ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวอารีย์ มณีโสภา นางสาววีรยา วังสาร 02 513 9947
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดทิศทางตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 - 2565) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย เป้าหมายที่ 1.6.5 ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สอดคล้องกับแผนพัฒนาสำนักอนามัย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรณรงค์ สร้างความรู้ ความตระหนักในประเด็นเชิงสุขภาพสำคัญ ตามสถานการณ์และบริบทมหานครให้กับประชาชนในวงกว้าง พร้อมยกเป็นประเด็นสุขภาพระดับมหานคร กรุงเทพมหานครจึงได้มีการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อควบคุม และกำหนดหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะพื้นฐาน สำหรับผู้ค้าอาหาร กำหนดมาตรการในการตรวจสอบ แนะนำ การกำหนดหลักสูตรอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหาร ตลอดจนการมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานครให้กับผู้ค้าที่ผ่านเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังพบว่าผู้ประกอบการบางรายยังไม่ทราบกฎหมายและเล็งเห็นความสำคัญของ การพัฒนาปรับปรุงด้านสุขาภิบาลอาหาร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในเรื่องอาหารปลอดภัยภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย บรรลุวัตถุประสงค์และดำเนินการไปสู่เป้าหมายเขตอาหารปลอดภัย สำนักงานเขตจตุจักร จึงถือเป็นนโยบายที่สำคัญที่จะคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์ให้กับประชาชนกรุงเทพมหานคร มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของอาหารที่รับประทาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคโดยดำเนินการตามภารกิจ 4 ประการ ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีในอาหารและน้ำ การจัดอบรมผู้ประกอบปรุง ผู้สัมผัสอาหาร และอาสาสมัครอาหารปลอดภัยการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในเรื่องอาหารปลอดภัยภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย บรรลุวัตถุประสงค์ ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย เขตอาหารปลอดภัย สำนักงานเขตจตุจักรจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน
50260400/50260400
1.เพื่อให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สามารถรับป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดจิตสำนึกในการประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 3.เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และมีความรู้ ความเข้าใจ มีทางเลือกในการซื้ออาหารที่ปลอดภัยบริโภค 4.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน เช่น ภาคเอกชน หน่วยงาน/สถาบันต่างๆ ในการดำเนินการตามโครงการฯ ในรูปแบบและโอกาสต่าง ๆ
สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จนสามารถได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยร้อยละ 100 ซึ่งมีข้อมูลสถานประกอบการ ดังนี้ 1.ร้านอาหาร จำนวน 815 แห่ง 2.ตลาด จำนวน 6 แห่ง 3.ซูเปอร์มาเก็ต จำนวน 7 แห่ง 4.มินิมาร์ท จำนวน 170 แห่ง รวมจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 998 แห่ง (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2562)
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-28)
28/09/2563 : ดำเนินการครบถ้วนตามกลุ่มเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :สถานการณ์โรคโควิด 19 ทำให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหาร เลิกกิจการ
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-08-31)
31/08/2563 : รายงานผลการดำเนินการถึงสำนักอนามัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-07-30)
30/07/2563 : จัดกิจกรรมการสอบสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหาร ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นมราเขตจตุจักร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่สามารถจัดกิจกรรมอบรมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
** อุปสรรคของโครงการ :ดำเนินการจัดการอบรมโดยปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคของส่วนราชการ
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-06-30)
30/06/2563 : ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารในตลาด และร้านจำหน่ายอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และดำเนินการสอบสุขาภิบาลอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่สามารถดำเนินการเนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารบางแห่งเลิกกิจการ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-05-31)
31/05/2563 : ดำเนินการตรวจสอบสุขาภิบาลตลาด รวมถึงแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ตลาดในพื้นที่เขตจตุจักร
** ปัญหาของโครงการ :ปรับปรุงรูปแบบการตรวจสุขาภิบาลอาหารควบคู่ไปกับการตรวจแนะนำมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ในตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-04-30)
30/04/2563 : ตรวจสุขาภิบาลตลาด การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล และการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่สามารถจัดอบรมสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารได้ และสถานที่จำหน่ายอาหารบางแห่งปิด เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 โควิด 19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-03-31)
31/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจสุขาภิบาลอาหารในตลาด และศูนย์อาหารในพื้นที่เขตจตุจักร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-03-08)
8/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...สุ่มตรวจตัวอย่างอาหารในตลาดสด และศูนย์อาหาร ตรวจสุขลักษณะในตลาด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-01-31)
31/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลอาหารในศูนย์การค้า
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-12-27)
27/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2019-11-30)
30/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจตามแผนการสุขาภิบาลอาหารตามกลุ่มเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-31)
31/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ขออนุมัติโครงและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 4.ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 95
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.85
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **