รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 : 5034-0891

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 20

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 26.29

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.87
100
100 / 100
2
9.55
100
100 / 100
3
15.44
0
0 / 0
4
26.29
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.จัดอบรมสาธิตการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารนำมาผสมกับผักตบชวาในการทำความสะอาดคูคลอง ชุมชนคลองปักหลักพัฒนา มีเข้าร่วมกิจกรรม 60 คน และชุมชนสุเหร่าจระเข้ขบ เพื่อรองรับการดำเนินการบำบัดน้ำเสียในคลองจรเข้ขบ มีตัวแทนกลุ่มย่อยเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน 2.สาธิตการคัดแยกเศษอาหารนำมาเลี้ยงเป็ดและเลี้ยงปลา โดยประสานกับตลาดนัมเบอร์วันและร้านค้าบริเวณศูนย์การค้านัมเบอร์วันแลนด์ ถนนรามคำแหง 2 แขวงดอกไม้ 3.ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกผลไม้ โดยเศษผลไม้ จำนวน 22 ตัน ได้น้ำหมักชีวภาพ24,000 ลิตร 4.ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผลไม้หมักผสมเปลือกส้มและเศษผักเศษอาหาร โดยใช้เศษอาหาร 240 ตัน ได้ปุ๋ยหมัก จำนวน 300 ลูกบาศก์เมตร 5.เปิดโครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพบริเวณถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก บริเวณคลองปักหลัก 2 เพื่อเป็นจุดเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักผักตบชวาผสมกับเศษผักและเศษผลไม้ โดยมีกำลังการผลิตวันละ 3 ตัน 6.แจกจ่ายเป็นปุ๋ยหมักแก่ประชาชน 30 ลูกบาศก์เมตร แจกน้ำหมักชีวภาพแก่ประชาชน 1,200 ลิตร รวมปริมาณมูลฝอย เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 จำนวน 2,293.12 ตัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1.จัดอบรมการกระตุ้นการดำเนินงานแปรรูปน้ำหมักชีวภาพ ณ โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ เพื่อรองรับการดำเนินการบำบัดน้ำเสียในคลองจรเข้ขบ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน และโรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ กิจกรรมในงาน ได้แก่ สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้ในด้านการคัดแยกมูลฝอยเศษอาหารเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เทน้ำหมักชีวภาพลงคลองจระเข้ขบเพื่อปรับสภาพน้ำ จำนวน 200 ลิตร แจกน้ำหมักชีวภาพให้แก่ผู้มาร่วมงาน จำนวน 200 ขวด เป็นต้น 2.ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผักผลไม้ ได้ผลผลิต 50 ลูกบาศก์เมตร ใช้เศษอาหารจำพวกเศษผักผลไม้ จำนวน 265 ตัน 3.ผลิตน้ำหมักจากเปลือกส้ม เปลือกสับปะรด ได้ผลผลิต 29,000 ลิตร ใช้เศษผักผลไม้ทั้งสิ้น จำนวน 29 ตัน 4.แจกจ่ายเป็นปุ๋ยหมักแก่ประชาชน 50 ลูกบาศก์เมตร แจกน้ำหมักชีวภาพแก่ประชาชน 2,400 ลิตร 5.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายชุมชนดอกไม้ คัดแยกขยะอินทรีย์นำมาผลิตปุ๋ยหมักแบบกองรวมและคัดแยกรวบรวมมูลฝอยเศษอาหารนำมาใช้เลี้ยงปลา โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลามารับไปใช้ประโยชน์ 6.จัดอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลสิรินธรคัดแยกขยะเศษอาหารเพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้บำบัดน้ำเสียและรดน้ำต้นไม้ในโรงพยาบาล มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน รวมปริมาณเศษอาหารที่คัดแยกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จำนวน 3,734.2 ตัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. คัดแยกขยะอินทรีย์นำมาผลิตปุ๋ยหมักแบบกองรวมและคัดแยกรวบรวมมูลฝอยเศษอาหารนำมาใช้เลี้ยงปลา โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลามารับไปใช้ประโยชน์ 2.รวบรวมเศษผักผลไม้ให้กับชุมชนบ้านม้ามารับไปเลี้ยงเป็ดเทศและเลี้ยงแพะ 3.ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้บำบัดน้ำเสียและรดน้ำต้นไม้ภายในสำนักงานเขต 4. เทน้ำหมักชีวภาพลงคลองตาสาด ช่วงหมู่บ้านมิตรภาพ ซอย 6 ถึงถนนศรีนครินทร์ จำนวน 200 ลิตร และคลองจรเข้ขบ จำนวน 400 ลิตร เพื่อปรับสภาพน้ำ 5.แจกจ่ายปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพแก่ประชาชน จำนวน 500 คน รวมปริมาณเศษอาหารที่คัดแยกได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 6,025.84 ตัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1.จัดอบรมการแปรรูปขยะเศษอาหารเป็นน้ำหมักชีวภาพ ณ ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณริมคลองประเวศบุรีรมย์ในการลดปัญหาขยะประเภทเศษอาหารและนำมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพใช้บำบัดน้ำเสีย ล้างห้องสุขา และรดน้ำต้นไม้ภายในครัวเรือนของตัวเอง 2.ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผักผลไม้ ได้ผลผลิต 50 ลูกบาศก์เมตร ใช้เศษอาหารจำพวกเศษผักผลไม้ จำนวน 165 ตัน 3.ผลิตน้ำหมักจากเปลือกส้ม ได้ผลผลิต 15,000 ลิตร ใช้เศษผักผลไม้ทั้งสิ้น จำนวน 15 ตัน 4.แจกจ่ายเป็นปุ๋ยหมักแก่ประชาชน 4 ลูกบาศก์เมตร แจกน้ำหมักชีวภาพแก่ประชาชน 200 ลิตร 5.ตรวจสอบจุดพักขยะพร้อมทั้งมอบถังรองรับมูลฝอยและตรวจสอบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชักลากฯชุมชนสามัคคีธรรม 6.มอบถังรองรับมูลฝอยเพื่อใช้ในการชักลากขยะของอาสาสมัครชักลากมูลฝอยชุมชนอ่อนนุช 19 ไร่ 7.มอบถังรองรับมูลฝอยเพื่อใช้ในการคัดแยกขยะชุมชนพร้อมทั้งตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ อาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชนกระทุ่มเสือปลา 8.ตรวจสอบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชนหมู่บ้านร่มเย็นพร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงาน 9.ตรวจสอบพร้อมทั้งประเมินผลงานการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่ 10.ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชนซอยวาสเจริญ 11.ลงพื้นที่รณรงค์ แบบเคาะประตูบ้าน จัดรถประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ในชุมชน หมู่บ้านพงษ์นิมิตร หมู่บ้านธนาคารกรุงเทพ ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ 12.จัดเก็บขยะอันตรายในพื้นที่เขตเขตประเวศ เช่น สถานประกอบการ โรงพยาบาล บริษัท วัด ตลาด โรงเรียน ห้างร้านฯ สถานีบริการน้ำมัน และเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานเขตประเวศ 13.จัดกิจกรรมการคัดแยกขยะตามหลัก 3 R และสาธิตการคัดแยกอันตรายออกจากขยะทั่วไป ณ ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด หมายถึง มูลฝอยที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งคัดแยกจากบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 2. นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอย เช่น ขาย ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ แปรรูป ถมที่ ฯลฯ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับ ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2563 ลบ ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 หาร ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 คูณ 100 (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค. 62 - ก.ย. 63)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แบบรายงานประจำเดือน 2. ภาพถ่าย

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง