ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวชุิตมา พงศ์ด่านเพชร 6066
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้นก็ตาม ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหารเป็นแหล่งการกระจายสินค้า แหล่งวัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งมีอยู่หลากหลายช่องทาง การผลิตวัตถุดิบอาหารซึ่งคือต้นน้ำของอาหารเป็นขั้นตอนการผลิตที่อยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้แหล่งจำหน่ายอาหารซึ่งก็คือปลายทางของอาหารก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ยังคงพบความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆในวัตถุดิบอาหาร จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ ๒๕59 โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร ตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นด้านเคมีและจุลินทรีย์ จำนวนตัวอย่างทั้งหมด ๘,๓๙๖ ตัวอย่าง พบตกมาตรฐานจำนวน ๑,๑๖๗ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๙๐ (ตรวจวิเคราะห์ทางเคมี จำนวนทั้งหมด ๖,๖๗๖ ตัวอย่าง พบตกมาตรฐาน จำนวน ๗๐๓ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๕๓ และตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ จำนวนทั้งหมด ๑,๗๒๐ ตัวอย่าง พบตกมาตรฐาน จำนวน ๔๖๔ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๙๘ ) และจากรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารประจำปี ๒๕๕๘ ของกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งสรุปผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารในภาพรวมทั้งการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการตรวจโดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่าสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งสิ้น ๑๙๔,๑๘๖ รายการ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๑๘๙,๒๐๘ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๔ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๓,๙๗๘ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๒.๕๖ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตบางนา เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการตรวจสอบ ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณสุข รวมทั้งดูแลสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย เพื่อทำให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครปลอดภัย”ทำให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนมีความสุข ความปลอดภัยจากการรับประทานอาหารและได้รับบริการที่ดี สำนักงานเขตบางนา ได้เห็นความสำคัญด้านการสุขาภิบาลอาหาร จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อปรับปรุงยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหาในสถานประกอบการอาหารให้ได้มาตรฐาน อาหารไม่มีการปนเปื้อน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวรวมทั้งผู้เข้ามาพักอาศัย จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัย
50470400/50470400
1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหารพื้นที่เขตบางนา 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร พื้นที่เขตบางนา 3. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย 4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน หน่วยงานและสถาบันต่างๆในการดำเนินโครงการฯ ในรูปแบบและในโอกาสต่างๆ 5. เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างผู้ประกอบการกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
1. ร้อยละ 90 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษ 2. ร้อยละ 100 ของความสำเร็จ ในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนา ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-29)
ดำเนินการโครงการเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :มีการระบาดของโรคโควิด-19
** อุปสรรคของโครงการ :มีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับการป้องกันควบคุมโรค
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2020-08-27)
27/8/2563 : จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนาโดยตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และตรวจด้านคุณภาพอาหาร ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ร้านอาหารในโรงเรียน แผงลอยจำหน่ายอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-07-30)
30/7/2563 : ตรวจสอบด้านสุขลักษณะและด้านคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร เช่น แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารในโรงเรียน ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ในพื้นที่เขตบางนา
** ปัญหาของโครงการ : ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-06-26)
26/6/2563 : ดำเนินการตามแผนโดยจัดเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และด้านคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ได้แก่ ตลาดสด ร้านจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี เป็นต้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-05-27)
27/5/2563 : จัดเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานตรวจสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ได้แก่ ตลาดสด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี เป็นต้น โดยตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และด้านคุณภาพอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-04-29)
ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะสถานที่และด้านคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ได้แก่ ตลาดสด จำนวน 8 แห่ง แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจุดผ่อนผันในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 6 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-03-28)
28/3/2563 :ตรวจสถานประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขตบางนา ได้แก่ ภัตตาคารมังกรหลวง ร้านฮะจิบังราเมน ร้านแมคโดนัล ห้องอาหารซากุระ รานยาโยอิ ร้านซูกิชิ ร้านอากะ ร้านเฮโรคุซูชิ ร้านเดอะเทอเรส ร้านโอโตยะ ร้านไก่ทอด 66/1 ร้านแซว เป็นต้น โดยตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และตรวจด้านคุณภาพอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-02-25)
25/2/2563 : จัดเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการอาหารพื้นที่เขตบางนา โดยตรวจด้านกายภาพและด้านคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารได้แก่ ร้านลูกไก่ทอง ร้านคะสึยะ ร้านซูชิฮานะ ร้านอาหารฟูจิร้านสำราญเริงใจ ร้านบาร์บีคิวพลาซ่า ร้านซิซซ์เลอร์ แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีจุดปากซอยอุดมสุข จุดปากซอยสุขุมวิท 107 เป็นต้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-01-30)
30/1/2563 : 1. จัดเจ้าหน้าที่ออกปฺฏิบัติงานตามแผนฯ โดยตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และด้านคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารพื้นที่เขตบางนา เช่น ร้านยาโยอิ เดอะโคสท์ บริษัทฟลิ้น เรสเตอรองท์ จำกัด ร้านโซลกริลล์แอนด์วาวาชา ร้านสมบัติหมูกระทะ เป็นต้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-12-27)
1.ตรวจสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนาได้แก่ ร้านเรือโป๊ะ ร้านไก่ย่างเขาสวนกวาง สวนอาหารเบิกไพร ครัวต้นหอม ร้านเชฟโจว ร้านก๋วยเตี๋ยวนายอู๊ด เป็นต้น โดยตรวจด้านสุขลักษณะสถานที่และตรวจด้านคุณภาพอาหาร 2.ความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตบางนาปัจจุบันมีสถานประกอบการอาหารทั้งหมด 432 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 408 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.44
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-11-27)
27/11/2562 : ดำเนินการตรวจด้านกายภาพ สุขลักษณะ และคุณภาพอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่เขตบางนา เช่น ร้านเอสแอนด์พี ซอยโรงพยาบาลศิครินทร์ ร้านอเมซอน ลาซาล อเวนิว ร้านเศรษฐีสตรีทมาร์เก็ต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-24)
24/10/2562 : 1. สำรวจข้อมูลสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา 2. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 3. จัดทำแผนปฏิบัติงาน 4. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้เจ้าหน้าที่รับทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **