รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสามารถในการระบายน้ำจาก ถนนสายหลักที่มีปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตก (ผลลัพธ์) : 5047-0895

ค่าเป้าหมาย นาที : 90

ผลงานที่ทำได้ นาที : 90

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(นาที)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00
100
100 / 100
2
15.00
100
100 / 100
3
50.00
100
100 / 100
4
90.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม ดำเนินการ ดังนี้ 1. จัดทำโครงการ/กิจกรรม เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม Rain บางนา 3. จัดเตรียมเครื่องมือ,เครื่องจักร รวมทั้งตรวจเช็คอุปกรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อถึงฤดูฝนตก

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ดำเนินการจัดเก็บวัชพืชผักตบชวา และล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำในท่อระบายน้ำในซอย และคู คลอง ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยดำเนินการ ดังนี้ 1.ดำเนินการเก็บกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวา ดำเนินการเก็บกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวา -บริเวณคลองหลอด กม. 2 (ช่วงอุดมสุข 42) จำนวน 34 ตัน -บริเวณคลองหลอด กม. 3 จำนวน 18 ตัน คลองเคล็ด (จากสุดซอยศรีนครินทร์ 54 ถึงสุดซอยศรีนครินทร์ 58) จำนวน 12 ตัน รวมดำเนินการเก็บกำจัดขยะและวัชพืชผักตบชวา จำนวน 64 ตัน 2.ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ -โดยจ้างเหมาเอกชน จำนวน 48 ซอย ความยาว 23,445 เมตร ล้างทำความสะอาดท่อ -โดยใช้แรงงานเขต จำนวน 23 ซอย ความยาว 10,125 เมตร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2563 ดำเนินการจัดเก็บวัชพืชผักตบชวา และล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำในท่อระบายน้ำในซอย และคู คลอง ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยดำเนินการ ดังนี้ 1.ดำเนินการเก็บกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวา ดังนี้ 1.1 บริเวณคลองหลอด กม. 2 ช่วงซอยอุดมสุข 42 แยก 7 ถึงถนนเทพรัตน 1.2 ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวาบริเวณคูระบายน้ำท้ายซอยสุขุมวิท 68 จำนวน 21.5 ตัน และดำเนินการจัดเก็บวัชพืชหน้าห้างบิ๊กซี-เซ็นทรัลบางนา 1.3 ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวาบริเวณคูระบายน้ำข้างถนนเทพรัตน 2. ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ โดยใช้แรงงานเขต ดังนี้ 2.1 ซอยอุดมสุข 44 2.2 ซอยบางนา-ตราด 15 2.3 ซอยเชลียง 1 แยก 7 2.4 ซอยเชลียง 1 แยก 17 2.5 ซอยสันติภูมิ 3 2.6 ซอยสันติภูมิ 6 2.7 ซอยอุดมสุข 20 2.8 ซอยเชลียง 1 แยก 10 2.9 ใกล้แยกบางนา บริเวณหน้าเดอะโคส 2.10 ซอยโสภณ หน้าบ้านเลขที่ 85-85/1 2.11 ซอยแบริ่ง 11 2.12 ซอยจ่าโสดช่วงโค้งเครื่องสูบน้ำ 2.13 ซอยบางนา-ตราด ซอย 6 2.14 ซอยจ่าโสด 14 3. ดำเนินการตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเตรียมป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม ดังนี้ 3.1 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ซอยลาซาล 50 3.2 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ซอยลาซาล 24 3.3 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ หมู่บ้านเครือวัลย์ 3.4 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ บริเวณเกาะกลางหน้าบิ๊กซี 3.5 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ซอยลาซาล 46 3.6 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ หน้าห้างบิ๊กซี 3.7 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ลาชาล 27 3.8 ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ซอยเพี้ยนพิน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2563 ดำเนินการจัดเก็บวัชพืชผักตบชวา และล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำในท่อระบายน้ำในซอย และคู คลอง ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยดำเนินการ ดังนี้ 1. ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยและวัชพืชผักตบชวา 1.1 คูระบายน้ำหน้าวัดศรีเอี่ยม 1.2 คูระบายน้ำคู่ขนานถนนเทพรัตน ช่วงแขวงทางหลวงสมุทรปราการ 1.3 คลองหลอด กม. 2 ช่วงท้ายซอยอุดมสุข 26 ช่วงซอยอุดมสุข 42 แยก 2 และซอยสุขุมวิท 68 1.4 คลองหลอด กม.2 ช่วงแยกท้ายซอยอุดมสุข 26 2.ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 2.1 ช่วงโค้งก่อนถึงวัดศรีเอี่ยม 2.2 ซอยทองอยู่ 1 2.3 ซอยเพี้ยนพิน 2.4 ซอยอุดมสุข 26 (แสนสุข 1), 2.5 ซอยบางนา-ตราด 11 2.6 ซอยบางนา-ตราด 4 สี่ 2.7 แยกบางนา 2.8 ซอยลาซาล 24 2.9 ซอยจ่าโสด 20 ท้ายซอย 2.10 ซอยเพี้ยนพิน (จากปากซอยแยก 20-แยก 24) 2.11 ซอยจ่าโสด แยก 12 เชื่อมถนนทางรถไฟสายเก่า 2.12 ซอยสรรพาวุธ 1 2.13 ซอยโสภณ ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำพร้อมเร่งระบายน้ำซอยเพี้ยนพิน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำปากซอยเพี้ยนพิน (ข้างโรงเรียนสรรพาวุธวิทยา) สำนักการระบายน้ำร่วมกับสำนักงานเขตบางนา ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ถนนทางรถไฟสายเก่า

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนทั้งหมดในพื้นที่กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ซึ่งสำนักงานเขตรับผิดชอบดูแลแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นผิวถนน 2. ความสามารถระบายน้ำท่วมขัง หมายถึง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นผิวถนน สามารถระบายน้ำเข้าสู่สภาวะปกติได้ในเวลาที่กำหนดยกเว้นพื้นที่ที่มีการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ : วัดช่วงเวลาน้ำท่วมนับจากฝนหยุดตกโดยใช้ข้อมูลสถิติที่บันทึกไว้จากกองระบบสารสนเทศระบายน้ำ โดยถนนสายหลักในพื้นที่ต้องมีสามารถระบายน้ำท่วมขังได้ภายในระยะเวลาดังนี้ - กรณีฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตร สามารถระบายน้ำท่วมขังได้ภายใน 90 นาที - กรณีฝนตกเกิน 60 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร สามารถระบายน้ำท่วมขังได้ภายใน 30 นาที - กรณีฝนตกไม่เกิน 60 มิลลิเมตร ไม่มีน้ำท่วมขัง เกณฑ์การให้คะแนน : (จำนวนครั้งที่ระบายน้ำได้ตามเกณฑ์ × 100) ÷ จำนวนครั้งที่ฝนตกและมีน้ำท่วมขังทั้งหมด โดยเทียบเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ --> สามารถระบายน้ำได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 100 = 10 คะแนน ร้อยละ 90-99 = 8 คะแนน ร้อยละ 80-89 = 6 คะแนน ร้อยละ 70-79 = 4 คะแนน ร้อยละ 60-69 = 2 คะแนน ต่ำกว่าร้อยละ 60 = 0 คะแนน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมประจำปี 2563 ของสำนักงานเขต 2. ข้อมูลสถิติปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่วมขังของสำนักการระบายน้ำที่บันทึกไว้จากกองระบบสารสนเทศระบายน้ำ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง