- ประเภทความเสี่ยง :: อุทกภัย 2
- อัคคีภัย 12
- แผ่นดินไหว 1
- ขยะ 2
- น้ำอุปโภคและน้ำเสีย 2
- มลพิษทางอากาศ 1
- ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5
- โรคระบาด 3
- การก่อการร้าย 1
- ความขัดแย้งฯ 1
- การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ 8
- ด้านเศรษฐกิจ 3
- ความเสี่ยงเชิงยุทธศาตร์ 3
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) 29
- ความเสี่ยงด้านการเงิน 11
- ความเสี่ยงด้านกฎหมาย 2
>> ข้อมูลทะเบียนความเสี่ยง กทม. ::S (social)-สังคม
Showing 1-21 of 21 items.
# | แบ่งกลุ่ม ESG | ประเภท ความเสี่ยง | No. | ความเสี่ยง (Risk) | ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor) | ความเสี่ยงที่มี | ความเสี่ยงที่คงเหลือ | ผลกระทบภายใน (Internal Impact) | ผลกระทบภายนอก (External Impact) | โอกาสที่เกิด x ผลกระทบ (*คำนวณ) | ระดับความเสี่ยงที่มี (*คำนวณ) | โอกาสที่เหลือ x ผลกระทบ (*คำนวณ) | ระดับความเสี่ยงที่เหลือ (*คำนวณ) | หน่วยงานจัดการความเสี่ยง (Risk Owner) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.1 | 7.1 เกิดอาชญากรรม | สถานที่เปลี่ยว ลับตาคน มืดสลัวไม่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรไปมา ที่รกร้าง อาคารร้าง หน้าสถานศึกษา สถานบันเทิงป้ายรถประจำทาง ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ | ![]() 5 | ![]() 4 | 1. กรุงเทพมหานครและภาครัฐไม่สามารสร้างควรปลอดภัยให้กับประชาชนและไม่สามารถและไม่ได้รับความเชื่อมมั่นจากประชาชน 2. กรุงเทพมหานคร และภาครัฐสูญเสียทรัพยากร และมีภาระงานในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น 3. เกิดผลกระทบกับประเทศเศรษฐกิจ สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว ปัญหาสังคม และการเมือง | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต หวาดกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถิติการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2565 ความผิดต่อชีวิตร่างกาย 2,363 กรณีควาผิดต่อทรัพย์ 8,047 กรณี รวม 10,410 กรณี คิดเป็นร้อยละ 15.74 ของประเทศที่ 66,125 กรณี | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
2 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.2 | 7.2 เกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในพื้นที่กรุงเทพ | 1) มีปริมาณรถจำนวนมาก
2) มีผู้ค้าจำหน่ายสินค้าบนผิวจราจรและทางเท้า
3) ผู้ขับขี่ขาดวินัยจราจรไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร | ![]() 16 | ![]() 4 | 1. กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดการจราจร และสร้างความคล่องตัวในการเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวได้ 2. ส่งผลกระทบกับการเรียนการสอน และการดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนบริเวณหน้าโรงเรียน | 1. จราจรติดขัด เสียเวลาเดินทาง 2. เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน จากรายงานสถิติจราจร ปี 2565 สถิติอุบัติเหตุทางจราจรของ กทม.มี 31,122 คดี คิดเป็นร้อยละ 49.50 ของจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมดของประเทศ 62,869 คดี มีผู้เสียชีวิต 490 ราย บาดเจ็บสาหัส 869 ราย | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
3 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.3 | 7.3 เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ท่อประปาแตก ไฟฟ้ารั่ว ฯลฯ | 1) ระบบสาธารณูปโภคมีสภาพไม่ดีไม่พร้อมใช้งาน ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและชำรุด เพราะขาดการบำรุงรักษา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. การสื่อสารขัดข้อง เช่นสายเคเบิล สายโทรศัพท์ ฯลฯ ชำรุดเสียหายส่งผลกระทบต่อการทำงาน 2. ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซม และแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย 2. การจราจรติดขัด 3. เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
4 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.4 | 7.4 เกิดอุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ | 1) ไม่มีมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างที่ดี ขาดการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง | ![]() 5 | ![]() 3 | 1. กรณีเกิดในการก่อสร้างภาครัฐทำให้งานก่อสร้างมีความล่าช้า 2. กรุงเทพมหาครต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มในการการ่อสร้างและการแก้ไขปัญหา | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 2. ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย จากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2567 พบว่า ในปี 2562 มีการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างทั้งสิ้น 11,599 กรณี คิดเป็นร้อยละ 12 จากอุบัติเหตุทั้งหมด 94,906 กรณี ต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้าง 186 คน จากผู้เสียชีวิต 639 คน คิดเป็นร้อยละ 29 | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 3 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
5 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.5 | 7.5 เกิดอุบัติเหตุในระบบขนส่งสาธารณะ | 1) ผู้ใช้รถใช้ถนน/ ขนส่งสาธารณะขาดวินัย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรกฎหมายอื่น ๆ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง | ![]() 8 | ![]() 6 | 1. ทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหาย 2. กรุงเทพมหานคร/หน่วยงานต้องรับผิดชอบชดใช้ให้คู่กรณี หรือเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดีทางศาล 3. ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบขนส่งมวลชน | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 2. ประชาชนสูญเสียทรัพย์สิน 3. การเดินทางไม่สะดวกจากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติจราจรทางบกปี 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนรถขนส่งสาธารณะที่เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1,551 คัน เฉลี่ยวันละ 4 ถึง 5 คัน สูงเป็น อันดับหนึ่ง ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 31.91 จากอุบัติเหตุในระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมด 4,860 คัน | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
6 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.1 | โรคระบาด | 1) ในภาวะน้ำท่วมขังมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อได้ โดยเฉพาะขณะน้ำท่วมและหลังน้ำลด เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง อุจจาระร่วง ฉี่หนู ฯลฯ | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบสุขาภิบาลน้ำ อาหารและะชาชนสิ่งแวดล้อมไม่ดี กรุงเทพมหานครต้องวางมาตรการดูแลเพิ่มขึ้น 2. เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทั้งในพื้นที่และในวงกว้างและกรุงเทพมหานครเกินทรัพยากรและศักยภาพในการดูแลของกรุงเทพมหานคร 3. เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของ กทม. | 1. ประชาชนที่มีการเจ็บป่วยอาจมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ 2. ประชาชนมีความกังวลและเกิดภาวะเครียด | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักอนามัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการแพทย์ 2. สำนักสิ่งแวดล้อม 3. สำนักงานเขต 4. สำนักการศึกษา 5. สำนักงบประมาณ 6. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 7. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 8. สำนักการคลัง |
7 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.2 | โรคระบาด | 2) การเคลื่อนย้ายประชากรสูง เนื่องจากมีช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศที่สะดวก หลายช่องทางได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) ท่าอากาศยานดอนเมือง และ
ท่าอากาศยาน อีกทั้ง กรุงเทพฯยังเป็น ศูนย์กลางคมนาคม และการค้าขายเป็นประจำ ซึ่งอาจนำโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคติดต่อที่อุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือเมอร์ส โรคที่มาจากสัตว์นำโรค เช่น โรคฉี่หนู กาฬโรคปอด
โรคไวรัส ซิการ์ ฯลฯ เข้ามาระบาดได้ | ![]() 20 | ![]() 9 | 1. ความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ 2. ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนทางเศรษฐกิจ 3. สถานที่ เครือข่ายสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย | 1. ประชาชนเกิดความหวาดกลัวได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และมีผลต่อสุขภาพจิต 2. ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐได้รับความเสียหาย | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | สปภ |
8 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.3 | โรคระบาด | 3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น โรคไข้หวัดนกเกิดจากการอพยพของนกในฤดูหนาว โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. มีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่และวงกว้างและไม่สามารถจำกัดขอบเขตของการแพร่ระบาดได้ 2. ระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการรักษา หรือให้ภูมิคุ้มกันแต่ประชาชน | 1. ประชาชนเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 2. ประชาชนที่เกิดการเจ็บป่วยอาจมีอาการรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้ 3. ประชาชนมีความกังวลและตื่นตระหนก 4. เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศ | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักอนามัย |
9 | S (social)-สังคม | การก่อการร้าย | 9.1 | 9.1 ขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติมีแนวโน้มที่จะใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ในการก่ออาชญากรรมมากขึ้น | 1. กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ที่สามารถเข้าออกประเทศได้ง่าย
2. ประเทศไทยมีการส่งเสริมการท่องที่ยวทำให้อาชญากรข้ามชาติส่วนหนึ่งอาศัยโอกาสเข้าประเทศในลักษณะของนักท่องเที่ยว
3. ประเทศไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูงมากนัก
4. สามารถหาซื้อยาเสพติด หรืออาวุธเพื่อใช้ในการกระทำผิดได้ จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาชากรเข้ามาในประเทศ
5. ทำหนังสือเดินทางปลอมเพื่อใช้ขณะพักอาศักยอูยู๋ในพื้นที่ได้ไม่ยาก | ![]() 9 | ![]() 6 | 1. ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบความปลอดภัยของรัฐ 2. กระทบต่อเศรษฐกิจการลงทุน และการท่องเที่ยว 3. ขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน และนานาชาติมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 4. เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อยากไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 5. กทม. ต้องสูญเสียงบประมาณในการป้องกันและฟื้นฟูความเสียหายส่งผลกระทบต่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร | 1. ประชาชนเกิดความหวาดกลัวเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ มีผลต่อสุขภาพจิต 2. ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐได้รับความเสียหาย 3. ประชาชนถูกหลอกลวง ฉ้อโกงจากอาชญากรรมข้ามชาติ ต้องสูญเสียทรัพย์สิน | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | - สำนักงานปกครองและทะเบียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย2. สำนักเทศกิจ3. สำนักการจราจรและขนส่ง4. สำนักการโยธา5. สำนักการแพทย์6. สำนักอนามัย7. สำนักพัฒนาสังคม8. สำนักสิ่งแวดล้อม9. สำนักงานเขต |
10 | S (social)-สังคม | ความขัดแย้งฯ | 10 | ความขัดแย้งทางสังคม | 1. กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางของประเทศ ทั้งด้านการบริหาร เศรษฐกิจการศึกษา คมนาคม ฯลฯ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ ไม่ว่าจะเกิดในพื้นที่ใดของประเทศ ทั้งจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหรือผลกระทบในการประกอบอาชีพหรือจากการดำเนินนโยบายของรัฐก็มักจะมีกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเดินทางเข้ามาเรียกร้องหรือแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่กทม.เสมอ ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาลรัฐสภา องค์กรอิสระ กระทรวง ทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานทหาร ตำรวจกระจายไปทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในบางครั้งการเข้ามาเรียกร้องหรือแสดงสัญลักษณ์มีพัฒนาการไปถึงขั้นการจัดให้มีการชุมนุมยืดเยื้อ ปัญหาที่พบเช่น ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับแรงงานทั้งในประเทศและต่างด้าว การจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่ การขึ้นค่าโดยสารนักเรียนตีกัน บุกรุกที่สาธารณะ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ฯลฯ | ![]() 4 | ![]() 2 | 1. ความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน 2. การบริหารงานทางการเมืองไม่มีเสถียรภาพ 3. กระทบต่อความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ 4. เกิดการแสวงหาอำนาจพวกพ้อง 5. มีการรวมตัวหรือจับกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ 6. มีการร้องเรียนหรือร้องทุกข์กับหน่วยงานต่างๆ 7. ความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภค เช่น - ขโมยทรัพย์สิน สายไฟไฟสปอร์ทไลท์ - การทำลายทรัพย์สิน การเจาะถนน เพื่อตั้งสมอบก - การทำลายกล้อง CCTVเพื่อไม่ให้บันทึกภาพ - การเจาะท่อประปา เพื่อต่อ น้ำใช้ 8. สูญเสียงบประมาณแผ่นดินในการแก้ไขปัญหา | 1. การจราจรติดขัด 2. ประชาชนสัญจรไปมาบนทางเท้าไม่สะดวก เนื่องจากการตั้งกีดขวางของ - ร้านค้าขายของที่ระลึก - เวทีผู้ชุมนุมตั้งบนพื้นถนน - รั้วเหล็กผู้ชุมนุมนำมากั้นบริเวณทางเท้า - จอโปรเจ็คเตอร์ - ห้องน้ำ ห้องสุขา - ที่พักชั่วคราว 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุมนุมและบริเวณข้างเคียง ได้แก่ - ขยะมูลฝอย - กลิ่นเหม็น - เสียงดัง - ความสะอาดและสุขอนามัย 4. ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. ความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน 6. ผลกระทบทางด้านจิตใจ 7. แตกความสามัคคีแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายของคนในชาติ 8. ผลกระทบด้านการศึกษา 9. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจธุรกิจ การค้า การส่งออกการลงทุน การท่องเที่ยว 10. คุณภาพการดำเนินชีวิตตกต่ำ 11. ความขัดแย้งทางศาสนามักจะมีความรุนแรง พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อความเชื่อ อุดมการณ์ 12. เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม"รวยกระจุก จนกระจาย" | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - สำนักงานปกครองและทะเบียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการแพทย์ 2. สำนักอนามัย 3. สำนักการโยธา 4. สำนักสิ่งแวดล้อม 5. สำนักการจราจรและขนส่ง 6. สำนักพัฒนาสังคม 7. สำนักงบประมาณฯ 8. สำนักการค |
11 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.1 | 11.1 ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น | 1) จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชาชนวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็ก นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลง และมีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังโดยปราศจากคู่ชีวิตที่จะช่วยเหลือและปรึกษากันในบั้นปลายชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหญิงซึ่งการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้การพึ่งพาทางเศรษฐกิจและการเกื้อหนุนทางสังคมระหว่างประชากรวัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป ศักยภาพของวัยแรงงาน ในการสนับสนุนผู้สูงอายุลดลง ในส่วนของผู้สูงวัยก็มีอายุยืนยาวขึ้น ต้องเผชิญกับภาวะการเจ็บป่วยและการช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุจำนวนประมาณ 767,516 คน ที่จะต้องดูแลและจัดสวัสดิการ
หมายเหตุจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1.2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2503 เป็น 8.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 เป็นร้อยละ 13.2) ในขณะที่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่รองรับผู้สูงอายุไม่เพียงพอ นอกจากนี้ กฎหรือระเบียบต่าง ๆ ยังทำให้ผู้สูงอายุหลายรายไม่สามารถเข้ารับบริการจากองค์กรของรัฐและเอกชนได้ | ![]() 16 | ![]() 12 | 1. จำนวนแรงงานในวัยแรงงานลดลงทำให้กรุงเทพมหานครและหน่วยงานภาครัฐขาดกำลังคนในการเข้ามาทำงานร่วมกับกรุงเทพมหาคร 2. การจัดเก็บภาษีได้ลงลงรายได้และงบประมาณของกรุงเทพมหานครลดลง 3. กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น | 1. ผู้สูงอายุขาดคุณภาพชีวิตที่ดี 2. ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลอย่างเสมอภาคและทั่วถึง 3. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ 4. ผู้สูงอายุขาดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม 5. ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพ หรือภาวะพึ่งพาสูงเพิ่มขึ้น 6. ผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว 7. รายได้ครัวเรือนไม่เพียงพอ | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล2. สำนักพัฒนาสังคม3. สำนักอนามัย4. สำนักการแพทย์5. สำนักการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก :1. กระทรวงแรงงาน 2. กระทรวงเกษตรฯ3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4. กระทรวงม |
12 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.2 | 11.2 การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรและประชากรแฝง | 1) ถิ่นฐานเดิมมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีและไม่มีคุณภาพ มีทรัพยากรจำกัด | ![]() 25 | ![]() 16 | 1. กรุงเทพมหานครต้องรองรับการดูแลประชากรแฝงมากขึ้น2. การที่มีประชากรแฝงจำนวนมากและไม่สามารถกำหนดจำนวนและลักษณะที่ชัดเจนทำให้ไม่สามารถประมาณการงบประมาณและบริการที่ตัองจัดบริการรองรับได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ3. ทรัพยากรลดลง ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต | 2. ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย แออัดคุณภาพชีวิตไม่ดี3. ได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ4. ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน5. ปัญหาครอบครัวความรุนแรงในครอบครัว6. ปัญหาสังคม7. อาชีพและรายได้ไม่เพียงพอ | 25 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักงานปกครองและทะเบียน 2. สำนักพัฒนาสังคม 3. สำนักการแพทย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงมหาดไทย |
13 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.3 | 11.3 การเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานต่างด้าว | 1) ถิ่นฐานเดิมมีค่าจ้างแรงงานต่ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และคนไทยไม่ประกอบอาชีพบางประเภท จึงเป็นโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้ามา การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน | ![]() 25 | ![]() 20 | 6. ไม่สามารถจัดบริการขั้นพื้นฐานให้เพียงพอต่อความต้องการได้2. ต้องใช้ทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข 5. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอ7. การทำงานนอกกฎหมายที่กำหนด | 3. ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. ปัญหายาเสพติด 1. แรงงานไทยระดับล่างถูกแย่งงาน ปัญหาว่างงาน 8. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม6. การรับบริการขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ | 25 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : สปท. สพส. สนพ. สนอ.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงมหาดไทย - กระทรวงแรงงาน - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
14 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.4 | 11.4 ประชากรเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะมีบุตรเร็วขึ้น | 1) ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษาและการยับยั้งชั่งใจ ดำเนินชีวิตตามกระแสของสังคม ปัญหาชีวิตและครอบครัวที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ | ![]() 12 | ![]() 8 | 1. แม่และเด็กไม่มีคุณภาพและไม่ได้รับการพัฒนาตามวัย 2. เป็นภาระของสังคมเมื่อถูกทอดทิ้ง | (not set) | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : สนศ. สนอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงสาธารณสุข - กระทรวงศึกษาธิการ - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าภาพหลัก : สนพ. สนอ. สนท. สปท. |
15 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.5 | 11.5 อัตราการตายของผู้ชายสูงขึ้น | 1) ผู้ชายมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ค่อยดูแลสุขภาพ และทำงานที่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง | ![]() 9 | ![]() 6 | 1.. ขาดแรงงานที่เป็นเพศชาย | 1. ขาดผู้นำครอบครัว 2. สัดส่วนของเพศชาย/หญิงไม่สมดุล | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขตหน่วนงานภายนอก : - กระทรวงสาธารณสุข - กระทรวงมหาดไทย - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
16 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.6 | 11.6 ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ | 1) การคิดค้นวิทยาการสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ และแนวโน้มการหันมาดูแลสุขภาพของตนเองแบบเชิงรุกมากขึ้น | ![]() 9 | ![]() 6 | คนอายุยืนขึ้น รัฐต้องรับภาระในการดูแลเพิ่มขึ้น สัดส่วนประชากรไม่สมดุลกับงบประมาณ การจัดระบบ สาธารณูปโภคและบริการ ด้านต่าง ๆ ของรัฐต้องเพิ่มขึ้น | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สนพ. สนอ. สพส. สวท. |
17 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.7 | 11.7 อัตราการเกิดลดลง | 1) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและค่านิยมทางสังคม อาทิเช่น ผู้หญิงที่ทำงานมีจำนวนและอัตราที่สูงขึ้น การแต่งงานช้าลงทำให้ค่าเฉลี่ยคู่สมรสมีอายุสูงขึ้น ครอบครัวมีบุตรคนแรกช้ากว่าในอดีต แนวโน้มของการเป็นโสดที่เพิ่มมากขึ้น การให้คุณค่ากับความสำเร็จของชีวิตมากกว่าการมี
2) นโยบายหรือมาตรการจูงใจในการมีบุตรไม่ชัดเจนบุตร | ![]() 20 | ![]() 12 | 1. ประชากรลดลง การลงทุนในบริการสาธารณะหรือโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นการขาดผู้ใช้งาน 2. ขาดแรงงานในภาคธุรกิจและเกษตรกรรม | 1. ครอบครัวเดี่ยวจะมากขึ้น รวมถึงช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น เนื่องจากการมีบุตรช้าลง 2. รูปแบบสังคมเปลี่ยนไป คนจะมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง และเน้นการรวมกลุ่มในโลกดิจิทัลมากขึ้น | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักอนามัย 2. สำนักการแพทย์ 3. สำนักพัฒนาสังคม |
18 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.8 | 11.8 การเข้ามาของกลุ่มคนพเนจรดิจิทัล (Digital Nomad) | 1) ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อาทิ ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้กรุงเทพมหานครถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นเป้าหมายของ Digital Nomad ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนถึงล้านคน/ปี
2) ความเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นแรงจูงใจให้กลุ่ม Digital Nomad เข้ามาท่องเที่ยวไปพร้อมกับการทำงาน | ![]() 6 | ![]() 3 | 1. จำนวนของผู้ใช้บริการสาธารณะมากขึ้น | 2. ค่าครองชีพสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่ม Digital Nomad มีกำลังซื้อสินค้าที่สูงกว่าคนไทย | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 3 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :1. กระทรวงการต่างประเทศ |
19 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.1 | 12.1 การท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ได้ | 1. กรุงเทพมหานครมีเมืองคู่แข่งด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเดียวกันซึ่งแบ่งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานคร
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเทียวในพื้นที่กรุงเทพมหานครสูงกว่าเมืองอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
3. ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครเป็นทรัพยากรที่มีอยู่เดิม กรุงเทพมหานครไม่ได้มีการสร้างทรัพยากรการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพิ่มเติมเท่าที่ควร | ![]() 15 | ![]() 12 | 1. ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครลดลง 2. แหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครขาดแหล่งทุนในการดูแล บำรุงรักษา | 1. ศักยภาพด้านการเงินและสภาพคล่องของผู้ประกอบการลดลงและกระทบกับการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2. รายได้ของผู้ประกอบการส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขัน | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | - สำนักวัฒนธรรมกีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขต |
20 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.2 | 12.2 ด้านการลงทุนและการประกอบชีพ | 1. ต้นทุนในการประกอบธุรกิจในพื้นที่กรุงเทพค่อนข้างสูงและมีขันตอนในการขออนุญาติยุ่งยากทำให้ผู้ประกอบการหันไปพื้นที่อื่น
2. ค่าครองชีพและต้นทุนในการประกอบอาชพีของประชาชนกรุงเทพสูงกว่าต่างจังหวัดและค่าที่ดินและที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพข้อนค่างสูง
3. ปัญหาทุนใหญ่ผูกขาดในระบบธุรกิจของบริษัทรายใหญ่มีสัดส่วนการถือครองตลาดมากและในหลายประเภทธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยทำธุรกิจด้วยความยากลำบาก
4. ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายย่อยยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ และไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตลาด | ![]() 10 | ![]() 4 | 1. ศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการในพื้นที่ลดลง 2. ผู้ประกอบการ และนักลงทุนต่างประเทศ ไม่สนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ 3. ผู้ประกอบการรายย่อยขาดช่องทางการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ครอบครัวกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ | - | 10 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักการคลัง - สำนักพัฒนาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเขต |
21 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.3 | 1.2.3 ด้านหนี้ครัวเรือน | 1. สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาโดยตลอด ที่ผ่านประชาชนคนไทยมีการกู้หนี้ยืมสินกันเยอะมาก จนทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่สูง โดยข้อมูลจารกสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไตรมาส 3 ปี 2565 ไทยมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 14.90 ล้านล้านบาท คิดเป็น 86.8% ต่อ GDP | ![]() 12 | ![]() 8 | 1. ปัญหาหนี้สาธารณเพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อเนื่องไปยังปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ 2. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และรายได้ของกรุงเทพมหานคร | 1. ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ กระทบกับสภาพคล่องของครัวเรือน 2. คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ได้รบผลกระทบ 3. เสี่ยงกับการทวงหนี้นอกระบบ | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักพัฒนาสังคมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเขต |
