รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนพื้นที่ที่จะพัฒนาด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน : 1800-0806

ค่าเป้าหมาย พื้นที่ : 1

ผลงานที่ทำได้ พื้นที่ : 1

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(พื้นที่)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
1.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการศึกษาภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 1.วิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ 2.ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /เจ้าของที่ดินร้องขอ 3.ประสานหน่วยงานราชการที่เป็นเจ้าของปากทาง เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ศึกษาข้อมูลพื้นที่และข้อมูลพื้นฐานของโครงการ (ขั้นตอนที่ 1 ของการดำเนินการจัดรูปที่ดิน) -สำรวจกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและประชากรของพื้นที่ศึกษา -วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของพื้นที่ศึกษา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1.จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและ เตรียมการประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2563 2.ดำเนินการประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2563 3.รายงานความคืบหน้าการดำเนินการศึกษา ความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน 4.สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5.สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพื่อประเมิน ความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดรูปที่ดิน 6.นำมติที่ประชุมฯ ไปดำเนินต่อในการศึกษา ความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ 7.เข้าพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหารือแนวทางในการจัดรูปที่ดินต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพื่อ ประเมินความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดรูปที่ดิน - ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ - วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน - แนวคิดการพัฒนาโครงการ - สถานการณ์ดำเนินงานในปัจจุบัน - ปัญหาและอุปสรรค - แนวทางการประเมินราคาที่ดิน 2. (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ จัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร - จัดทำ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณาวุฒิฯ เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ ซึ่ง (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งมาจากผลการคัดเลือกมาจาก วิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ จากมติที่ประชุมคณะ กรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ดังนี้ 1. รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา 2. นายไพรัช มณฑาพันธ์ 3. รศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ 4. ผังแนวคิดโครงการ - วิเคราะห์รูปแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่ เหมาะสม 5. วางแผนการดำเนินโครงการ - ตรวจสอบและติดต่อประสานงานเจ้าของที่ดิน เพื่อสอบถามความคิดเห็นในการดำเนินการจัดรูป ที่ดิน พร้อมทั้งเตรียมพร้อมในการจัดประชุมเจ้าของ ที่ดินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พื้นที่บริเวณข้างสำนักงาน ขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 เขตพระโขนง 6. วางแผนการดำเนินการจัดประชุม - ประชุมเจ้าของที่ดินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พื้นที่ บริเวณข้างสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 เขตพระโขนง (31 กรกฎาคม 2563) - ประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2563 (28 สิงหาคม 2563)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1.วางแผนการดำเนินโครงการ ตรวจสอบและติดต่อประสานงานเจ้าของที่ดินและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สอบถามความคิดเห็นในการ ดำเนินการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯ และจัดทำข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินการ ศึกษาฯเพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินการ ศึกษาฯเสนอต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อ พัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครพื้นที่บริเวณข้าง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่3เขตพระโขนง 2.วางแผนการดำเนินการจัดประชุมรายงาน ความคืบหน้าการดำเนินการศึกษาความเป็น ไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครเสนอต่อคณะ กรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2/2563 พื้นที่บริเวณข้างสำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 เขตพระโขนงดำเนิน โครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว และเตรียมการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การนำที่ราชพัสดุบางส่วนมาใช้โครงการจัดรูป ที่ดินบริเวณข้างสำนักงานขนส่งกรุงเทพฯ พื้นที่ 3 เขตพระโขนง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้อง 1) กรมธนารักษ์ 2) กรมการขนส่งทางบก 3) สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 4) สำนักงานเขตพระโขนง หมายเหตุได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ปรับลดค่าเป้าหมาย โดยตัดขั้นตอนการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นออกไปเนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฯ Covid-19

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ หมายถึงการดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการร่วมกันรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านการคมนาคม เศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมและชุมชน และเป็นการสอดคล้องกับการผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยพื้นที่ดำเนินโครงการต้องผ่านความเห็นชอบยินยอมจากเจ้าของที่ดินทุกราย 2. ค่าเป้าหมาย จำนวน 1 พื้นที่ หมายถึง จำนวนพื้นที่ที่ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการกระบวนงานจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง (ดำเนินการถึงขั้นตอนประชุมเจ้าของที่ดิน) 3. พื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่บริเวณข้างสำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 เขตพระโขนง (รอข้อมูลเพิ่มเติมหรือแก้ไขจาก สพฟ.) 4. ขั้นตอนการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง 5. ขั้นตอนการการจัดรูปที่ดิน (1) การศึกษาภาพรวมและข้อมูลพื้นฐานโครงการ ประกอบด้วย 1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.2 แผนที่แสดงแผนที่ตั้ง 1.3 ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ โฉนดที่ดิน 1.4 กำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการ 1.5 รวบรวมรายชื่อทีอยู่ เจ้าของที่ดิน สรุปจำนวนแปลง และ เรียงลำดับหมายเลขทุกแปลง 1.6 สอบถามความเห็นเบื้องต้นเพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปได้ของโครงการ (2) สรุปและวิเคราะห์รูปแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสม 2.1 วางผังแนวคิดโครงการ 2.2 วางผังแม่บทโครงการ 2.3 ออกแบบรายละเอียดโครงการเบื้องต้น (3) วางแผนการดำเนินการ 3.1 วางแผนขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 3.2 วางแผนการเงินและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ 3.3 จัดทำแผนดำเนินโครงการ (4) ประชุมเจ้าของที่ดิน 4.1 จัดประชุมเจ้าของที่ดินเพื่อรับฟังความคิดเห็น 4.2 รวบรวมหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินให้ครบ ๒ ใน ๓ 4.3 ปรับปรุง จัดทํารายละเอียดและเอกสารประกอบเพื่อขอดำเนินโครงการตามมาตรา ๔๑ (5) เสนอคำขอฯ ต่อคณะกรรมการส่วนจังหวัด (ม.๔๑) 5.1 เสนอคําขอต่อคณะกรรมการส่วนจังหวัด 5.2 ประชุมคณะกรรมการส่วนจังหวัดเพื่อพิจารณารับคําขอดำเนินโครงการ 5.3 แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๓ 5.4 ขอสํารวจพื้นที่โครงการ 5.5 ประกาศเขตบริเวณสํารวจพื้นที่โครงการ (6) สำรวจรังวัดสอบเขตแนวขอบเขตโครงการ (ม.42) 6.1 ดําเนินการสํารวจรังวัดและสอบเขตที่ดิน 6.2 สรุปข้อมูลและเนื้อที่รวมทั้งโครงการ 6.3 ประกาศโครงการจัดรูปที่ดินไว้ในที่เปิดเผย 6.4 ส่งหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินทางไปรษณีย์ตอบรับ 6.5 เชิญเจ้าของที่ดินที่ยื่นคําคัดค้านตามมาตรา ๕๘ มาแสดงข้อเท็จจริงและความเห็นประกอบคําพิจารณา 6.6 ประชุมมคณะกรรมการส่วนจังหวัดเพื่อ พิจารณาโครงการ 6.7 ประกาศโครงการในราชกิจจานุเบกษา (7) ประกาศเขตโครงการจัดรูปที่ดิน (ม.๕๑ และประกาศก่อนประชุม) 7.1 ประกาศเขตดําเนินโครงการไว้ในที่เปิดเผยไม่น้อยกว่า15 วัน 7.2 แจ้งประชุมเจ้าของที่ดินให้รับทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนการประชุม (8) ประชุมเจ้าของที่ดินจัดตั้งคณะที่ปรึกษา (ม.52) 8.1 ประชุมเจ้าของที่ดินเพื่อเลือกตั้งผู้แทนคณะที่ปรึกษาฝ่ายเจ้าของที่ดิน 8.2 ประชุมคณะกรรมการส่วนจังหวัดเพื่อเสนอผู้แทนที่ปรึกษา 8.3 ประชุมคณะที่ปรึกษาเพื่อเลือกประธาน (9) ประเมินราคาทรัพย์สินและที่ดินก่อนดำเนินโครงการ 9.1 คณะที่ปรึกษาจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญการตีราคาทรัพย์สิน 9.2 จัดทำรายการประเมินทรัพย์สินและราคาที่ดินก่อนโครงการ (10) สรุปแผนดําเนินโครงการ 10.1 สรุปจํานวนแปลงที่ดินเอกชนและที่ดินสาธารณะก่อนโครงการ 10.2 สรุปผังโครงการ โครงข่ายถนน 10.3 สรุปจํานวนพื้นที่จัดหาประโยชน์ 10.4 สรุปจํานวนพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด 10.5 สรุปพัฒนาและแผนการเงิน 10.6 สรุปรายละเอียดขั้นตอนและระยะเวลาดําเนินโครงการ 10.7 รายงานสรุปความคิดเห็นจากเจ้าของที่ดิน (11) สำรวจรังวัดปักหมุดแนวถนนโครงการ 11.1 สํารวจรังวัดปักหมุดแนวถนนโครงการตามผัง (12) ออกแบบผังการจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ 12.1 ออกแบบจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ 12.2 ประเมินมูลค่าที่ดิน 12.3 วางผังแปลงที่ดินใหม่ (13) ปักหมุดและประเมินราคาแปลงที่ดินใหม่ 13.1 รังวัดปักหมุดแปลงที่ดินใหม่ 13.2 ประเมินราคาแปลงที่ดินใหม่ (14) ออกแบบและวางแผนการก่อสร้างแผนการโยกย้าย (ม.๕๔) 14.1 กำหนดแผนการก่อสร้าง 14.2 กําหนดแผนการโยกย้ายอาคารสิ่งปลูกสร้าง (15) ก่อสร้างโครงการ 15.1 ก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และโยกย้ายอาคารสิ่งปลูกสร้าง (16) รังวัดแปลงที่ดินใหม่ 16.1 รังวัดแปลงที่ดินใหม่ (ตรวจสอบแปลงที่ดินใหม่ถ้าจําเป็น) (17) กำหนดค่าชดเชย 17.1 กําหนดค่าชดเชย 17.2 ประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการ 17.3 ประชุมเจ้าของที่ดิน (18) ออกเอกสารสิทธิ (ม.๗๑) 18.1 ประชุมคณะกรรมการส่วนจังหวัด 18.2 ติดประกาศผังแปลงที่ดินใหม่ 18.3 สำนักงานที่ดินออกเอกสารสิทธิ / โฉนดที่ดินใหม่ (19) ชำระค่าชดเชยรับเอกสารสิทธิ (ม.๖๙) 19.1 ชําระค่าชดเชยและผู้ดําเนินโครงการแจกโฉนดที่ดินใหม่ 19.2 ประกาศสิ้นสุดโครงการในราชกิจจานุเบกษา

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

พื้นที่เป้าหมายที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดรูปที่ดินได้มีการดำเนินการตามขั้นตอน 1 - 4 โดยใช้วิธีนับจำนวนพื้นที่ที่นำมาใช้จัดรูปที่ดิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

รูปแบบการดำเนินโครงการ ดำเนินงานตามขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การศึกษาและวิเคราะห์แผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร 2. การประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 การประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินฯ เพื่อเสนอร่างผังแปลงที่ดินใหม่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ครั้งที่ 2 การประชุมคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอร่างแผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนแม่บทฯ และคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ 3. การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนแม่บทและพื้นที่เป้าหมายการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 1) จากสำนักงานเขตในพื้นที่เป้าหมายฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. การเสนอแนะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน 1 บริเวณ และผังทางเลือก ผังทางเข้า - ออก

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
:๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
:๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง