รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร : 5014-0892

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 91.21

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
50.00
100
100 / 100
4
91.21
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการประชาสัมพันธ์, ส่งเสริม และตรวจติดตามให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี จำนวน 84 แห่งจากสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขตลาดกระบัง 421 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการประชาสัมพันธ์, ส่งเสริม และตรวจติดตามให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี จำนวน 168 แห่งจากสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขตลาดกระบัง 421 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการประชาสัมพันธ์, ส่งเสริม และตรวจติดตามให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี จำนวน 211 แห่งจากสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขตลาดกระบัง 421 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการประชาสัมพันธ์, ส่งเสริม และตรวจติดตามให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี จำนวน 384 แห่งจากสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขตลาดกระบัง 421 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.21

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1.สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่ 50 เขต ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 2.เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึงเกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับ ป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหารและด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ดังนี้ 2.1 ด้านอาคารสถานที่ ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะ สถานประกอบการอาหาร 2.2 ด้านความปลอดภัยของอาหาร ต้องผ่านเกณฑ์ ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหาร ที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ ในน้ำมันทอดอาหารเกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2)ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภคภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อน ไม่เกินร้อยละ 10 กรณี พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หรือโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ให้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือคำแนะนำให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2.3 ด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และผ่านการทดสอบความรู้โดยได้รับหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร 3.ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึงร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลผลิต - จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ผลลัพธ์ - ร้อยละสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

การดำเนินงานของสำนักงานเขต 1. สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำฐานข้อมูล แล้วรายงานให้สำนักอนามัย (1.0) 2. ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (3.0)โดย 2.1 ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะ 2.2 ตรวจคุณภาพอาหารด้านเคมี และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ด้วยชุดทดสอบด้านความปลอดภัยของอาหารเบื้องต้น (Test-kit) 2.3 ส่งเสริมผู้สัมผัสอาหารให้ผ่านการอบรม หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร 3. รวบรวมรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครส่งให้สำนักอนามัย เพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (0.5) 4. ส่งมอบป้ายรับรองฯ ให้กับสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (1.0) 5. ตรวจติดตาม กำกับ สถานประกอบการที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ (1.0) วิธีการคำนวณ : จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครคูณด้วย ๑๐๐ หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต สูตรการคำนวณ จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร x ๑๐๐ . จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง