครงการ
-
Print
(108) โครงการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/09/2566 : 1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 09.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ดังนี้ - รายงานการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน - อนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประเภท 6(2) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ โครงการออกกำลังกายที่บ้านด้วยยางยืด งบประมาณ ๒๓๓,๓๐๐.- บาท โดยกลุ่ม Well Healthy - อนุมัติให้ขยายระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนงานสนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับสำนักงานเขต จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2566 เป็นสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ตามที่เสนอ และเห็นชอบยกเว้นการปฎิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ กรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 ข้อที่ 34 วรรคหนึ่ง สำหรับแผนงานสนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับสำนักงานเขต และให้ปฎิบัติตามที่เสนอแทน - เห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีรายละเอียดตามผลการพิจารณา ตามที่คณะอนุกรรมการการเงินการคลังและทรัพย์สินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครได้ยกร่างขึ้นในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ และได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ-ด้านกฎหมายกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖ และมอบฝ่ายเลขานุการเสนอร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครนี้ให้ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครลงนาม และเห็นชอบกำหนดระยะเวลาในการเบิกเงินตามกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานกองทุนสาขาไว้สำหรับเบิกจ่ายให้แก่ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม โดยให้เบิกเงินตามกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนสิงหาคมของปีงบประมาณนั้น ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ - เห็นชอบร่างแนวทางการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชี และการจัดทำรายงานการรับ การจ่าย และเงินคงเหลือ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) (สำหรับสำนักงานกองทุน/สำนักงานกองทุนสาขา) ซึ่งมีรายละเอียดตามผลการพิจารณา ตามที่คณะอนุกรรมการการเงินการคลังและทรัพย์สินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครได้ยกร่างขึ้นในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ และฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายกองทุนหลักประกันสุขภาพ-กรุงเทพมหานครตามระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ ๕.๒ แล้ว 2. ประชุมหารือโปรแกรม กปท.ของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 9/2566 ในวันที่ 27 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. 3. กรุงเทพมหานครโอนเงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนเงิน 206,598,303.- บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
-
Print
(109) เงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/09/2566 : กรุงเทพมหานครโอนเงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนเงิน 206,598,303.- บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
-
Print
(110) โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเลขานุการคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต
แล้วเสร็จ (95.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/03/2566 : ๑. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับทีมเลขานุการคณะอนุกรรมการเขต 50 เขต จำนวน 264 คน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 5-6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานกองทุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาเสวนาร่วมกับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสำนักงานเขตทั้งสิ้น จำนวน 264 คน ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 จำนวน 211 คน 2. ไปศึกษาดูงานการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครรังสิต เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ สำนักงานเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี รายละเอียดดังนี้ - วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 48 คน - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 37 คน - วันที่ 1 มีนาคม 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 48 คน 3. ไปศึกษาดูงานการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครนนทบุรี เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รายละเอียดดังนี้ - วันที่ 8 มีนาคม 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 56 คน - วันที่ 9 มีนาคม 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 42 คน - วันที่ 10 มีนาคม 2566 ทีมเลขานุการจากกลุ่มเขตกรุงธนใต้ มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขต จำนวน 38 คน
-
Print
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(111) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 4 การส่งเสริมสุขลักษณะที่ดีในสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : 1. วิเคราะห์ข้อมูลประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และจัดทำบัญชีรายชื่อสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย 2. จัดทำแบบตรวจประเมินฯ แนวทางการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย และช่องทางในการรายงานผล (Google Form) เพื่อรวบรวมข้อมูลการตรวจประเมิน 3.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายฯให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต ในการตรวจประเมินสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมายใหม่ 4.รวบรวม ตรวจสอบ และสรุปข้อมูลผลการตรวจประเมินสถานประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมาย จาก 1,177 ราย ตรวจแล้ว 1,177 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 5. รวบรวมข้อมูลการตรวจติดตามการปรับปรุงแก้ไขสถานประกอบกิจการที่พบข้อบกพร่องทางด้านสุขลักษณะ จำนวน 20 ราย ได้รับการแก้ไขทั้งหมดแล้ว 6. ประสานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ออกแบบฐานข้อมูลแสดงผลเชิงพื้นที่ (Mapping) 7.จัดเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแสดงผลเชิงพื้นที่ (Mapping) 8. ประสานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการเชิงพื้นที่ (Mapping)
-
Print
(112) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 8 สถานประกอบการ อาคารสถานที่ (กลุ่มเสี่ยงสูง) ได้รับการตรวจ ด้านอาชีวอนามัยและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2566 : กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการพัฒนางานอาชีวอนามัยของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดโรค ปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (1) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (2) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (3) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (4) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (6) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ รวมทั้งหมด 4,669 แห่ง -สำนักงานเขตดำเนินการตรวจฯ ในพื้นที่ 4,288 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.84 -สถานประกอบการฯ เลิกกิจการ จำนวน 320 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.85 -สถานประกอบการฯ หยุดประกอบกิจการชั่วคราว/คงสถานะใบอนุญาต จำนวน 61 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.31 สถานประกอบการที่ได้รับการตรวจ จำนวน 4,288 แห่ง -ผู้ประกอบการ ผู้ดูแลอาคารสถานที่ ดำเนินการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยอย่างถูกต้องเหมาะสม จำนวน 3,961 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 92.37 -สถานประกอบการฯ ได้รับการตรวจฯ ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด รอบที่ 1 จำนวน 4,288-3,640=648 แห่ง -สถานประกอบการฯ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการแนะนำ ปรับปรุง และผ่านเกณฑ์ในการตรวจ รอบที่ 2 จำนวน 648-327=321 แห่ง -สถานประกอบการฯ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการแนะนำ ปรับปรุง และไม่ผ่านเกณฑ์ในการตรวจ รอบที่ 2 จำนวน 648-321=327 แห่ง ได้ประสานสำนักงานเขต ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(113) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 7 การส่งเสริมพัฒนาสุขลักษณะของฌาปนสถาน)
กำลังดำเนินการ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/07/2566 : สรุปกิจกรรมที่7 การส่งเสริมพัฒนาสุขลักษณะของฌาปนสถาน ดังนี้ 1.จัดทำสื่อรณรงค์ 2 รายการ ได้แก่ คลิปวีดิโอการบำรุงรักษาเตาเผาศพให้มีประสิทธิภาพ และคลิปวีดิโอการเผาศพอย่างถูกวิธีเพื่อควบคุมมลพิษอากาศ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 300,000 บาท งบประมาณที่ใช้จริง 290,000 บาท งบประมาณคงเหลือ 10,000 บาท 2. จัดฝึกอบรมสำหรับการดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน ณ สถานที่เอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ระยะเวลา รุ่นละ 1 วัน แบบไป-กลับ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 452,740 บาท งบประมาณที่ใช้จริง 357,720 บาท งบประมาณคงเหลือ 95,020 บาท 3. ออกตรวจนิเทศเพื่อกำกับติดตามและให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานของวัดในพื้นที่กทม.จำนวน 74 แห่ง งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 73,500 บาท งบประมาณที่ใช้จริง 73,500 บาท งบประมาณคงเหลือ 0 บาท สรุปทั้งกิจกรรมที่7 งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 826,240 บาท งบประมาณที่ใช้จริง 721,220 บาท งบประมาณคงเหลือ 105,020 บาท
-
Print
(114) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 6 การพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : หนังสือที่ กท 0704/923 ลงวันที่ 4 กันยายน 2566 ขออนุมัติยกเลิกขั้นตอนการดำเนินงานบางรายการในกิจกรรมที่ 6 ซึ่งได้รับการอนุมัติวันที่ 8 กันยายน 2566
-
Print
(115) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 5 การประชุมวิชาการพัฒนาการจัดการเหตุรำคาญ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/08/2566 : สรุปผลการดำเนินกิจกรรมเสนอผู้บริหารทราบแล้ว
-
Print
(116) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 17/07/2566 : 1. วางแผนและประสานสำนักงานเขตเพื่อขอข้อมูลในการจัดอบรม 2. รวบรวมข้อมูล และเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ โดยมีหนังสือประสานขอรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อจัดทำคำสั่งอบรม 3. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม 4. จัดอบรมจำนวน 1 รุ่น ระหว่างวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมเอเชียกรุงเทพ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 120 คน 5. ประเมินผลการอบรม และสรุปผลการดำเนินโครงการรายงานผู้บริหารทราบแล้ว
-
Print
(117) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 2 พัฒนาสมรรถนะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ของกรุงเทพมหานคร)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/03/2566 : 1. วางแผนและประสานสำนักงานเขตเพื่อเตรียมดำเนินการประชุม 2. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ฝายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต 6 กลุ่มเขต ดังนี้ 2.1 กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตพญาไท และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่วมมิตรฟาร์ม เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 2.2 กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ และบริษัท ไทยแมนอินดัสตรี จำกัด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 2.3 กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตจอมทอง และบริษัท วรรณธนา แมช-เทค จำกัด เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 2.4 กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตบางนา และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 2.5 กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตมีนบุรี และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 2.6 กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จัดกิจกรรมที่สำนักงานเขตสายไหม และบริษัท แพรคติก้า จำกัด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 3. จัดทำเอกสารประกอบการประชุมนำเสนอผลงาน 4. จัดการประชุมสร้างเครือข่ายพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และการนำเสนอผลการประชุมจาก 6 กลุ่มเขต rพร้อมสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงาน โดยจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมฯ 130 คน 5. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผู้บริหารทราบเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(118) โครงการส่งเสริมการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : ประเมินผลโครงการและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(119) กิจกรรมส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2566 : 1. รวบรวมและจัดทำบัญชีรายชื่อสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย 2. จัดทำแบบตรวจประเมินฯ และช่องทางรายงานผล 3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการโควิด 19 4. ประสานสำนักงานเขตตรวจประเมินสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย 5. รวบรวมติดตามผลการตรวจสถานประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมาย ตรวจแล้ว 3,052 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.07 จากเป้าหมายทั้งหมด 3,960 แห่ง 6. สรุปผลรายงานผู้บริหารกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(120) กิจกรรมการพัฒนาห้องน้ำสาธารณะ 12 กลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/07/2566 : ดำเนินการในทุกกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
-
Print
กองสุขาภิบาลอาหาร
(121) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ( กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,687,800 บาท, งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,687,800 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 729,180 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 958,620 บาท) 3.1. การส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รายละเอียด ดังนี้ 3.1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติงานส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีมาตรการป้องกันโรคโควิด ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข แจ้งให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขตทราบ และขอความร่วมมือดำเนินการ 3.1.2 สถานประกอบการอาหารที่ได้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีมาตรการป้องกันโรคโควิด ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข รายละเอียด ดังนี้ - สถานประกอบการอาหารที่ได้รับใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้ง ทั้งหมด 22,083 ราย - สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดี/เกรด C ตามกฎหมาย (ระดับ 3 ดาว) จำนวน 21,045 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.30 - สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดีมาก/เกรด B (ระดับ 4 ดาว/Green Service) จำนวน 11,137 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.43 - สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดีเลิศ/เกรด A (ระดับ 5 ดาว/Green Service Plus) จำนวน 3,998 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.10 - จำนวนสถานประกอบการอาหารปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) จำนวน 21,763 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.55 (ข้อมูลจากระบบสารสนเทศงานสุขาภิบาลอาหาร ณ วันที่ 12 กันยายน 2566) 3.2 การตรวจประเมินติดตาม กำกับมาตรฐานการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 3.2.1 ค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการออกตรวจประเมิน ติดตามกำกับมาตรฐานการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 15 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 106,800 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 106,800 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 106,800 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) - เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 53,400 บาท - ดำเนินการทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 53,400 บาท 3.2.2 ดำเนินการตรวจประเมิน ติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครแล้ว ในพื้นที่ 41 เขต จำนวน 473 ราย ผลการตรวจ ดังนี้ 3.2.2.1 ผลตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จำนวน 312 ราย (ร้อยละ 65.96) - ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯระดับดี/เกรด C (3 ดาว) จำนวน 162 ราย - ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดีมาก/เกรด B (4 ดาว) (Green Service) จำนวน 143 ราย - ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ระดับดีเลิศ/เกรด A (5 ดาว) (Green Service Plus) จำนวน 7 ราย (2) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จำนวน 161 ราย (ร้อยละ 34.04) 3.2.2.2 ผลตรวจด้านคุณภาพอาหาร - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านเคมี (บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน และสารกันรา) โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 952 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 945 ตัวอย่าง (ร้อยละ 99.27) - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 495 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง - สุ่มตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ โดยใช้ชุดตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น จำนวน 1,805 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 1,671 ตัวอย่าง (ร้อยละ 92.58) - ดำเนินการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 (วันที่ 21 ธันวาคม - 31 มกราคม 2566) เรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 2 (วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 – 21 มิถุนายน 2566) เรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 3 (วันที่ 4 – 27 กรกฎาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว 3.2.3 ผลการตรวจสถานประกอบการอาหารตามมาตรการป้องกันโรคโควิด ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการฯ จำนวน 473 ราย 3.3 จัดประชุมปรับปรุงพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย สำนักงานเขต และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอาหารปลอดภัย จำนวน 25 คน จัดประชุมแบบไป-กลับ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน โดยใช้สถานที่ราชการระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2566 (งบประมาณที่ขอ จำนวน 6,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 6,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 6,000 บาท) ได้รับอนุมัติยกเลิกการจัดประชุมฯ เรียบร้อยแล้ว 3.4 จัดทำป้ายอะคริลิคแสดง QR Code ข้อมูลสถานประกอบการอาหารที่นี่ปลอดภัยได้มาตรฐาน กทม. สำหรับผู้ประกอบการอาหาร จำนวน 22,000 ชุด (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,575,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,575,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 622,380 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 952,620 บาท) - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของป้ายฯ เรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการขอความเห็นชอบในหลักการเพื่อผลิตแล้ว - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และอยู่ระหว่างให้ผู้รับจ้างออกแบบป้ายฯ - ดำเนินการผลิตและตรวจรับป้ายรับรองฯ เรียบร้อย อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการจัดส่งให้สำนักงานเขต - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายค่าจ้างจัดทำป้ายฯ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 622,380 บาท
-
Print
(122) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคและการปนเปื้อนสารพิษของอาหารและน้ำ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคและการปนเปื้อนสารพิษของอาหารและน้ำ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 12,020,150 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 12,020,150 บาท จำนวนใช้ไป 7,767,928 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 4,252,222 บาท) 2.1 จ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 6,150,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 6,150,000 บาท จำนวนใช้ไป 2,264,150 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,885,850 บาท) 2.1.1 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ในอาหารพร้อมบริโภค จำนวน 3,000 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 4,800,000 บาท จำนวนใช้ไป - บาท) 2.1.2 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้ จำนวน 150 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน750,000 บาท จำนวนใช้ไป - บาท) 2.1.3 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อราในอาหาร (Aflatoxin) จำนวน 150 ตัวอย่าง ตรวจแล้วจำนวน 50 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 300,000 บาท จำนวนใช้ไป - บาท) 2.1.4 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและสารปนเปื้อนในอาหารอื่นๆ (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 300,000 บาท จำนวนใช้ไป - บาท) - อนุมัติเงินงวดที่1 จัดทำข้อกำหนดและขอบเขตของงาน และประกาศข้อกำหนดและขอบเขตของงานเรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยได้ผู้รับจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์ฯ คือ บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเชีย จำกัด (มหาชน) เป็นเงิน จำนวน 2,389,950 บาท - นิติกรตรวจร่างสัญญา และลงนามสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อ 27 มกราคม 2566 - บริษัทผู้รับจ้างจัดประชุมชี้แจงการดำเนินการจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์ฯ ให้แก่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขตเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 - กำหนดแผนการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ ทั้งหมด 3 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9 - 16 กรกฎาคม 2566 - ส่งมอบงานงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 และตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินจำนวน 776,150 บาท - จัดประชุมติดตามงานครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิถุนายน 2566 ตรวจรับงานงวดที่ 2 วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วเป็นเงินจำนวน 702,250 บาท - กำหนดตรวจรับงานงวดที่ 3 ส่งเล่มรายงานวันที่ 4 กันยายน 2566 อยู่ระหว่างตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงิน เป็นเงินจำนวน 785,750 บาท - ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลรายงาน ณ วันที่ 5 กันยายน 2566 มีดังนี้ - ผลการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโรค 5 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli , Staphylococcus aureus ,Salmonella spp. , Vibrio cholerae และ Bacillus cereus ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ในอาหารพร้อมบริโภคทั้งหมด 3,000 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 2,473 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 82.43 พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 527 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2,473 ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับการปรับปรุงแก้ไข/ตรวจซ้ำแล้วผ่านเกณฑ์มาตรฐานเรียบร้อยแล้ว จำนวน 527 ตัวอย่าง ดังนั้น ผลการดำเนินการร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค คิดเป็นร้อยละ 100.00 - ผลการตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้ ทั้งหมด 150 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 127 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 84.67 พบการปนเปื้อน จำนวน 23 ตัวอย่าง - ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อราในอาหาร (Aflatoxin) ทั้งหมด 150 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 148 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 98.67 พบการปนเปื้อน จำนวน 2 ตัวอย่าง - ผลตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและสารปนเปื้อนในอาหารอื่นๆ ทั้งหมด 27 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 25 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 92.59 พบการปนเปื้อน จำนวน 2 ตัวอย่าง (กรณีร้องเรียน) - ผลตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและสารปนเปื้อนในอาหารอื่นๆ ทั้งหมด 44 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 38 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.36 พบการปนเปื้อน จำนวน 6 ตัวอย่าง (กรณีตรวจซ้ำ) - ผลตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและสารปนเปื้อนในอาหารอื่นๆ ทั้งหมด 21 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 42.86 พบการปนเปื้อน จำนวน 12 ตัวอย่าง (กรณีตรวจน้ำแข็ง) 2.2 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 4,740,482 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 4,740,482 บาท จำนวนใช้ไป 4,586,482 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 154,000 บาท) ผลการดำเนินงาน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี มินิมาร์ท/ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และร้านอาหาร ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้น หาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ วัตถุกันเสีย สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น โดยผลการดำเนินงานในระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – เดือนกรกฎาคม 2566 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 168,484 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จำนวน 167,712 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 99.54 ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จำนวน 772 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.46 โดยสามารถแบ่งออกเป็นด้านเคมีและจุลินทรีย์ ดังนี้ - ด้านเคมี ตรวจทั้งหมด จำนวน 77,470 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 77,415 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 99.93 ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 55 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.07 - ด้านจุลินทรีย์ ตรวจทั้งหมด จำนวน 91,014 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ฯ 90,297 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 99.21 ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 717 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.79 2.2.1. จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จำนวน 4 รายการ (สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารซาลิซิลิค สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 575,232 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 575,232 บาท, งบประมาณคงเหลือ 0 บาท) - อนุมัติเงินงวดที่1 จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 - ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 575,232 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.2 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จำนวน 7 รายการ (ยาฆ่าแมลง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ วัตถุกันเสีย กรดแร่อิสระ น้ำยาตรวจเชื้อซัลโมเนลลาในอาหาร น้ำยาทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น ชุดทดสอบหาเชื้อแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง) (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 4,154,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 4,000,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ 154,000 บาท) - ขออนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการเปิดซองสอบราคาได้บริษัทผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว แบ่งการตรวจรับ/ส่งมอบของ แบ่งออกเป็น 5 งวด - ตรวจรับ/ส่งมอบของ งวดที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 รายละเอียดดังนี้ ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง จำนวน 250 ชุด ชุดทดสอบกรดแร่อิสระ จำนวน 50 ชุด ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 75 ชุด ชุดทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 65 ชุด ชุดทดสอบน้ำยาตรวจเชื้อซัลโมเนลลาในอาหาร จำนวน 4,960 ขวด ชุดทดสอบน้ำยาทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น จำนวน 25,000 ขวด ชุดทดสอบหาเชื้อแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 6,000 ขวด เป็นเงิน จำนวน 936,940 บาท - ตรวจรับ/ส่งมอบของ งวดที่ 2 แล้ววันที่ 22 มีนาคม 2566 รายละเอียดดังนี้ ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลง จำนวน 250 ชุด ชุดทดสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม) จำนวน 50 ชุด ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 75 ชุด ชุดทดสอบวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) จำนวน 65 ชุด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) จำนวน 20,000 ขวด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 6,500 ขวด เป็นเงิน จำนวน 754,200 บาท - ตรวจรับ/ส่งมอบของ งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 รายละเอียดดังนี้ น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) งวดที่ 3จำนวน 30,000 ขวด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง งวดที่ 3 จำนวน 13,000 ขวด เป็นเงิน 615,800 บาท - ตรวจรับ/ส่งมอบของ งวดที่ 4 วันที่ 16 มิถุนายน 2566 รายละเอียดดังนี้ ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลง จำนวน 250 ชุด ชุดทดสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม) จำนวน 50 ชุด ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 75 ชุด ชุดทดสอบวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) จำนวน 65 ชุด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) จำนวน 25,000 ขวด น้ำยาตรวจเชื้อซัลโมเนลลาในอาหาร 5,040 ขวด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 6,000 ขวด เป็นเงิน จำนวน 938,860 บาท - ตรวจรับ/ส่งมอบของ งวดที่ 5 วันที่ 10 สิงหาคม 2566 รายละเอียดดังนี้ ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลง จำนวน 250 ชุด ชุดทดสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม) จำนวน 50 ชุด ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 75 ชุด ชุดทดสอบวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก) จำนวน 65 ชุด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) จำนวน 20,000 ขวด น้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้นในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 6,500 ขวด เป็นเงิน จำนวน 754,200 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.3 จัดซื้อชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือบริโภค(I-kit) จำนวน 150 ชุด (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 11,250 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 11,250 บาท, งบประมาณคงเหลือ 0 บาท) - อนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 - ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 11,250 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.3 ค่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจวิเคราะห์ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 648,600 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 648,600 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 436,900 บาท, งบประมาณคงเหลือ 211,700 บาท) - อนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ - ลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 - ตรวจรับ/ส่งมอบของ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 - ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 436,900 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.4 ค่าซื้อตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 35,568 บาท , งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 35,568 บาท , งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 34,896 บาท, งบประมาณคงเหลือ 672 บาท) - อนุมัติเงินงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว - จัดทำแผนการเก็บตัวอย่าง - สุ่มเก็บตัวอย่างตามแผนการดำเนินงาน ปัจจุบันตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 34,896 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.5 ค่าจ้างจัดทำของที่ระลึกสำหรับหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 445,500 บาท , งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 445,500 บาท , งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 445,500 บาท, งบประมาณคงเหลือ 0 บาท) - อนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - เข้าที่ประชุมคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 และได้รับแก้รูปแบบตามคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครแจ้งเรียบร้อยแล้ว - จัดทำของที่ระลึกสำหรับหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ได้แก่ ร่ม พัด สมุดโน้ต กระบอกน้ำ กระเป๋าพับ อยู่ระหว่างปรับแก้ไขรูปแบบตามที่คณะกรรมการตรวจรับพิจารณา - ตรวจรับ/ส่งมอบของ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 445,500 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(123) โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 20,750 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 169,250 บาท) 1. ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 2. จัดประชุมคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service - ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 โดยจัดประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม WebEx Meetings และจัดทำรายงานการประชุมเวียนแจ้งให้คณะกรรมการฯทราบเรียบร้อยแล้ว - ทำเรื่องเบิกจ่ายเบี้ยประชุมสำหรับคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เป็นเงินจำนวน 10,625 บาท - ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 โดยจัดประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม WebEx Meetings และจัดทำรายงานการประชุมฯ เวียนแจ้งให้คณะกรรมการฯทราบเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 - ทำเรื่องเบิกจ่ายเบี้ยประชุมสำหรับคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวน 10,125 บาท 3. ผู้อำนวยการสำนักอนามัย อนุมัติยกเลิกการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ การจัดทำคู่มือแนวทางการจัดสถานประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร การฝึกอบรมหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับพี่เลี้ยงและผู้ประกอบการอาหาร การประกวดพี่เลี้ยงฯ และการมอบรางวัลพี่เลี้ยงมือโปร (Professional mentor) ระดับเขต โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แทน
-
Print
(124) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการ ด้านสุขาภิบาลอาหาร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/05/2566 : โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการด้านสุขาภิบาลอาหาร (งบประมาณที่ขอจำนวน 23,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 23,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 17,915.80 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 5,284.20 บาท) - ได้รับอนุมัติเงินเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักสูตร และกำหนดการจัดการอบรม และสำรวจความต้องการหลักสูตรใรการฝึกอบรม - จัดทำกำหนดการเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการประสานขอรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิชาการฯ จากสำนักงานเขต 50 เขต - กำหนดการจัดฝึกอบรมหลักสูตรฯ วิชาการด้านการสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2566 ผ่านระบบ Video Conference - จัดฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการด้านการสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 2 วัน เรียบร้อยแล้วในวันที่ 28-29 มีนาคม 2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Webex Meet ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน รวมจำนวน 120 คน - รายงานผลการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการด้านสุขาภิบาลอาหารเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น 120 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกราย (ร้อยละ 100) โดยผลคะแนนทดสอบก่อนการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 21.95 คะแนน และคะแนนทดสอบหลังฝึกอบรมเฉลี่ย 28.22 คะแนน 2. ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดฝึกอบรมในภาพรวม พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 88.91 3. ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ - ค่าวิทยากร เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าอาหารไม่ครบมื้อ และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ 6,715.80 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,915.80 บาท ทั้งนี้ ได้ดำเนินการทำเรื่องคืนเงินงบประมาณส่วนที่คงเหลือเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(125) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 8 การส่งเสริมความรู้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/08/2566 : กิจกรรมที่ 8 การส่งเสริมความรู้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,200,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,200,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 997,512.5 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 202,487.5 บาท) 8.1 จ้างเหมาดำเนินการจัดการอบรมและประเมินผลความรู้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,000,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,000,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 798,000.00 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 202,000 บาท) - จัดทำหนังสือถึงฝ่ายบริหารงานทั่วไป เพื่อดำเนินการจ้างเหมาตามระเบียบฯ - จัดประชุมคณะกรรมการกำหนดรายละเอียดข้อกำหนดของงานจ้างเหมาดำเนินการจัดอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อพิจารณากำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) จ้างเหมาดำเนินการจัดอบรม - จัดทำหนังสือแจ้งแผนการจัดอบรมให้สำนักงานเขตทราบ - ลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อีเอชซี จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 - จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 - จัดอบรมผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล หลักสูตรผู้ประกอบกิจการ จำนวน 25 รุ่น เข้ารับการอบรม จำนวน 1,336 ราย เข้ารับการประเมินผลความรู้ จำนวน 1,334 ราย ผ่านการประเมินผลความรู้ จำนวน 1,327 ราย (ร้อยละ 99.5) และหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 25 รุ่น เข้ารับการอบรม จำนวน 2,791 ราย เข้ารับการประเมินผลความรู้ จำนวน 2,766 ราย ผ่านการประเมินผลความรู้ จำนวน 2,763 ราย (ร้อยละ 99.9) - ดำเนินการตรวจรับงานงวด 2 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 8.2 จัดซื้อวัสดุประกอบการจัดทำหนังสือรับรองการอบรมและบัตรประจำตัวผู้ประกอบกิจการและ ผู้สัมผัสอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 30,0000 บาท งบประมาณได้รับ จำนวน 30,0000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 29,912.50 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 87.50 บาท) - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างค่าวัสดุประกอบการจัดทำหนังสือรับรองฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 - ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 29,912.50 บาท 8.3 จัดทำเอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 20,000 บาท งบประมาณได้รับ จำนวน 20,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 19,800 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 200 บาท) - ปรับปรุงรูปแบบกระดาษคำตอบ และแบบฟอร์มใบสมัคร - ดำเนินการจัดจ้างทำเอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 - ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 19,800 บาท 8.4 จัดทำคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 125,000บาท งบประมาณได้รับ จำนวน 125,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 124,800 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 200 บาท) - จัดทำร่าง TOR - จัดทำบันทึกขอให้นำรายละเอียดสื่อประชาสัมพันธ์เข้าพิจารณาในคณะทำงานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ของสำนักอนามัย - ปรับปรุงเนื้อหาคู่มือฯ - ลงนามในสัญญาจ้าง บริษัท เอชอาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทนนิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 - ดำเนินการจัดทำคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 8.5 จัดทำคู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารพื้นที่กรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 25,000 บาท งบประมาณได้รับ จำนวน 25,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 25,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) - จัดทำร่าง TOR - จัดทำบันทึกขอให้นำรายละเอียดสื่อประชาสัมพันธ์เข้าพิจารณาในคณะทำงานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ของสำนักอนามัย - จัดเตรียมเนื้อหาคู่มือฯ - ลงนามในสัญญาจ้าง บริษัท เอชอาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทนนิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 - ดำเนินการจัดทำคู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารพื้นที่กรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 - จัดสรรคู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารพื้นที่กรุงเทพมหานครให้สำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(126) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 1 เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย )
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : ตัดโอนเงินให้ 50 เขต จัดสรรเงินให้สำนักงานเขตเป็นค่าตัวอย่างอาหาร ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าตอบแทนบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ค่าดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ค่าดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ค่าดำเนินกิจกรรมย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยถัวจ่ายทุกรายการภายในวงเงินที่จัดสรรให้สำนักงานเขต และสำนักงานเขตเป็นผู้ดำเนินการตามตารางจัดสรรเงินเรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำหนังสือแจ้งแนวทางการดำเนินงานและประเมินผลโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ตามหนังสือที่ กท 0714/11192 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 และอยู่ระหว่างติดตามและรวบรวมข้อมูลสรุปผลการใช้จ่ายไตรมาสที่ 3 จากสำนักงานเขต โดยจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2566
-
Print
(127) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 11 การนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : กิจกรรมที่ 11 การนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต (งบประมาณที่ขอ จำนวน 25,920 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 25,920 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 23,400 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 2,520 บาท) 11.1 จัดประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร ในการนิเทศฯเป็นรายกลุ่มเขต กลุ่มเขตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน แบบไป-กลับ ใช้สถานที่ราชการ - ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว - แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต เรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการจัดประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต ทั้งหมด 6 กลุ่มเขต เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานการประชุมฯ แจ้งผู้บริหารและสำนักงานเขต - เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมฯ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 13,650 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 9,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,400 บาท - จัดทำรายงานการประชุมและแจ้งเวียนให้สำนักงานเขต 50 เขต เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(128) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 10 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/02/2566 : กิจกรรมที่ 10 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย (งบประมาณที่ขอ จำนวน 19,280 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 19,280 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน – บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 19,280 บาท) 10.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร รวม 130 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 15,600 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 15,600 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 15,600 บาท) - จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Application Microsoft Teams) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. เรียบร้อยแล้ว - จัดทำสรุปรายงานการประชุมชี้แจงแนวทางฯ และแจ้งเวียนรายงานการประชุมให้ 50 สำนักงานเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบฯ เรียบร้อยแล้ว ตามบันทึกที่ กท 0714/1041 ลงวันที่ 31 มกราคม 2566 - เนื่องจากเป็นการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Application Microsoft Teams) จึงไม่มีการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรม 10.2 จัดซื้อวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ตามตัวชี้วัดกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย (งบประมาณที่ขอ จำนวน 3,680 บาทงบประมาณที่ได้รับ 3,680 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,680 บาท) - เนื่องจากเป็นการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Application Microsoft Teams) จึงไม่มีการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรม -//-
-
Print
(129) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 9 การเฝ้าระวังการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/05/2566 : กิจกรรมที่ 9 การเฝ้าระวังการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ (งบประมาณที่ขอ 195,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 195,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 195,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) 9.1 จัดทำถุงผ้า ประชาสัมพันธ์ เรื่อง การบริโภคอาหารในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อสนับสนุน การดำเนินงานในการรณรงค์ของสำนักงานเขต โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 2,000 ใบ (งบประมาณที่ขอ 135,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 135,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 135,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) • อนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว • จัดส่งรูปแบบให้สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครพิจารณาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครส่งผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 และได้รับแก้รูปแบบตามคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครแจ้งเรียบร้อยแล้ว • ดำเนินการจัดจ้างทางระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว • ผู้รับจ้างจัดทำดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่กำหนด และส่งให้สำนักงานเขตรับเรียบร้อยแล้ว 9.2 จัดทำป้ายรับรองการจัดจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 แผ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ขอจำนวน 60,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 60,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 60,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) • อนุมัติเงินงวดที่1 และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว • จัดส่งรูปแบบให้สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครพิจารณาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครส่งผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 และได้รับแก้รูปแบบตามคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครแจ้งเรียบร้อยแล้ว • ดำเนินการจัดจ้างทางระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว • ผู้รับจ้างจัดทำดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่กำหนด และส่งให้สำนักงานเขตรับเรียบร้อยแล้ว • ดำเนินการเบิกจ่ายค่าจ้างจัดทำถุงผ้าประชาสัมพันธ์ และป้ายรับรองฯแล้ว เป็นจำนวนเงิน 195,000 บาท • สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการตรวจสอบกำกับดูแลการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 ทั้งในส่วนของห้างสรรพสินค้าและสถานประกอบการรายย่อยในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 สรุปผลดังนี้ 1. กระเช้าของขวัญประเภทบรรจุภัณฑ์ สุ่มตรวจสถานประกอบการ จำนวน 328 ราย พบว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.61 ข้อบกพร่องที่พบ ได้แก่ ไม่แสดงสัญลักษณ์ของห้าง/สถานประกอบการบนกระเช้าของขวัญ 2. กระเช้าของขวัญประเภท ผัก ผลไม้ที่จัดไว้แล้ว สุ่มตรวจสถานประกอบการ จำนวน 151 ราย พบว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.32 ข้อบกพร่องที่พบ ได้แก่ ไม่แสดงสัญลักษณ์ของห้าง/สถานประกอบการบนกระเช้าของขวัญ 3. กระเช้าของขวัญสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (เฉพาะอาหารและบรรจุภัณฑ์) สุ่มตรวจสถานประกอบการจำนวน 64 ราย พบว่าผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 4. กระเช้าสินค้าทางเลือกอื่น ๆ เช่น กระเช้าสุขภาพ กระเช้าขนมไทย หรือกระเช้าที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) สุ่มตรวจสถานประกอบการ จำนวน 303 ราย พบว่าผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ 5. กระเช้าที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุ่มตรวจสถานประกอบการ จำนวน 530 ราย พบว่าผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กรณีผู้ประกอบการที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สำนักงานเขตได้มีการให้คำแนะนำและลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบซ้ำ เพื่อควบคุมกำกับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่กำหนด
-
Print
(130) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 7 การสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/07/2566 : กิจกรรมที่ 7 การสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา (งบประมาณที่ขอ จำนวน 75,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 75,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 75,000 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) 7.1 จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา จำนวน 1,250 เล่ม - จัดทำร่าง TOR - จัดทำบันทึกขอให้นำรายละเอียดสื่อประชาสัมพันธ์เข้าพิจารณาในคณะทำงานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ของสำนักอนามัย - จัดเตรียมเนื้อหาคู่มือแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา - ลงนามในสัญญาจ้าง บริษัท เอชอาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทนนิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 - ดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 - จัดสรรคู่มือแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษาให้สำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(131) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 6 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในสถานที่สะสมอาหาร)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/06/2566 : กิจกรรมที่ 6 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในสถานที่สะสมอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 52,300 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 52,300 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 52,274.60 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 25.40 บาท) - จัดกิจกรรมพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารในสถานที่สะสมอาหารเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 215 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อม 50 เขต เขตละ 1 คน และผู้ประกอบกิจการสถานที่สะสมอาหารประเภทซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เขตละ 3 คน รวมจำนวน 150 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน จำนวน 15 คน - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเงินเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 32,250 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 15,050 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 47,300 บาท - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 4,974.60 บาท
-
Print
(132) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในตลาด)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2566 : กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในตลาด (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,647,750 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,647,750 บาท, งบประมาณที่ใช้ไปจำนวน 1,053,072.60 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 594,677.40 บาท) 5.1 สนับสนุนการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล (งบประมาณที่ขอ จำนวน 1,460,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,460,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 906,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 554,000 บาท) การดำเนินการมีดังนี้ 1. จัดทำชุดกันเปื้อนพลาสติกกันน้ำ จำนวน 1,500 ผืน 2. จัดทำถุงผ้าประชาสัมพันธ์ เรื่อง อาหารปลอดภัยในเทศกาลตรุษจีน จำนวน 2,000 ใบ ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 314,000 บาท 3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาด ประกอบด้วย - รองเท้าบูทกันน้ำ จำนวน 1,500 คู่ - ถุงมือยางกันน้ำ จำนวน 1,500 คู่ - น้ำยาทำความสะอาดพื้น จำนวน 500 ถัง โดยดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและจัดส่งให้สำนักงานเขต 50 เขตเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 592,000 บาท 4. ประสานสำนักงานเขตจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล 5. สำนักงานเขตรายงานการล้างตลาดครบ 50 เขต เรียบร้อยแล้ว 5.2 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market (งบประมาณที่ขอจำนวน 29,550 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 29,550 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 28,400 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 1,150 บาท) - จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 และสรุปรายงานการประชุมแจ้งเวียนให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดฯ ทราบเรียบร้อยแล้ว - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมสำหรับคณะกรรมการ Premium Market ครั้งที่ 2 แล้ว เป็นเงิน 9,425 บาท - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดฯ ครั้งที่ 2 แล้ว เป็นเงิน 225 บาท - ตรวจประเมินตลาดที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตลาด Premium Market ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 แห่ง - จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market ครั้งที่ 3 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 14 อาคารธานีนพรัตน์ กรุงเทพมหานคร (ดินแดง) และผ่านสื่ออิเล็กทรอนอกส์ Microsoft Teams - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมสำหรับคณะกรรมการ Premium Market ครั้งที่ 3 แล้ว เป็นเงิน 9,425 บาท 5.3 จัดกิจกรรมพัฒนาตลาด Premium Market (งบประมาณที่ขอ จำนวน 158,200 งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 158,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 118,672.60 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 39,527.40 บาท) - ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมพัฒนาตลาด Premium Market เรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 4,472.60 บาท - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจัดทำป้ายตลาด Premium Market และโล่ประกาศเกียรติคุณสำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 57,000 บาท - จัดกิจกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) - ดำเนินการเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารว่างและเครื่องดื่มเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 57,200 บาท
-
Print
(133) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/09/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 100,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 60,560 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 33,000 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 57,000 บาท) - จัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) - เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,000 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 67,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,560 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 35,600 บาท - ตรวจประเมินติดตามแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆละ 10 วัน (ครั้งที่ 1 : 14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566 และ ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว จำนวน 14 เขต จำนวนทั้งสิ้น 293 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ จำนวน 163 ราย (ร้อยละ 55.63) และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ จำนวน 130 ราย (ร้อยละ 44.37) โดยมีผลการตรวจคุณภาพอาหาร ดังนี้ - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านเคมี (บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน และสารกันรา) โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 117 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 115 ตัวอย่าง (ร้อยละ 98.29) - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง - สุ่มตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ โดยใช้ชุดตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น จำนวน 477 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 423 ตัวอย่าง (ร้อย 88.68)
-
Print
(134) โครงการพัฒนาต้นแบบร้านน้ำแข็งแห่ง มหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2566 : 1. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพน้ำแข็งในสถานประกอบการอาหาร - จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพน้ำแข็งในสถานประกอบการอาหารเรียบร้อยแล้ว 2. การจัดประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพน้ำแข็งในสถานประกอบการอาหาร - จัดประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพน้ำแข็งในสถานประกอบการอาหาร เพื่อวางแผนการตรวจประเมิน สถานประกอบการอาหาร โดยประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Google meet เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 - จัดประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพน้ำแข็งในสถานประกอบการอาหาร เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพน้ำแข็งสะอาดปลอดภัยในสถานประกอบการอาหารและมอบป้ายรับรอง “ร้านนี้น้ำแข็งปลอดภัย มั่นใจ บริโภค” โดยประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Google meet เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 3. การตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารที่จำหน่ายน้ำแข็งในพื้นที่นำร่องของกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารที่จำหน่ายน้ำแข็งเรียบร้อยแล้ว สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 3.1 ตรวจสถานประกอบการอาหารที่จำหน่ายน้ำแข็งในพื้นที่นำร่องของกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 95 ราย พบว่ามีการจัดการคุณภาพน้ำแข็งที่จำหน่ายเป็นไปตามมาตรฐานที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ราย (ร้อยละ 31.58) 3.2 สุ่มเก็บตัวอย่างภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร ตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (SI-2) จำนวนทั้งสิ้น 353 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 315 ตัวอย่าง (ร้อยละ 89.24) และพบการปนเปื้อน จำนวน 38 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.76) 3.3 สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำแข็งบริโภค ตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (อ.11) จำนวนทั้งสิ้น 94 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 38 ตัวอย่าง (ร้อยละ 89.24) และพบการปนเปื้อน จำนวน 38 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.76) 3.4 สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำแข็งบริโภค ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโรค โดยใช้เกณฑ์คุณภาพน้ำแข็งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2527) จำนวนทั้งสิ้น 95 ตัวอย่าง พบว่าผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 43 ตัวอย่าง (ร้อยละ 45.26) และไม่ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 52 ตัวอย่าง (ร้อยละ 54.74) 4. การจัดทำป้ายรับรอง “ร้านนี้น้ำแข็งปลอดภัย มั่นใจ บริโภค” - จัดทำป้ายรับรอง “ร้านนี้น้ำแข็งปลอดภัย มั่นใจ บริโภค” เรียบร้อยแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 30 ป้าย เป็นเงิน 15,000 บาท 5. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพน้ำแข็งสะอาดปลอดภัยในสถานประกอบการอาหารและมอบป้ายรับรอง “ร้านนี้น้ำแข็งปลอดภัย มั่นใจ บริโภค” เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ ชั้น 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) และดำเนินการทำเรื่องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 รายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 10,500 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ 6,459 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 39,459 บาท
-
Print
สรุปผลงาน
ตัวชี้วัด
โครงการฯ
รายงานล่าสุด