รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

5. ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ระยะเริ่มแรก (Early) : 0409-0950

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
95
95 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
70.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ดำเนินงานดังต่อไปนี้ - แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลฯ - ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำ ปรับ/ร่างแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลฯ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น - ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นชอบให้สถาบันฯ นำเครื่องมือการสำรวจทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐด้วยตนเอง (Digital Government Skill Set Self-Assessment) ในรูปแบบออนไลน์ ของสำนักงาน ก.พ. มาใช้ในการสำรวจทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลสำรวจไปวางแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล - ดำเนินการประเมินทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Digital Government Skill Set Self-Assessment) - นำร่างแผนฯ เข้าสู่กระบวนการแสดงความคิดเห็น ร่วมกับ ส.กก. และสยป.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ดำเนินงานดังต่อไปนี้ - อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Digital Government Skill Set Self-Assessment) - คณะทำงานฯ สรุปผลการแสดงความคิดเห็น และปรับแก้ไขร่างแผนพัฒนาทักษะดิจิทัล - สถาบันฯ ส่งร่างแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลฯ ให้สำนักงาน ก.ก. นำเข้าสู่การพิจารณา โดย อ.ก.ก ที่เกี่ยวข้อง - อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลฯ โดย อ.ก.ก. วิสามัญเกี่ยวกับการสรรหา พัฒนาบุคลากร และการประเมิณ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ดำเนินงานดังต่อไปนี้ - สถาบันฯ สรุปจำนวนข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ลูกจ้างประจำ) ที่ดำเนินการประเมินทักษะดิจิทัลด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (Digital Government Skill Set Self-Assessment) เพื่อค้นหาช่องว่างในการพัฒนา (Gap Competency) เพื่อให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งในการพัฒนา - ที่ประชุม อ.ก.ก. วิสามัญเกี่ยวกับการสรรหาฯ มีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ และกำหนดให้เป็นแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ระยะเริ่มแรก (Early) (พ.ศ. 2564 – 2565) ของกรุงเทพมหานคร - จัดทำบันทึกถึงปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้สถาบันฯ เวียนแจ้งแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ ระยะเริ่มแรก (Early) (พ.ศ. 2564 - 2565) ให้หน่วยงานทราบและดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการครบทั้ง 5 ระดับ โดยได้ดำเนินการต่อเนื่อง ดังนี้ - ปลัดกรุงเทพมหานครได้โปรดสั่งการให้หน่วยงาน ส่วนราชการดำเนินการพัฒนาข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครในสังกัดตามแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ - สถาบันฯ ส่งแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลฯ ให้หน่วยงาน ส่วนราชการทราบและดำเนินการพัฒนาตามแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ ของผู้ปฏิบัติงานในสังกัด - สถาบันฯ สร้างความเข้าใจการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร แก่หน่วยงาน ส่วนราชการ ในหลักสูตรการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2564 ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams - ข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ลูกจ้างประจำ) ดำเนินการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยนำผลประเมินตนเอง (Self-Assessment) ไปกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan – IDP1) ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 70 : 20 : 10 และดำเนินการตามแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP2) - หน่วยงาน ส่วนราชการรายงานจำนวนผู้ประเมินทักษะดิจิทัลฯ ผู้มีแผนพัฒนารายบุคคล และผู้ได้รับการพัฒนาตามแผนฯ ในสังกัด จำแนกตามกลุ่มภารกิจงานด้านดิจิทัล - สถาบันฯ สรุปผลการดำเนินการพัฒนาทักษะดิจิทัลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม ความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ระยะเริ่มแรก (Early) แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1. ศึกษาและจัดทำร่างแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯ ระยะเริ่มแรก (Early) ระดับที่ 2. นำเสนอร่างแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯเข้า อ.ก.ก.ฯ เห็นชอบการดำเนินการตามแผนฯ ระดับที่ 3. ประเมินทักษะด้านดิจิทัลเพื่อค้นหาช่องว่างในการพัฒนา(Gap) และนำผลการประเมินไปกำหนดกลุ่มเป้าหมายและวิธีการพัฒนา ระดับที่ 4. ดำเนินการพัฒนาตามแผนที่กำหนดไว้ ระดับที่ 5. ประเมินผลการพัฒนาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาในปีต่อไป

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ค่าเป้าหมาย ระดับ ๕ วิธีคำนวณ - ความสำเร็จระดับที่ 1 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 20 (2คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 40 (4คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 60 (6คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4 คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 80 (8คะแนน) - ความสำเร็จระดับที่ 1+2+3+4+5คิดผลการดำเนินงานเป็น ร้อยละ 100 (10คะแนน)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

หลักฐานการประเมิน - ร่างแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯระยะเริ่มแรก (Early) - หนังสือนำเสนอร่างแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลฯเข้า อ.ก.ก.ฯ - รายงานสรุปผลการประเมินทักษะด้านดิจิทัล ฯ - เอกสารการดำเนินการตามแผนที่กำหนด - สรุปการประเมินผลการพัฒนาเพื่อต่อยอดฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง