รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4 ร้อยละของจำนวนคลองที่ถูกฟื้นฟู ปรับปรุง และคืนสภาพเพื่อเป็นแก้มลิงธรรมชาติและมีระบบระบายน้ำที่ดีขึ้น : 5017-0812

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหานำ้ท่วมในพื้นที่ประจำปี ๒๕๖๓ - ดำเนินการกำจัดวัชพืช ตักขยะ และเปิดทางน้ำไหล คลองวัดน้อยใหม่ คลองข้างวัดอนงค์ และคลองต้นไทร - เตรียมดำเนินการขุดลอกคลอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ดำเนินการกำจัดวัชพืช ตักขยะ และเปิดทางน้ำไหล คลองวัดน้อยใหม่ คลองข้างวัดอนงค์ และคลองต้นไทร - เตรียมลงนามสัญญาขุดลอกคลองโรงปลา คลองวัดทองธรรมชาติและคลองแยกคลองวัดทองธรรมชาติ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ดำเนินการกำจัดวัชพืช ตักขยะ และเปิดทางน้ำไหล คลองวัดน้อยใหม่ คลองข้างวัดอนงค์ และคลองต้นไทร - ขุดลอกคลองโรงปลา คลองวัดทองธรรมชาติและคลองแยกคลองวัดทองธรรมชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ดำเนินการขุดลอก จัดเก็บขยะวัชพืช เปิดทางน้ำไหล - จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคลอง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม : คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่เขตที่อยู่ในความรับผิดชอบของเขตคลองสานมีทั้งหมด 23 คลอง ซึ่งเป็นคลองที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีปัญหาขยะ และต้องได้รับการฟื้นฟูฯ มีทั้งสิ้น 3 คลอง ได้แก่ คลองวัดน้อยใหม่ คลองข้างวัดอนงค์ คลองต้นไทร การฟื้นฟู ปรับปรุง และคืนสภาพเพื่อเป็นแก้มลิงธรรมชาติและมีระบบระบายน้ำที่ดีขึ้น หมายถึง การดำเนินการจัดการปัญหาขยะ บริเวณคู คลอง การบริหารจัดการน้ำในคลองให้สามารถไหลเข้าออกได้ มีความสะอาด ไม่เน่าเสีย และมีสภาพภูมิทัศน์ริมคลองที่ดี รวมถึงการขุดลอกท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ซึ่งมีกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ประจำปี 2563 ดังนี้ 1.1 แผนการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ (ระบุจำนวนท่อ ความยาวท่อ และจำนวนครั้งที่ดำเนินการ เดือนที่ดำเนินการ) โดยต้องสำรวจความพร้อมของท่อระบายน้ำ ความยาวท่อระบายน้ำที่ต้องล้างทำความสะอาด 1.2 แผนการขุดลอกคู คลองและจัดเก็บขยะ วัชพืช เพื่อเปิดทางน้ำไหล (ระบุจำนวนคลอง จำนวนครั้งที่ดำเนินการ เดือนที่ดำเนินการ) โดยต้องสำรวจคู คลอง ที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีปัญหาขยะ และที่ต้องขุดลอก 2. การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ หมายถึง การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขต ตามแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันน้ำท่วม ประจำปี 2563 โดยมีภารกิจในการเตรียมการ ดังนี้ 2.1 การขุดลอกคูคลองและจัดเก็บขยะ วัชพืช เพื่อเปิดทางน้ำไหล 2.2 ปรับภูมิทัศน์สองฝั่งคลองให้เป็นระเบียบ 2.3 การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน 3. จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง โดยให้กระบวนการมีส่วนสร้างจากภาคประชาชน/เอกชนในพื้นที่ หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ครั้ง/ปี

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน : ร้อยละ 100 พิจารณาจากผลการดำเนินการตามแผนเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ประจำปี 2563 ของสำนักงานเขต ประกอบด้วย 1. การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ โดยใช้แรงงานเขต หรือจ้างเหมาหน่วยงานอื่น ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บริหารเขตภายในเดือนสิงหาคม 2563 (คะแนนร้อยละ 45) 2. การขุดลอกคูคลองและเปิดทางน้ำไหล แบ่งการดำเนินการ ดังนี้ - การขุดลอกคูคลองฯ โดยใช้แรงงานเขต หรือจ้างเหมาหน่วยงานอื่นหรือบริษัทเอกชน ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - การขุดลอกคูคลองฯ โดยจิตอาสาในพื้นที่เขต ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บริหารเขตภายในเดือนสิงหาคม 2563 (คะแนนร้อยละ 45) 3. จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคู คลอง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน/เอกชนในพื้นที่ หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ครั้ง/ปี (คะแนนร้อยละ 10) วิธีการคำนวณ : 1. ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ = จำนวนท่อระบายน้ำที่ดำเนินการสำเร็จ หารด้วย จำนวนท่อระบายน้ำตามแผน คูณ 45 2. ความสำเร็จของการขุดลองคูคลองและจัดเก็บขยะ วัชพืช เพื่อเปิดทางน้ำไหล = จำนวนคลองที่ดำเนินการสำเร็จ หารด้วย จำนวนคลองทั้งหมดตามแผน คูณ 45 3. ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคูคลอง = จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม หาร 4 คูณ 10 4. ความสำเร็จในการฟื้นฟู ปรับปรุง และคืนสภาพคลอง เพื่อเป็นแก้มลิงธรรมชาติและมีระบบระบายน้ำที่ดีขึ้น = ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ + ความสำเร็จของการขุดลอกคูคลองและจัดเก็บขยะ วัชพืช เพื่อเปิดทางน้ำไหล + ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคูคลอง

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง