ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 40
นายสาธิต อินจำปา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
กรุงเทพมหานครได้มีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยมีระยะทางประมาณ 23.5 กิโลเมตร และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานการก่อสร้างและการเดินรถกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการขยายการให้บริการในส่วนต่อขยาย โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาและว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เพื่อดำเนินงานบริหารจัดการและบำรุงรักษา ซึ่งทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทางที่ให้บริการ ประมาณ 36.25 กิโลเมตร เพิ่มพื้นที่การให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ครอบคลุม และสร้างความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง แบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วง หมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต เพื่อขยายการให้บริการให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานและบำรุงรักษาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีประสิทธิภาพในการจัดการและความต่อเนื่องของสายทาง คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) จึงมีมติเมื่อการประชุม ครั้งที่1/2558 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ดังนี้ 1) เห็นชอบในหลักการที่ให้ กทม. เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการดังนี้ (1) เจรจากับ กทม. ในส่วนการบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง แบริ่ง – สมุทรปราการภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ภายในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 รวมถึงการเจรจาเงื่อนไขด้านการเงินระหว่างกระทรวงคมนาคมกับ กทม. และนำเสนอ คจร. ต่อไป (2) เจรจาร่วมกับกระทรวงการคลัง กทม. และ รฟม. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเงิน จากการประเมินข้อมูลเบื้องต้น ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 กทม. มีภาระในการชำระค่าก่อสร้างงานโยธาวงเงินรวม 44,429 ล้านบาท ให้กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และค่าจัดกรรมสิทธิ์ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเงินกู้ของค่าก่อสร้างงานโยธาวงเงิน 7,356.๓7 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและระบบการเดินรถ (E&M) (โดยไม่รวมค่ารถไฟฟ้า) จำนวนทั้งหมด 22,373 ล้านบาท และดอกเบี้ย อีก 10 ปี ปีละ 1,000 ล้านบาท รวมเป็นภาระหนี้สินทั้งหมดประมาณ 84,158.37 ล้านบาท ซึ่ง กทม. จะทยอยชำระ คืนส่วนของเงินต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2573 จนถึง พ.ศ. 2585 และชำระค่าดอกเบี้ยของค่าก่อสร้างงานโยธา และดอกเบี้ยค่า งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องจักรกลและระบบการเดินรถในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2562 - 2572 ซึ่งจากการคาดการณ์งบประมาณและรายได้ของ กทม. ในระหว่าง พ.ศ. 2562 - 2572ทาง กทม. จะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยดังกล่าว รวมถึงค่าจ้างบริหารจัดการและบำรุงรักษาตามสัญญาว่าจ้าง เนื่องจากรายได้หลักของรถไฟฟ้าสายสีเขียวสายสีลมและสายสุขุมวิท เป็นของเอกชนทั้งหมดตามสัญญาสัมปทาน และรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ เนื่องด้วยเหตุผล ดังนี้ • ข้อจำกัดด้านการเงินของ กทม. • แนวทางในการใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารตารางเดียวเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจาก กทม. • พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการและการให้บริการของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 3 แนวเส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางหลักตามสัญญาสัมปทานเดิม เส้นทางส่วนต่อขยาย 1 ที่กรุงเทพมหานครจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารจัดการเดินรถ และเส้นทางส่วนต่อขยาย 2 ที่รัฐบาลมอบให้กรุงเทพมหานครเดินรถ เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการและการให้บริการ ดังนั้น เพื่อหาแนวทางการดำเนินโครงการฯ ให้ กทม. สามารถหาแหล่งเงินมาดำเนินโครงการฯ และดำเนินโครงการฯ ตามนโยบายของภาครัฐ ทาง กทม. ได้จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการให้ เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ พ.ศ. 2556) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 และขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจกรรมของรัฐ กทม. จึงมีความจำเป็นในการว่าจ้างที่ปรึกษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อประกอบการขออนุมัติการให้เอกชนร่วมลงทุน ต่อไป
17040900/17040900
1. เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ พ.ศ. 2556 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามในขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด” 2. กรุงเทพมหานครจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้เอกชนร่วมลงทุนอย่างถูกต้อง 3. กรุงเทพมหานครจะมีแนวทางการบริหารดำเนินงานและกำกับสัญญาได้อย่างชัดเจน
กรุงเทพมหานครสามารถได้ที่ปรึกษา เพื่อจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตาม พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุน พ.ศ.2556 ดังต่อไปนี้ 1. ทำประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน ขอบเขตของโครงการ และสัญญาร่วมลงทุนรวมถึงการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารอื่นที่จำเป็นสำหรับการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ให้ความเห็นชอบ 2. เพื่อประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน 3. เพื่อให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ในการเจรจาต่อรองกับผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกรวมถึงการประเมินความเสี่ยงและเสนอแนะแนวทางบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน 4. เพื่อจัดทำรายงานประเมินข้อเสนอ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกรุงเทพมหานครลงนามสัญญาร่วมทุน
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2019-09-27)
27/9/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 38.00 (2019-08-22)
22/8/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2019-07-11)
11/7/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 33.00 (2019-06-12)
12/6/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2019-05-22)
22/5/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-04-30)
30/4/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-03-14)
14/3/2562 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-02-28)
28/2/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 18. การบูรณาการข้อมูลเชิงแผนที่ของโครงการด้านการจราจร เพื่อสนับสนุนการพัฒนา Smart City ของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **