ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2:
สำนักงานเขตห้วยขวางได้ดำเนิการจัดส่งโครงการ แผนงาน และแบบสำรวจปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่เขตห้วยขวางส่งให้สนน.พิจารณาแล้ว เพื่อดำเนินการต่อไป
28/02/2564 : ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตห้วยขวาง ได้ดำเนินกิจกรรมปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์คลองในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ตลอเดือนกุมภาพันธ์ 2564 30/03/2564 : ได้ดำเนินการจัดเก็บทำความสะอาดทางเดินริมเขื่อน ได้ประชาสัมพันธ์จัดระเบียนทางเดินริมเขื่อน ได้สำรวจไฟฟ้าส่องสว่างที่ชำรุด ได้ทาสีกำแพงเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์
23/04/2564 : ได้ประชาสัมพันธ์จัดระเบียนทางเดินริมเขื่อน ได้สำรวจไฟฟ้าส่องสว่างที่ชำรุด ได้ทาสีกำแพงเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ ได้ปรับภูมิทัศน์จุดชมวิว 27/05/2564 : - ได้ทำความสะอาดทางเดินริมคลอง - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ให้ทิ้งขยะลงคลองและสอนวิธีการคัดแยกขยะ - แนะนำการติดตั้งบ่อดักเขมัน - ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสะพาน - ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซ่อมแซมราวกันตก - ทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ -ก่อสร้างจัดทำจุดเช็คอิน 21/06/2564 : ได้ดำเนินการดังนี้ 1. ทำความสะอาดทางเดินริมคลอง 2. กวดขัดจัดระเบียบไม่ให้มีสิ่งของวางรุกล้ำทางเดิน 3. จัดทำจุดเช็คอินคลองแสนแสบ บริเวณสวนสมเด็กสราญราษฎร์มณีรมย์ และจุดเช็คอินคลองบางซื่อ บริเวณชุมชนริมคลองบางซื่อ รัชดา 4. รณรงค์ไม่ให้มีการทิ้งขยะลงคลอง 5. ปรับภูมิทัศน์โดยการทาสีสะพาน และทาสีกำแพงริมคลอง เพื่อเพิ่มความสวยงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย 6. มีตรวจความเรียบร้อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรริมคลอง
ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาดและปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นอัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด ตามเอกสารแนบ 1 6. สำนักงานเขต 6.1 จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความ รับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/ กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 6.2 บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชน ดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลอง ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 6.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชน ในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุง ภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดิน ข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 6.4 สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้ง ไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 6.5 สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือสภาพที่ดีขึ้น 6.6พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิว ทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้ง ป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับ ต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง
วิธีการคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม เกณฑ์การประเมินผล - การวัดผลการดำเนินงาน(ความสำเร็จตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน ร้อยละ 60) - การวัดผลการดำเนินงาน(ความสำเร็จในภาพรวมร้อยละ 40) ซึ่งในแต่ละคลองจะต้องมีการดำเนินการครบทุกกิจกรรมของทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ด้านความสวยงาม 2. ด้านความสะอาด และ 3. ด้านความปลอดภัย
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |