รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

13. ร้อยละความสำเร็จในการสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชน : 2300-0732

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 อยู่ระหว่างเตรียมการประชุม แต่งตั้งคณะทำงาน ศึกษาข้อมูลกิจกรรม และรวบรวมข้อมูลในการจัดทำแบบสำรวจฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานฯ เรียบร้อยแล้ว ตามคำสั่งกองนันทนาการ ที่ 44/2561 ลงวันที่ 29 มกราคม 2561 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมคณะทำงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3: อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชนในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 36 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4: 1. การวิเคราะห์และจัดทำแบบสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ (ร้อยละ 25) 2. การทอดแบบสำรวจ (ร้อยละ 50) 3. สรุปผลการสำรวจ (ร้อยละ 75) 4. อยู่ระหว่างรายงานผลการสำรวจต่อผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (ร้อยละ 100) ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดแล้ว ดังนี้ 1. การวิเคราะห์และจัดทำแบบสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2. การทอดแบบสำรวจ 3. สรุปผลการสำรวจ จากการสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชนที่ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 601 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.07 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40.60 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.29 รองลงมาคือ มีอายุระหว่าง 46 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 21.46 อายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 18.14 โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 21.46 รองลงมาคือ เป็นผู้เกษียณ/ว่างงาน คิดเป็นร้อยละ 15.97 ประกอบธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 11.15 รับจ้าง/ลูกจ้าง คิดเป็นร้อยละ 9.98 โดยเป็นผู้ที่เคยมาใช้บริการห้องสมุดฯ คิดเป็นร้อยละ 93.01 และไม่เคยมาใช้บริการห้องสมุดฯ คิดเป็นร้อยละ 6.82 ตามลำดับ ประเภทหนังสือที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อ่าน ได้แก่ หนังสือนวนิยายไทย คิดเป็นร้อยละ 11.95 รองลงมาคือ สุขภาพ/อาหาร คิดเป็นร้อยละ 11.52 ท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 10.01 สารคดี /ประวัติศาสตร์/ชีวประวัติ คิดเป็นร้อยละ 8.54 การ์ตูน/นิยายภาพ คิดเป็นร้อยละ 7.94 นวนิยายแปลจากต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 6.90 ธรรมะ/ศาสนา คิดเป็นร้อยละ 6.13 เรื่องสั้น คิดเป็นร้อยละ 5.22 และจิตวิทยา/ให้กำลังใจ/พัฒนาตนเอง คิดเป็นร้อยละ 4.62 ตามลำดับ โดยประเภทหนังสือที่ผู้ตอบแบบสอบถามอ่านบ่อยเป็นอันดับที่ 1 ได้แก่ นวนิยายไทย คิดเป็นร้อยละ 25.73 รองลงมาคือ การ์ตูน/นิยายภาพ คิดเป็นร้อยละ 12.09 สุขภาพ/อาหาร คิดเป็นร้อยละ 8.12 สารคดี /ประวัติศาสตร์/ชีวประวัติ คิดเป็นร้อยละ 7.25 นวนิยายแปลจากต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 7.08 ท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 5.53 หนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 5.01 คู่มือเตรียมสอบ คิดเป็นร้อยละ 3.63 ธรรมะ/ศาสนา คิดเป็นร้อยละ 3.28 และธุรกิจ/หุ้น/การลงทุน คิดเป็นร้อยละ 3.11 ตามลำดับ ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้ห้องสมุดมีเพิ่มเติมจำแนกตามห้องสมุดฯ มากที่สุด ได้แก่ หนังสือนวนิยาย คิดเป็นร้อยละ 24.40 รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 24.02 หนังสือวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 20.97 เรื่องสั้น/เรื่องแปล คิดเป็นร้อยละ 17.15 วารสาร คิดเป็นร้อยละ 14.23 หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน คิดเป็นร้อยละ 11.82 และหนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 11.82 ตามลำดับ 4. รายงานผลสำรวจต่อผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อประเภทต่าง ๆ ที่ได้บันทึกข้อมูลข่าวสารความรู้โดยผ่านกระบวนการ กลั่นกรอง เรียบเรียง และประมวลไว้โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัส และอื่น ๆ และมีการบันทึกด้วยวิธีการต่าง ๆ ลงในวัสดุที่เป็นรูปธรรมสัมผัสได้ เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร โสตทัศนวัสดุ รวมถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ - ความสำเร็จในการสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชน หมายถึง การดำเนินการสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. การวิเคราะห์และจัดทำแบบสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ (ร้อยละ 25) 2. การทอดแบบสำรวจ (ร้อยละ 50) 3. สรุปผลการสำรวจ (ร้อยละ 75) 4. รายงานผลสำรวจต่อผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (ร้อยละ 100)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ใช้แบบสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
:๓.๓ - การศึกษาสำหรับทุกคน
:๓.๓.๓ ประชาชนมีโอกาสศึกษาตลอดชีวิต%
:๓.๓.๓.๑ ศึกษาและพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง