ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2:
ไตรมาสที่ 1 : ดำเนินการตามโครงการดังนี้ 1.สำรวจพื้นที่ 2.ประชุมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถานประกอบการ สถานศึกษา ในพื้นที่เขตบางนา เพื่อรับทราบข้อมูลเบื้องต้น เสนอแนวความคิดเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำและดำเนินการในโครงการบึงในฝัน สวรรค์บางนา 3.เสนอขออนุมัติโครงการ 4.ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 : สำนักการระบายน้ำร่วมกับสำนักงานเขตบางนา ซ่อมแซมประตูระบายน้ำเพื่อปิดรอยรั่วและตรวจสอบคุณภาพของน้ำในบึง 5.ดำเนินการกิจกรรมที่ 3 : ชุมชนโดยรอบบึง มีส่วนร่วมในการพัฒนา ทำความสะอาดและกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชในพื้นที่โดยรอบบึง เดือนละ 1 ครั้ง 6.ดำเนินการกิจกรมที่ 4 : สำนักงานคุมประพฤติ ประจำศาลแขวงพระโขนง มีส่วนร่วมในการส่งบุคลากรผู้บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะมาพัฒนาทำความสะอาดและกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชในบึง เดือนละ 1 ครั้ง 7.ดำเนินการกิจกรรมที่ 5 : สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบบึงและสนับสนุนพันธุ์ไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบึง 8.ดำเนินการกิจกรรมที่ 6 : ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตบางนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ของบึงและพื้นที่โดยรอบบึง ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เขตบางนาและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่เขตบางนา 9.ดำเนินการกิจกรรมที่ 7 : โรงเรียนอรรถวิทย์ มีส่วนร่วมในการส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบึง เดือน 1 ครั้ง 10.ดำเนินการกิจกรรมที่ 11 : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางนามีส่วนร่วมในการจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในรัชกาลที่ 9 โดยแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ฯ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เลี้ยงสัตว์ เผาถ่าน ทำปุ๋ยจากใบไม้แห้ง ฯลฯ
ไตรมาสที่ 2 : ดำเนินการตามโครงการดังนี้ 1.ดำเนินการกิจกรรมที่ 2 : สำนักการโยธาและสำนักการระบายน้ำ ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ มาขุดลอกบึงร่วมกับฝ่ายโยธา สำนักงานเขตบางนา พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ 2.ดำเนินการกิจกรรมที่ 3 : ชุมชนโดยรอบบึง มีส่วนร่วมในการพัฒนา ทำความสะอาดและกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชในพื้นที่โดยรอบบึง เดือนละ 1 ครั้ง 3.ดำเนินการกิจกรมที่ 4 : สำนักงานคุมประพฤติ ประจำศาลแขวงพระโขนง มีส่วนร่วมในการส่งบุคลากรผู้บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะมาพัฒนาทำความสะอาดและกำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชในบึง เดือนละ 1 ครั้ง 4.ดำเนินการกิจกรรมที่ 5 : สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบบึงและสนับสนุนพันธุ์ไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบึง 5.ดำเนินการกิจกรรมที่ 6 : ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตบางนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ของบึงและพื้นที่โดยรอบบึง ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เขตบางนาและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่เขตบางนา 6.ดำเนินการกิจกรรมที่ 7 : โรงเรียนอรรถวิทย์ มีส่วนร่วมในการส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบึง เดือน 1 ครั้ง 7.ดำเนินการกิจกรรมที่ 11 : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางนามีส่วนร่วมในการจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในรัชกาลที่ 9 โดยแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ฯ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เลี้ยงสัตว์ เผาถ่าน ทำปุ๋ยจากใบไม้แห้ง ฯลฯ
ไตรมาสที่ 3 : ดำเนินการตามโครงการดังนี้ ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน 2563 เป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด – 19 อย่างรวดเร็ว รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในระยะต่อมา เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 และป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จึงไม่สามารถดำเนินกิจกรรมที่ 3, 4, 7 และ 11 ตามแผนที่กำหนดไว้ได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ทุกภาคส่วน รวมไปถึงบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้บางจากไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ 8 ตามแผนที่กำหนดไว้ได้
-ไตรมาสที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงการฯ ตามตัวชี้วัดความสำเร็จมีดังนี้ 1.บึงรับน้ำและพื้นที่โดยรอบบึงทั้งหมด 11 ไร่ ไม่มีขยะมูลฝอยและวัชพืช -ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 -ผลการดำเนินงาน ร้อยละ 100 (ปราศจากขยะและวัชพืช) 2.คุณภาพน้ำในบึงรับน้ำดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ -ค่าเป้าหมาย ค่า DO ไม่น้อยกว่าก่อนดำเนินการ และ ค่า BOD ไม่มากกว่าก่อนดำเนินการ -ผลการดำเนินงาน ตรวจคุณภาพน้ำ 4 ครั้ง ค่า DO มีค่าไม่น้อยกว่าก่อนดำเนินการ (ผ่าน), ค่า BOD มีค่ามากกว่า ก่อนดำเนินการ (ไม่ผ่าน) 3.ร้อยละเความสำเร็จของการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามแผนที่กำหนด -ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 -ผลการดำเนินงาน ร้อยละ 100 (พื้นที่ดำเนินการโครงการ 11 ไร่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ 11 ไร่) 4.จำนวนแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตบางนาเพิ่มขึ้น 1 แห่ง -ค่าเป้าหมาย 1 แห่ง -ผลการดำเนินงาน 1 แห่ง 5.จำนวนจุด Check-in 2 จุด 5.1 จุด Check-in เชิงอัตลักษณ์ของบึงรับน้ำหลังสำนักงานเขตบางนา (ประวัติความเป็นของบึง) จำนวน 1 จุด 5.2 จุด Check-in สวนเกษตรในพื้นที่สำนักงานเขตบางนา จำนวน 1 จุด -ค่าเป้าหมาย 2 จุด -ผลการดำเนินงาน 2 จุด 6.จำนวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้ามาศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 -ค่าเป้าหมาย 500 คน/ปี -ผลการดำเนินงาน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 526 คน 7.จำนวนกิจกรรมที่เกิดจากการออกแบบและร่วมดำเนินการไม่น้อยกว่า 10 กิจกรรม/ปี -ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 (จำนวน 10 กิจกรรม) -ผลการดำเนินงาน ร้อยละ 100 (จำนวน 15 กิจกรรม) ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทำความสะอาด กิจกรรมที่ 2 เพิ่มพื้นที่สีเขียว กิจกรรมที่ 3 ซ่อมประตูระบายน้ำ กิจกรรมที่ 4 ขุดลอกบึง กิจกรรมที่ 5 ติดตั้งเครื่องออกกำลังกาย กิจกรรมที่ 6 ติดตั้งไฟฟ้า กิจกรรมที่ 7 จัดเก็บขยะในบึง กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมดูงานแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมที่ 9 ปลูกข้าวดำนา กิจกรรมที่ 10 การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมที่ 11 ตรวจสอบคุณภาพน้ำ กิจกรรมที่ 12 จัดทำจุด Check-in 2 จุด กิจกรรมที่ 13 ตกแต่งสถานที่รอบบึง กิจกรรมที่ 14 การไฟฟ้าฯ อบรมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า กิจกรรมที่ 15 การจัดงานลอยกระทง
1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุด หมายถึง โครงการที่หน่วยงานคิดค้น/พัฒนา/ปรับปรุงระบบการให้บริการตามภารกิจ/อํานาจหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน/ผู้รับบริการ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 2. การดําเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้การบริการเกิดความคล่องตัวและประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ หน่วยงานต้องดําเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างน้อย 1 โครงการ โดยพิจารณาจากสภาพปัญหา/ความต้องการของผู้รับบริการ 3. ผู้รับบริการ หมายถึง ประชาชนผู้มารับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือบุคลากรหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานครที่ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
วิธีการคำนวณ : 2 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ผลคะแนนการดําเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด สูตร --> ผลคะแนนการดําเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด = ผลรวมของผลการดําเนินการตามตัวชี้วัด ÷ จํานวนตัวชี้วัดทั้งหมด 2. ผลการดําเนินการตามตัวชี้วัด สูตร --> ผลการดําเนินการตามตัวชี้วัด = (ผลงานที่ทําได้จริง x 100) ÷ เป้าหมายของตัวชี้วัด
รายงานผลการดำเนินโครงการพร้อมภาพถ่าย
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
:๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ% |
:๗.๒.๑.๑ พัฒนาระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าตามแผนพัฒนา |