Showing 1-1 of 1 item.
| - | องค์ประกอบที่ 2.2 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ร้อยละ | 100.00 | 0.00 | 0.00 |
:: ผลการดำเนินงานฯ ตามเป้าหมาย OKR/KPI >> (แบบ สยป #3)
Showing 1-1 of 1 item.
| 23-11-2024 | 0.00 | | โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน (Smart IPD)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลและการบริการโดยการพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) ให้รองรับกระบวนการทำงานผู้ป่วยใน (In Patient Department)
2. เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการรักษาจากระบบผู้ป่วยนอกไประบบผู้ป่วยใน
3. เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบเดิมให้เป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ที่สามารถสนับสนุนการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและวางแผนบริการทางการแพทย์ในระยะยาว
เป้าหมาย
พัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน (Smart IPD) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เชื่อมข้อมูลจากระบบผู้ป่วยนอกไประบบผู้ป่วยในให้ครอบคลุมในทุกกระบวนการของการดูแลผู้ป่วยใน มีการนำระบบ Digital Signage มาช่วยแสดงสถานะต่าง ๆ ทำให้บุคลากรสามารถติดตามข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที และเพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการผู้ป่วยในให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้นวัตกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล และกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลกระทบจากการนำนวัตกรรมไปใช้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน (Smart IPD) รองรับกระบวนการทำงานและการให้บริการผู้ป่วยใน ให้มีความสะดวก และรวดเร็ว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและดูแลผู้ป่วย
2. มีระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาจากระบบผู้ป่วยนอกไประบบผู้ป่วยใน ช่วยให้ข้อมูลการรักษามีความต่อเนื่องและครอบคลุมกระบวนการของการดูแลรักษาผู้ป่วยในมากยิ่งขึ้น
3. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจากการสื่อสารและการบันทึกข้อมูล ความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงาน ลดการใช้กระดาษและเวลาในการทำงานเอกสาร และช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการดูแลผู้ป่วย
4. เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อกรุงเทพมหานครในการเป็นองค์กรอัจฉริยะ (Smart BMA) โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการประชาชน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นวัตกรรมที่พัฒนา คือ พัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน (Smart IPD) ค่าเป้าหมาย ภายในปี 2568
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน (Smart IPD) ค่าเป่าหมาย ระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. ประโยชน์ของนวัตกรรม
ตัวชี้วัดที่ 3.1 ร้อยละของผู้ป่วยที่มีการบันทึกข้อมูลในระบบ Smart IPD อย่างครบถ้วน ค่าเป้าหมาย มากกว่าร้อยละ 90
ตัวชี้วัดที่ 3.2 ความสำเร็จของการจัดทำDashboard ข้อมูลผู้ป่วยในเพื่อการตัดสินใจ ค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 3 รายงาน
| - |