รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

7. พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น : 5048-0792

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 104.15

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
104.15
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

มีการดำเนินงานและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขต ดังนี้ 1. กิจกรรมรายงานพื้นที่สีเขียว 1.1 พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม เป้าหมาย 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิย., ก.ย.) - ผลงานที่ทำได้ 1 ครั้ง(ธ.ค.) รวม 3 แห่ง ดังนี้ 1) สวนหย่อมหน้าหมู่บ้านศุภลัย สาย 3 จำนวนพื้นที่ 4-2-0 ไร่ 2) สวนหย่อมในวัดโกมุท จำนวนพื้นที่ 0-1-0 ไร่ 3) สวนหย่อมในร้านแสงตะวันฟาร์ม เมล่อน สาย 4 จำนวนพื้นที่ 1-1-0 ไร่ 1.2 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ เป้าหมาย 3 แห่ง/ไตรมาส - ผลงานที่ทำได้ 3 แห่ง (รวม 3 แห่ง)/ไตรมาส โดยมีการสำรวจและนำเข้าข้อมูลฯ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) ที่ว่างตรงข้ามพุทธมณฑลสาย 3 ซอย 19 แยก 24 จำนวนพื้นที่ 5-0-49.57 ไร่ 2) ที่ว่างติดคลองบางตาลถนนพุทธมณฑลสาย 2 จำนวนพื้นที่ 5-0-67.06 ไร่ 3) ที่ว่างติดสะพานข้ามคลองบางพรมฝั่งตรงข้ามวัดโกมุท จำนวนพื้นที่ 8-1-92.53 ไร่ 2. พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายร้อยละ 100 - ผลงานที่ทำได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 25 ดังนี้ 1) สวนหย่อมหน้าหมู่บ้านศุภลัย สาย 3 จำนวนพื้นที่ 4-2-0 ไร่ 2) สวนหย่อมในวัดโกมุท จำนวนพื้นที่ 0-1-0 ไร่ 3) สวนหย่อมในร้านแสงตะวันฟาร์ม เมล่อน สาย 4 จำนวนพื้นที่ 1-1-0 ไร่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

มีการดำเนินงานและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขต ดังนี้ 1. กิจกรรมรายงานพื้นที่สีเขียว 1.1 พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม เป้าหมาย 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิย., ก.ย.) - ผลงานที่ทำได้ 2 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค.) เดือน มี.ค.รวม 3 แห่ง ดังนี้ 1) สวนหย่อมกูร์เมต์มาร์เก็ต สาขาดีไซต์ วิลล่าพุทธมณธฑล ถนนบรมราชชนนี จำนวนพื้นที่ 0-1-32.18 ไร่ 2) สวนหย่อมวิลลี่เพลส์ ถนนพุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-0-58.78 ไร่ 3) สวนหย่อมเรือนแม่หลุย ถนนสวนผักพุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-2-14.18 ไร่ - โครงการบำรุงรักษาปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนเงิน 2,100,000.-บาท ดำเนินการส่งมอบไม้ดอก ไม้ประดับ ตามสัญญาซื้อขาย และอยู่ระหว่างดำเนินการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับฯ (ต้นบานบุรี ต้นเฟื่องฟ้า ต้นเฟื่องฟ้าด่าง) เพื่อปรับปรุงพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงภูมิทัศน์ตามเป้าหมายที่กำหนด เบิกจ่ายงบประมาณ เรียบร้อยแล้ว 1.2 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ เป้าหมาย 3 แห่ง/ไตรมาส ผลงานที่ทำได้ 6 แห่ง (รวม 3 แห่ง/ไตรมาส) ไตรมาสที่ 2 มีการสำรวจและนำเข้าข้อมูลฯ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) ที่ว่างตรงข้ามถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก 14/1 จำนวนพื้นที่ 28-0-20.23 ไร่ และอยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่สีเขียว 2) ที่ว่างถนนพุทธมณฑลสาย 2 ซอย 31 จำนวนพื้นที่ 8-3-7.79 ไร่ และอยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่สีเขียว 3) ที่ว่างริมคลองขุด ข้าง ๆ หมู่บ้านลัดดาวัลย์ ซอยบรมราชชนนี จำนวนพื้นที่ 1-2-35.20 ไร่ 2. พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายร้อยละ 100 - ผลงานที่ทำได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 50 ดังนี้ 1) สวนหย่อมกูร์เมต์มาร์เก็ต สาขาดีไซต์ วิลล่าพุทธมณธฑล ถนนบรมราชชนนี จำนวนพื้นที่ 0-1-32.18 ไร่ 2) สวนหย่อมวิลลี่เพลส์ ถนนพุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-0-58.78 ไร่ 3) สวนหย่อมเรือนแม่หลุย ถนนสวนผักพุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-2-14.18 ไร่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

มีการดำเนินงานและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขต ดังนี้ 1. กิจกรรมรายงานพื้นที่สีเขียว 1.1 พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม เป้าหมาย 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิย., ก.ย.) - ผลงานที่ทำได้ 3 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิ.ย.) ไตรมาสที่ 3 จำนวน 1 ครั้ง (มิ.ย.) จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) สวนหย่อมร้านกาแฟ วัลลิเพส พุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-0-40.26 ไร่ 2) สวนหย่อมร้านวราภรณ์ ซาลาเปา จำนวนพื้นที่ 0-1-33.70 ไร่ 3) สวนหย่อมหมู่บ้าน The Palazzo ปิ่นเกล้า จำนวนพื้นที่ 0-0-61.05 ไร่ -โครงการบำรุงรักษาปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนเงิน 2,100,000.- บาท ดำเนินการส่งมอบไม้ดอก ไม้ประดับ ตามสัญญาซื้อขาย และอยู่ระหว่างดำเนินการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ฯ (ต้นบานบุรี ต้นเฟื่องฟ้า ต้นเฟื่องฟ้าด่าง) เพื่อปรับปรุงพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงภูมิทัศน์ตามเป้าหมายที่กำหนดและดำเนินการเบิกจ่ายเงินโครงการบำรุงรักษาปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายในวงเงิน 2,100,000.- บาท เรียบร้อยแล้ว 1.2 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ เป้าหมาย 3 แห่ง/ไตรมาส ผลงานที่ทำได้ 9 แห่ง (รวม 3 แห่ง/ไตรมาส) ไตรมาสที่ 3 มีการสำรวจและนำเข้าข้อมูลฯ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) ที่ว่างฝั่งตรงข้ามแยกไฟแดง ถนนอุทยานพุทธมณฑลสาย 3 จำนวนพื้นที่ 15-0-98.22 ไร่ 2) ที่ว่างฝั่งตรงข้าม อุทยาน ซอย 1 จำนวนพื้นที่ 4-2-25.41 ไร่ 3) ที่ว่างข้างบรมราชชนนี ซอยบรม 119 จำนวนพื้นที่ 4-3-45.24 ไร่ 2. พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายร้อยละ 100 - ผลงานที่ทำได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 75 ดังนี้ 1) สวนหย่อมร้านกาแฟ วัลลิเพส พุทธมณฑล สาย 2 จำนวนพื้นที่ 0-0-40.26 ไร่ 2) สวนหย่อมร้านวราภรณ์ ซาลาเปา จำนวนพื้นที่ 0-1-33.70 ไร่ 3) สวนหย่อมหมู่บ้าน The Palazzo ปิ่นเกล้า จำนวนพื้นที่ 0-0-61.05 ไร่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

มีการดำเนินงานและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขต ดังนี้ 1. กิจกรรมรายงานพื้นที่สีเขียว 1.1 พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม เป้าหมาย 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิย., ก.ย.) - ผลงานที่ทำได้ 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค., มี.ค., มิย., ก.ย.) ไตรมาสที่ 4 จำนวน 1 ครั้ง(ก.ย.) จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) สวนหย่อมถนนอุทยาน จำนวนพื้นที่ 60-0-17.00 ไร่ 2) สวนหย่อมถนนพุทธมณฑล สาย 3 ตั้งแต่ถนนอุทยานถึงคลองบางเชือกหนัง จำนวนพื้นที่ 11-0-81.00 ไร่ 3) สวนหย่อมเดอะกรีนเรสซิเด้นซ์ ติดคลองทวีวัฒนาถนนบรมราชชนนี จำนวนพื้นที่ 1-3-45.25 ไร่ - โครงการบำรุงรักษา ปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ดำเนินการจัดซื้อต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ด้วยวิธีประกวดราคาอีเล็คทรอนิกส์ (ebidding) มีการดำเนินงานปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ในบริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 ดังนี้ เกาะกลางถนนพุทธมณฑลสาย 3, ทางเท้าถนนทวีวัฒนา และทางเท้าถนนพุทธมณฑล สาย 3 ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของโครงการจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 หมวดรายจ่ายอื่น แผนงานพัฒนาสภาวะสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตามเป้าหมายตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 1.2 พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ เป้าหมาย 3 แห่ง/ไตรมาส ผลงานที่ทำได้ 12 แห่ง (รวม 3 แห่ง/ไตรมาส) ไตรมาสที่ 3 มีการสำรวจและนำเข้าข้อมูลฯ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ 1) ที่ว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ซอย 17 ติดกับหมู่บ้านลดาวัลย์ ซอย 11 จำนวนพื้นที่ 2-1-68.67 ไร่ 2) ที่ว่างฝั่งตรงข้ามหมู่บ้านเขมรัฐ พื้นที่ จำนวน 7-3-29.30 ไร่ 3) ที่ว่างข้างศูนย์รวมรถยนต์ศรีชาภัณฑ์ จำนวนพื้นที่ 6-0-75.24 ไร่ 2. พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายร้อยละ 100 - ผลงานที่ทำได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 104.15 ดังนี้ 1) สวนหย่อมถนนอุทยาน จำนวนพื้นที่ 60-0-17.00 ไร่ 2) สวนหย่อมถนนพุทธมณฑล สาย 3 ตั้งแต่ถนนอุทยานถึงคลองบางเชือกหนัง จำนวนพื้นที่ 11-0-81.00 ไร่ 3) สวนหย่อมเดอะกรีนเรสซิเด้นซ์ ติดคลองทวีวัฒนาถนนบรมราชชนนี จำนวนพื้นที่ 1-3-45.25 ไร่

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม : - พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภท แยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจรวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี • กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ สีเขียวในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนกำหนดแทน - รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน 1.1 ความหมาย คือพื้นที่ใดๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof) ฯลฯสวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้าและสวนแนวดิ่ง นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมิน ผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 1.2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ ปกคลุมขนาดตั้งแต่ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ต.ร.ม.ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 1.2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 1.2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) 1.2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง 1.2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้น เป็นพื้นที่ 1 ไร่ 1.2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะต่อเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่ม คูณความยาวของระยะทางที่ปลูก 1.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำนักงานเขตรับผิดชอบและดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 1.3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 1.3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 1.3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 1.4 สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ รายงานเข้าสู่ระบบฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 1.4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 1.4.3 อื่นๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวน 2.1 ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 จำนวน 9 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 สนามกีฬากลางแจ้ง หมายถึง สนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม.ขึ้นไป 2.1.2 สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง 2.1.3 แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ หนองน้ำ บึง ซึ่งมีน้ำท่วมขังนานกว่า 6 เดือนต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม. ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.4 ที่ลุ่ม หมายถึง ที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่น กกที่มีขนาดมากกว่า 500 ตร.ม. ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.5 ที่ว่าง หมายถึง ที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า 1 ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ตร.ม. 2.1.6 พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึง พื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ 2.1.7 พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึง พื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า 2.1.8 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง พื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 2.1.9 พื้นที่อื่นๆ หมายถึง พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

การวัดผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัด : 1. สำรวจ รวบรวม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบตามรายละเอียดที่กำหนด 2. นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดฯ วิธีคำนวณ : 1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะคิดคะแนนประเภทละ 100% รวม 200% 2. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ 1 ให้เหลือร้อยละ 100 3. นำผลที่ได้จากข้อ 2 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วนคือ 1) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่าย 4. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละสำนักงานเขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ%
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง