ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2560 | 6) โครงการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการปฏิบัติงาน และการบริหารงานนโยบายต่าง ๆ ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน กรุงเทพมหานครเป็นองค์กร หนึ่งที่เห็นความสำคัญ ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงานราชการ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) จำเป็นต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานด้านการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน และ การสร้างงานหรือสื่อนำเสนอมัลติมิเดียออนไลน์ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวทัน ต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานครในการปรับสมรรถนะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ของข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีศักยภาพสูงขึ้น สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครจึงเห็นสมควรจัดการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมข้าราชการของกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถ ในการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารและพัฒนามหานคร | 1. เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด 2. เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนโยบายรัฐบาลในการยกระดับงานบริการภาครัฐด้วยการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิตอล | ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – อาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนัก สำนักงานเขต และส่วนราชการ ในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น ๑6 รุ่น ๆ ละ ๒๕ คน รวมจำนวน 400 คน วิทยากร รุ่นละ 2 คน และเจ้าหน้าที่ รุ่นละ ๑ คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นละ ๒๘ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 448 คน | 1,386,000.00 | 607,949.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | 10. โครงการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการปฏิบัติงาน และการบริหารงานนโยบายต่าง ๆ ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรหนึ่งที่เห็นความสำคัญ ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงานราชการ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) จำเป็นต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานด้านการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน และ การสร้างงานหรือสื่อนำเสนอมัลติมิเดียออนไลน์ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวทัน ต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานครในการปรับสมรรถนะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ของข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีศักยภาพสูงขึ้น สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครจึงเห็นสมควรจัดการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมข้าราชการของกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถ ในการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารและพัฒนามหานคร | ๑. เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด ๒. เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนโยบายรัฐบาลในการยกระดับงานบริหารภาครัฐด้วยการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิตอล | ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – อาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนัก สำนักงานเขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น ๑๕ รุ่น ๆ ละ ๒๕ คน รวมจำนวน ๓๗๕ คน วิทยากร รุ่นละ ๒ คน และเจ้าหน้าที่ รุ่นละ ๑ คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นละ ๒๘ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๔๒๐ คน | 1,520,000.00 | 1,261,054.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที (กบพ) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลในฐานะหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรกรุงเทพมหานครด้านไอซีทีจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยประสานขอความร่วมมือจากศูนย์บริหารองค์การสากล (GEMC) มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดให้มี การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการยกระดับ มาตรฐานวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร กทม. ให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพขั้นสูงต่อไป | 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศ 2 เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านไอทีของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน 3 เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเป็นเกณฑ์ประเมิน Competencies ของบุคลากรสายงานไอที | จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีสมรรถนะ และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยมีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 60 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คนต่อรุ่น ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 4 คนต่อรุ่น และ 2) วิทยากร จำนวน 3 คนต่อรุ่น | 436,000.00 | 272,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2561 | โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้พัฒนาบุคลากรผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานได้อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ และสามารถวางแผนยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาภารกิจของหน่วยงาน สามารถบูรณาการและสร้างคุณค่าจากข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และสามารถสร้างเครือข่ายผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดในการบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาหน่วยงานให้ทันสมัย สามารถสร้างสรรค์การบริการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานของผู้บริหาร-สารสนเทศระดับสูง พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการดำเนินการของหน่วยงานข้างต้น จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการสัมมนาและศึกษาดูงานหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบการบริหาร-จัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานและการบริการประชาชน เพื่อให้เกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป | 1. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ตระหนักถึงความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหาร งานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อพัฒนากระบวนการ -ทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ร่วมกัน | ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนัก และสำนักงานเขต ผู้บริหารหน่วยงาน และข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 28 คน เข้ารับการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบไป - กลับ จำนวน 7 วัน และศึกษาดูงาน ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ แบบพักค้าง จำนวน 3 วัน 2 คืน รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 วัน | 484,500.00 | 484,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 195 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 150 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 150 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 30 คน (2) วิทยากร (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 3 คน) จำนวน 15 คน | 363,300.00 | 362,194.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 297,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
7 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงการบริหารงาน และการบริการประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในส่วนของสำนักและสำนักงานเขต ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศส่วนกลาง ตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) ได้แก่ ระบบงานจัดซื้อ จัดจ้าง บัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ การเงิน บัญชี บุคลากร เรื่องราวร้องทุกข์ เงินเดือน บริหารคลังวัสดุกลาง บริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในปัจจุบันระบบ MIS ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดระบบข้อมูลของหน่วยงาน นำไปสู่ การปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าวเกิดผลสำเร็จต่อเนื่อง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ติดตามผลการใช้ระบบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายและการใช้โปรแกรมระบบงานที่เป็นอุปสรรคปัญหาต่อการปฏิบัติงาน ให้เกิด ผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณดำเนินการปรับปรุงระบบงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ และกระบวนการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการจัดให้มี การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมระบบงานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครทั้งระดับสำนักและสำนักงานเขต สามารถใช้ระบบงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบต่อไป | เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบงาน MIS ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ประเภทผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา | 221,900.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
8 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเทคนิคการสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน (กบพ.) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการให้ความรู้แก่ข้าราชการของกรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่ตัวข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับกรุงเทพมหานครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้การทำงานของกรุงเทพมหานครในทุกหน่วยงานต้องพึ่งพาระบบคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งการปฏิบัติราชการมีการทำงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและขั้นตอน รวมทั้ง จำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารประกอบการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก เช่น เอกสารเสนอขออนุมัติงบประมาณ เอกสารที่ใช้ในการขอเสนอโครงการ เป็นต้น ทำให้การใช้งานโปรแกรมสำนักงานจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน จะทำให้การทำงานของข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ เนื่องจากเอกสารของทางราชการมีหลายประเภท หลายรูปแบบ การสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดและสร้างรูปแบบ (Template) ตามประเภทของเอกสารราชการ และจัดทำเป็นเมนูฝังเพิ่ม ไปในโปรแกรมสำนักงาน เพื่อการใช้งานที่ง่ายและมีความถูกต้อง เนื่องจากผู้ใช้งานคือข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครสามารถเลือกเอกสารได้ตามที่ต้องการจากเมนูการใช้งาน และนำไปแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงานของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำ Extension บนโปรแกรมสำนักงาน เพื่อนำไปใช้ในหน่วยงานได้ | ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 117 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 30 คน) จำนวน 90 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 3 รุ่น วันละ 6 คน) จำนวน 18 คน 2) วิทยากร (จำนวน 3 รุ่น วันละ 3 คน) จำนวน 9 คน | 433,000.00 | 252,002.70 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | หลักสูตรฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาความรู้เฉพาะทาง) | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบงานคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงาน และการบริหารงานนโยบายต่าง ๆ ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน องค์กรต่าง ๆ รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร จะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร และพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรทุก ๆ ด้าน ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยี บุคลากรที่ทำงานในสำนักงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันที่จะต้องชาญฉลาด รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยการวางแผนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับองค์กร การปรับกระบวนการทำงานให้เข้ากับยุคดิจิทัล การปรับและพัฒนาบุคลากรให้พร้อม ทั้งด้านทัศนคติสู่ยุคดิจิทัล ความรู้ดิจิทัล ทักษะดิจิทัล รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 กรุงเทพมหานครมองเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการระบบฐานข้อมูล และการสร้างงานหรือสื่อนำเสนอมัลติมิเดียออนไลน์ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขึ้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในการปรับสมรรถนะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ของข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหาร และพัฒนามหานคร | ๒.๑ เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด ๒.๒ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.๓ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนโยบายรัฐบาลในการยกระดับงานบริการภาครัฐด้วยการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ สังกัดสำนัก สำนักงานเขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสายงานคอมพิวเตอร์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 หลักสูตร แบ่งเป็น 17 รุ่น ๆ ละประมาณ 25 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 425 คน | 2,457,000.00 | 1,338,700.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่เทศกิจ | สำนักเทศกิจมีนโยบายที่จะพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต และสำนักเทศกิจ ทุกระดับให้มีความรู้ความสามารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่เทศกิจให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการปฏิบัติงานด้านเอกสารและใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานและเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ เจ้าหน้าที่เทศกิจจึงจำเป็นต้องศึกษา อบรมความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานด้านเอกสารและงานอื่น ๆ เป็นอย่างมาก สำนักเทศกิจเห็นว่าควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจเพิ่มเติม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคตและควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการประยุกต์ให้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่เทศกิจ | 1. เพื่อเป็นการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่เทศกิจให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่เทศกิจสามารถนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านเอกสารและใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน 3. เพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ | ดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการ และบุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 390 คน และแบ่งการฝึกอบรมเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 130 คน ประกอบด้วย ผู้เข้ารับการฝึกอบรม รุ่นละ 120 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร รุ่นละ 10 คน | 521,200.00 | 409,000.00 | สํานักเทศกิจ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
11 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advance) | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 111 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 90 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 90 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 18 คน (2) วิทยากร (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 1 คน) จำนวน 3 คน | 124,800.00 | 91,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
12 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการนำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ | การนำข้อมูลจำนวนมากสื่อออกมาในลักษณะของภาพกราฟิกทำให้เข้าใจได้ง่าย และการนำเสนอในแบบสื่อ Info Motion เป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพเคลื่อนไหว เข้าใจได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว หากสามารถนำความรู้ต่างๆ มาสื่อสารในรูปแบบ Infographic และสื่อ Info Motion ได้จะช่วยให้ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ | ผู้เข้ารับการอบรม ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 80 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน) | 155,500.00 | 140,250.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
13 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลฝึกอบรม และระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานครด้วยการ เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | การนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการฝึกอบรม และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยกำหนดให้บุคลากรกรุงเทพมหานคร เรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร หรือผ่านทางระบบ e-learning ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครในทุกสังกัด สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้จำนวนมาก ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและไม่จำกัดช่วงเวลา อีกทั้งยังได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนตามช่วงเวลาที่กำหนด จะเห็นได้ว่าแนวทางการพัฒนาความรู้ความสามารถดังกล่าว เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความเสมอภาค ทางด้านการฝึกอบรม/พัฒนาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณได้อย่างยั่งยืน จึงช่วยตอบโจทย์ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ กรุงเทพมหานคร และตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ต้องการให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความรู้ และทักษะทางด้านดิจิทัลพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ตามโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) ของสำนักงาน ก.พ.ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแนวทางการปฏิรูประบบบริการภาครัฐ เพื่อเตรียมพร้อมการปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) อย่างเต็มตัว เพื่อนำประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ | 1. เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้บริหารจัดการข้อมูลการฝึกอบรม และระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยงานในสังกัด กรุงเทพมหานครทุกแห่งสามารถเข้าใช้งานได้รวมกัน 2. เพื่อสร้างชุดเครื่องมือสำหรับให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครทุกคนได้มีโอกาสประเมินผลด้วยตนเอง (self-Assessment) เพื่อหาข้อบกพร่อง นำไปปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงาน 3. เพื่อให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมก่อนเข้าร่วมทดสอบกับโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) 4. เพื่อวางกรอบแนวทางการพัฒนาความรู้ ความสามารถให้กับบุคลากรของกรุงเทพมหานครทุกตำแหน่ง ได้มีโอกาสศึกษาและพัฒนาความรู้ ตามสายอาชีพ (Training Road Map : TRM) ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ติดตามและประเมินผลการพัฒนาความรู้ ความสามารถเป็นรายบุคคล | พัฒนาระบบบริหารข้อมูลการฝึกอบรมและระบบสารสนเทศการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งานบุคลากร ของกรุงเทพมหานครในทุกสังกัดได้มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลาผ่านช่องทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ของกรุงเทพมหานคร รวมถึงสร้างระบบที่เหมาะสม สำหรับพัฒนากำลังคนของกรุงเทพมหานครให้มีทักษะและความสามารถนำเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลตามโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) พร้อมสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ติดตามและรับทราบผลการประเมินการพัฒนาความรู้ ความสามารถในลักษณะเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ในการวางพัฒนาความรู้เฉพาะบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการศึกษา ตามเส้นทางการพัฒนาตามสายอาชีพ | 29,800,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
14 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Skill) | การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล มุ่งเน้นให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐปรับกระบวนทัศน์และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานและการให้บริการภาครัฐที่สร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในภาพรวม | 1. เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ ในการ ปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 2. บุคลากรและผู้บริหารของกรุงเทพมหานครสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด | พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรและผู้บริหารของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Skill) ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและในการพัฒนางานภาครัฐ และสนับสนุน “การปรับเปลี่ยนภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล” | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
15 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้พัฒนาบุคลากรผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อเป็นการพัฒนาผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานของหน่วยงานได้อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ และสามารถวางแผนยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาภารกิจของหน่วยงาน สามารถสร้างแนวคิดเพื่อบูรณาการและสร้างคุณค่าจากข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และสามารถสร้างเครือข่ายผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดในการบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาหน่วยงานให้ทันสมัย สามารถสร้างสรรค์การบริการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการดำเนินการของหน่วยงานข้างต้น จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการสัมมนาและศึกษาดูงานหน่วยงานอื่นๆ ในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานและการบริการประชาชน เพื่อให้เกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป | 2.1 เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตตระหนักถึงความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง เพื่อให้การบริหารจัดการการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ร่วมกัน | ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนัก และสำนักงานเขต ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หัวหน้าส่วนราชการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 28 คน เข้ารับการสัมมนา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบไป - กลับ จำนวน 4 วัน | 129,600.00 | 79,200.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
16 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 117,500.00 | 90,427.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2563 | หลักสูตรการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะพึงประสงค์) | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบงานคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงาน และการบริหารงานนโยบายต่าง ๆ ทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร และพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรทุก ๆ ด้าน ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยี บุคลากรที่ทำงานในสำนักงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันที่จะต้องชาญฉลาด รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยการวางแผนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับองค์กร การปรับกระบวนการทำงานให้เข้ากับยุคดิจิทัล การปรับและพัฒนาบุคลากรให้พร้อมทั้งด้านทัศนคติ ความรู้ ทักษะสู่ยุคดิจิทัล รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 กรุงเทพมหานครมองเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการระบบฐานข้อมูล และการสร้างงานหรือสื่อนำเสนอมัลติมิเดียออนไลน์ โดยสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขึ้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในการปรับสมรรถนะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ของข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารและพัฒนามหานคร | 1. เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด 2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนโยบายรัฐบาลในการยกระดับงานบริการภาครัฐด้วยการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ สังกัดสำนัก สำนักงานเขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสายงานคอมพิวเตอร์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 รุ่น ๆ ละ 25 คน รวมทั้งสิ้น 500 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 82 คน ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 40 คน 2. วิทยากร จำนวน 42 คน | 3,789,800.00 | 1,600,000.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
18 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2563 | โครงการฝึกอบรมพัฒนาความรู้เชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่เทศกิจ (2563) | สำนักเทศกิจเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรสายงานเทศกิจให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมพัฒนาความรู้เชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่เทศกิจขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ สนับสนุนให้เกิดการต่อยอดแนวความคิด และนำไปประยุกต์สร้างสรรค์ หรือสนับสนุนให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์กับกรุงเทพมหานครต่อไป | 2.1 เพื่อเป็นการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่เทศกิจให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เทศกิจสามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งเจ้าพนักงานเทศกิจ ระดับชำนาญการ และปฏิบัติการ ตำแหน่งพนักงานเทศกิจ ระดับชำนาญงานและปฏิบัติงาน บุคลากรกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งพนักงานเทศกิจ ส 1 หรือ ส 2 ตำแหน่งพนักงานเทศกิจ สังกัดสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต จำนวน 360 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 69 คน รวม 429 คน โดยแบ่งการฝึกอบรมเป็น 3 รุ่น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรุ่นละ 120 คน วิทยากรรุ่นละ 18 คน เจ้าหน้าที่รุ่นละ 5 คน รวมรุ่นละ 143 คน | 654,400.00 | 604,800.00 | สํานักเทศกิจ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
19 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2563 | โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานในยุคองค์กรดิจิทัลของบุคลากรสายงานสนับสนุนสำนักพัฒนาสังคม (Up skill for Digital Organization) | จากสถานการณ์โลกปัจจุบันกำลังปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 รวมถึงประเทศไทยที่อยู่ในยุคของการปฏิรูปเพื่อ่เข้าสู่การพัฒนาตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น ในทุกภาคส่วนทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล โดยเชื่อมโยงทรัพยากรบุคคล ความรู้ ทักษะนวัตกรรมทางความคิด และเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นหนึ่งเดียวกับการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อดูแลและตอบสนองความต้องการของประชาชนกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซับซ้อน และอ่อนไหวมากขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด | เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในยุคองค์กรดิจิทัล ให้แก่บุคลากรสายสนับสนุน และนำความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในยุคองค์กรดิจิทัลไปพัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักพัฒนาสังคม ประกอบด้วย นักจัดการทั่วไป นักประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นายช่างศิลป์ นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการเงินและบัญชี เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เจ้าพนักงานพัสดุ นิติกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการสถิติ จำนวน 90 คน วิทยากร จำนวน 3 คน คณะกรรมการอำนวยการ จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน ดำเนินการแบบไป-กลับ จำนวน 3 วัน ภายในเดือนมิถุนายน 2563 ณ โรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร | 272,800.00 | 0.00 | สํานักพัฒนาสังคม | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
20 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลในฐานะหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรกรุงเทพมหานครด้านไอซีทีจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยประสานขอความร่วมมือจากศูนย์บริหารองค์การสากล (GEMC) มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดให้มี การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการยกระดับ มาตรฐานวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร กทม. ให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพขั้นสูงต่อไป | 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศ 2 เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านไอทีของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน 3 เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเป็นเกณฑ์ประเมิน Competencies ของบุคลากรสายงานไอที | จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีสมรรถนะ และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยมีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 90 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คนต่อรุ่น ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 5 คนต่อรุ่น และ 2) วิทยากร จำนวน 2 คนต่อรุ่น | 646,000.00 | 228,200.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
21 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕60 ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 243,500.00 | 179,569.25 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
22 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงการบริหารงาน และการบริการประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในส่วนของสำนักและสำนักงานเขต ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศส่วนกลาง ตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) ได้แก่ ระบบงานจัดซื้อ จัดจ้าง บัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ การเงิน บัญชี บุคลากร เรื่องราวร้องทุกข์ เงินเดือน บริหารคลังวัสดุกลาง บริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในปัจจุบันระบบ MIS ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดระบบข้อมูลของหน่วยงาน นำไปสู่ การปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าวเกิดผลสำเร็จต่อเนื่อง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ติดตามผลการใช้ระบบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายและการใช้โปรแกรมระบบงานที่เป็นอุปสรรคปัญหาต่อการปฏิบัติงาน ให้เกิด ผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณดำเนินการปรับปรุงระบบงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ และกระบวนการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการจัดให้มี การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมระบบงานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครทั้งระดับสำนักและสำนักงานเขต สามารถใช้ระบบงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบต่อไป | เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบงาน MIS ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ประเภทผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา | 135,800.00 | 119,020.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
23 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2.1 | 2560 | โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (CIO) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการผลักดันและติดตามผลการดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดจัดการสัมมนาเพื่อพัฒนาผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยี-สารสนเทศมาปรับใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจหลักของกรุงเทพมหานครได้ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้นำในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและสามารถบรรลุเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นมหานครอิเล็กทรอนิกส์ (Digital City) | 1. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเข้มแข็ง 2. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ตระหนักถึงความสำคัญของการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเพื่อปรับปรุงขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร | 1. ดำเนินการจัดการสัมมนาและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (CIO) จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 4 วัน 2. กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต จำนวน 18 คน ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการกองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 4 คน | 553,200.00 | 417,560.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
24 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 200 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 150 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 150 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 4 คน) จำนวน 20 คน (2) วิทยากร (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 30 คน | 253,000.00 | 144,974.55 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
25 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการสร้างและออกแบบแผนผังความคิด (Mind Map) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป | เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะในการทำงานต่างๆ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการวางแผน กำหนดกลยุทธ์และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นในแง่มุมจากหลายๆ ฝ่ายมาประกอบกัน ขั้นตอนในการระดมสมองมักจะได้รับข้อมูลมาเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการนำมาร้อยเรียง ให้มีความสอดคล้องเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้เป็นแง่มุมต่างๆ สามารถแสดงให้เข้าใจในจุดสำคัญได้ชัดเจนไปในทิศทางที่ถูกต้อง การอบรมในหลักสูตรนี้จะเป็นการสร้างเครื่องมือที่สามารถสร้างแผนผังความคิดให้ออกมาในรูปแบบที่ดูง่ายและชัดเจน สื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย และยังนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานนำเสนอ (Presentation) ได้อีกด้วย | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญ ของการสร้างและออกแบบแผนผังความคิด 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้สามารถสร้างและออกแบบแผนผังความคิดด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้อย่างถูกต้อง | โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 156 คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 120 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 30 คน) 2. ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 24 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 6 คน) 2) วิทยากร จำนวน 12 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 3 คน) | 391,900.00 | 232,058.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->25 หน่วยงาน | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |