ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯเมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย : 50060000-3469

สำนักงานเขตยานนาวา : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวจุฑาทิพย์ วงศ์ชื่นสุนทร / โทร. 022942397 / 6720

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2 100

หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึง การสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุล ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ มุ่งเน้นการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานครมีความพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานรองรับ คือ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขต เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 135 ประเภท รวม 41,772 แห่ง อาคารที่พักอาศัยและอาคารสาธารณะ รวม 2,630,651 หลังคาเรือน (ปี 2557) และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่7) พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 - 2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 - 2565) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากรสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในด้านที่ 7 การบริหารจัดการ เมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งปรากฏในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักอนามัย ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สำนักงานเขตยานนาวาจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯเมืองแห่งสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่ เขตยานนาวา การจัดการและควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ

50060400/50060400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ และการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 2.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วม ขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป 3.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป

เป้าหมายของโครงการ

1.สนับสนุนการปฏิบัติงานหรือการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตยานนาวา ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง 2.แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญและการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการปฏิบัติงานปกติ 3.เพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป ให้ทราบและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.ส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกรณีจำเป็น เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-23)

100.00

23/09/2563 : เป็นเงินทั้งสิ้น 165,075.- บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) ปรับลดคงเหลือ 134,925.- บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน) 1. ตรวจสอบและติดตามเรื่องร้องเรียน เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 จำนวน 1 ครั้ง และตรวจสอบควบคุมสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ เพื่อป้องกันโควิด-19 วันที่ 8 -9 กันยายน 2563 จำนวน 2 ครั้งงบประมาณ 7,200.- บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย 2. ดำเนินการตรวจแนะนำประสัมพันธ์การบังคับใช้กฎหมายพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และติดตามตรวจสอบสถานประกอบการ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตั้งแต่วันที่ 1 - 9 กันยายน 2563 จำนวน 5 ครั้ง งบประมาณ จำนวน 7,125.- บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย 3. งบประมาณเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 14,325.- บาท (วันที่ 1-31 สิงหาคม 2563)

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-08-28)

90.00

28/08/2563 : 1. ตรวจสอบและติดตามเรื่องร้องเรียน เมื่อวันที่ 13 , 14 , 19 สิงหาคม 2563 จำนวน 3 ครั้ง (งบประมาณ 7,200.- บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย) 2. เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ของเดือนกรกฎาคม 2563 แล้ว จำนวน 9,100 บาท 3. ดำเนินการตรวจแนะนำประสัมพันธ์การบังคับใช้กฎหมายพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และติดตามตรวจสอบสถานประกอบการ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตั้งแต่วันที่ 24-31 สิงหาคม 2563 จำนวน 6 ครั้ง (งบประมาณ จำนวน 8,550.- บาท อยู่ระหว่างเบิกจ่าย)

** ปัญหาของโครงการ :สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการถูกปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-07-31)

70.00

31/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...

** ปัญหาของโครงการ :สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการถูกปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2020-06-29)

65.00

29/06/2563 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานครและสถานที่ที่ได้รับการผ่อนปรน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตั้งแต่วันที่ 1 - 24 มิถุนายน 2563 จำนวน 8 ครั้ง 2. งบประมาณเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 50,400.- บาท (วันที่ 1 - 30 เมษายน 2563)

** ปัญหาของโครงการ :สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการถูกปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-05-28)

60.00

28/05/2563 : การดำเนินการ ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานครและสถานที่ที่ได้รับการผ่อนปรน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตั้งแต่วันที่ 1 - 24 พฤษภาคม 2563 จำนวน 15 ครั้ง งบประมาณ ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ วันที่ 1 - 30 เมษายน 2563 (อยู่ระหว่างเบิกจ่าย จำนวน 50,400.- บาท)

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการถูกปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน ข้อเสนอแนะ -ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-04-26)

50.00

26/04/2563 : 1. ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตั้งแต่วันที่ 1 - 24 เมษายน 2563 จำนวน 17 ครั้ง (อยู่ระหว่างการเบิกจ่าย)

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค - สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการถูกปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2020-03-24)

45.00

1. ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 20 และ 23 มีนาคม 2563 2. ตรวจเรื่องร้องเรียน จำนวน 1 ครั้ง ในวันที่ 6 มีนาคม 2563 3. อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่าย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2020-02-24)

35.00

1. เสนอขออนุมัติโครงการฯ 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1 ครั้ง สถานบริการ 4 แห่ง ตรวจเรื่องร้องเรียนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1 ครั้ง งบประมาณที่ใช้ จำนวน 2,400 (ยังไม่เบิกจ่าย 4,800.- บาท )

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค สถานบริการย้ายสถานที่ประกอบกิจการ 1 แห่ง ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน ข้อเสนอแนะ -ไม่มี-

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-01-24)

30.00

1. เสนอขออนุมัติโครงการฯ 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 จำนวน 1 ครั้ง สถานบริการ 2 แห่ง ตรวจเรื่องร้องเรียนวันที่ 24 ธันวาคม 2562 จำนวน 1 ครั้ง

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค สถานบริการปิดปรับปรุงสถานที่ 1 แห่ง ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-12-26)

20.00

26/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. เสนอขออนุมัติโครงการฯ 2. ดำเนินการตรวจสอบสถานบริการในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 จำนวน 1 ครั้ง สถานบริการ 5 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-12-25)

20.00

25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. เดือนพฤศจิกายน 2562 สถานประกอบการด้านอาหาร จำนวน 685 ราย ได้รับป้ายรับรอง 659 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.20 1.1 ขอรับป้ายรับรองฯ รายใหม่ จำนวน 3 ราย 1.2 ขอต่ออายุป้ายรับรองฯ จำนวน 148 ราย 2. การปฏิบัติงานตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการด้านอาหาร จำนวน 171 ราย 3. การตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 292 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 290 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 99.32) พบการปนเปื้อน 2 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 0.68) 4. การตรวจหาจุลินทรีย์ จำนวน 392 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน 376 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 95.92) พบการปนเปื้อน 16 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 4.08) 5. เดือนพฤศจิกายน 2562 จัดทดสอบประเมินความรู้การสุขาภิบาลอาหาร ที่สำนักงานเขตยานนาวา มีผู้เข้ารับการอบรม/ทดสอบ จำนวน 3 คน 6. วันที่ 2-4 ธันวาคม 2562 ปฏิบัติงานตรวจสุขลักษณะและคุณภาพอาหารสถานที่สะสมอาหาร ประเภท ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 7 แห่ง 7. วันที่ 2-12 ธันวาคม 2562 ปฏิบัติงานตรวจสุขลักษณะและคุณภาพอาหารสถานที่จำหน่ายอาหาร ระหว่างเวลา 17.00-21.00 น. จำนวน 46 แห่ง 8. ได้การจัดประชุมและให้ความรู้การสุขาภิบาลอาหารแก่อาสาสมัครอาหารปลอดภัยในโรงเรียน พื้นที่ เขตยานนาวา จำนวน 110 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร ตามหลักสูตร ของกรุงเทพมหานครและการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น รวมทั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังด้านอาหารปลอดภัย โดยได้จัดประชุม ฯ ในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 9. อยู่ระหว่างเตรียมจัดประชุมให้ความรู้การสุขาภิบาลตลาดแก่ผู้ประกอบการและผู้ค้าในตลาด พื้นที่เขต ยานนาวา จำนวน 160 คน ในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม ๒๕63 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค 1. ผู้สัมผัสอาหารยังไม่ได้รับการอบรมทุกคน เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้สัมผัสอาหารบ่อย 2. กลุ่มแรงงานต่างด้าวไม่ได้ทดสอบประเมินความรู้การสุขาภิบาลอาหาร 3. ผู้ประกอบการด้านอาหารมีการลักลอบทิ้งขยะไขมันลงในท่อระบายน้ำสาธารณะ ข้อเสนอแนะ 1. แจ้งสถานที่รับจัดอบรม/ทดสอบประเมินความรู้การสุขาภิบาลอาหารให้ผู้ประกอบการทราบ 2. ตรวจสอบการติดตั้งถังดักไขมันและเฝ้าระวังการล้างภาชนะ โดยให้น้ำเสียผ่านถังดักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการ 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการด้านอาหารขนาดใหญ่ มีระบบในการจัดการขยะไขมันและเศษอาหารที่เป็นรูปธรรม เช่น แยกนำไปกำจัด เป็นอาหารสัตว์

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-11-25)

5.00

25/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการตรวจสอบสนถานบริการจำนวน 1 ครั้ง สถานบริการ 5 แห่ง วันที่ 7 พ.ย.62

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-25)

5.00

25/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...เขียนโครงการและเสนออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอแนะ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอแนะ

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:จัดทำโครงการและเสนอโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ตรวจสอบเหตุเดือดร้อนรำคาญ / เหตุการณ์ฉุกเฉิน เร่งด่วน/ ควบคุมโรค
:40.00%
เริ่มต้น :2019-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ตรวจสอบสถานประกอบการสถานบันเทิง สถานบริการ และสถานประกอบการ / ตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ และตามนโยบายผู้บริหาร
:25.00%
เริ่มต้น :2019-12-15 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-15 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ประชาสัมพันธ์และดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
:30.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50060000-3469

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50060000-3469

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5006-0947

ตัวชี้วัด : ร้อยละสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเหมาะสม

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

100 / 100
2
45.00

100 / 100
3
50.00

100 / 100
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **