- ประเภทความเสี่ยง :: อุทกภัย 2
- อัคคีภัย 12
- แผ่นดินไหว 1
- ขยะ 2
- น้ำอุปโภคและน้ำเสีย 2
- มลพิษทางอากาศ 1
- ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5
- โรคระบาด 3
- การก่อการร้าย 1
- ความขัดแย้งฯ 1
- การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ 8
- ด้านเศรษฐกิจ 3
- ความเสี่ยงเชิงยุทธศาตร์ 3
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) 29
- ความเสี่ยงด้านการเงิน 11
- ความเสี่ยงด้านกฎหมาย 2
>> ข้อมูลทะเบียนความเสี่ยง กทม. ::
Showing 1-86 of 86 items.
# | แบ่งกลุ่ม ESG | ประเภท ความเสี่ยง | No. | ความเสี่ยง (Risk) | ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor) | ความเสี่ยงที่มี | ความเสี่ยงที่คงเหลือ | ผลกระทบภายใน (Internal Impact) | ผลกระทบภายนอก (External Impact) | โอกาสที่เกิด x ผลกระทบ (*คำนวณ) | ระดับความเสี่ยงที่มี (*คำนวณ) | โอกาสที่เหลือ x ผลกระทบ (*คำนวณ) | ระดับความเสี่ยงที่เหลือ (*คำนวณ) | หน่วยงานจัดการความเสี่ยง (Risk Owner) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อุทกภัย | 1.1 | 1.1 น้ำฝนตกลงมาในปริมาณที่มากเกินอัตราที่ระบบป้องกันน้ำท่วมของ กรุงเทพฯ จะรับได้ (รับได้ที่ประมาณ๖๐ มิลลิเมตรต่อชั่วโมง) | 1) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 2) พื้นที่ลุ่มต่ำ
3) ขยะตกค้างกีดขวางอุดตันทางระบายน้ำและท่อระบายน้ำ
4) การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ขวางทางน้ำไหล พื้นที่รองรับน้ำลดลง
5) การก่อสร้างสาธารณูปโภครถไฟฟ้า ท่ออุโมงค์ ท่อประปา ท่อ- เช่นร้อยสายโทรศัพท์ การก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ และโครงการก่อสร้างอื่นๆ ของรัฐกีดขวางทางน้ำไหล
6) การบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมขังที่ขาดประสิทธิภาพและการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7) ท่อระบายน้ำเดิมไม่เพียงพอกับการรองรับ
8) ประชาชนส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึกของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและความรับผิดชอบต่อสังคม | ![]() 8 | ![]() 6 | 1. เกิดปัญหาน้ำท่วมเพิ่มขึ้นทั้งบริเวณจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมและระยะเวลาน้ำท่วมขังจะเพิ่มขึ้น ใช้เวลาแก้ไขนานขึ้น 2. สูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซมถนน สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภค และบ้านเรือนของประชาชน | 1. สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและประชาชน 2. ปัญหาการจราจรติดขัด 3. น้ำท่วมขังสกปรก ส่งผลต่อสุขอนามัยของประชาชน 4. น้ำไม่สามารถไหลลงคลองได้อย่างสะดวก 5. เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตของประชาชน 6. มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพรวม | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักการระบายน้ำ |
2 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อุทกภัย | 1.2 | 1.2 น้ำท่วมจากน้ำหลากพื้นที่ด้านบนของกรุงเทพที่มาจากงแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ และน้ำบ่าจากทุ่งรอบกรุงเทพมหานคร | 1) ปริมาณน้ำเกินกว่าขีดความสามารถของแนวป้องกันน้ำหลากจะรองรับได้ และมีปริมาณน้ำและค่าระดับน้ำสูงกว่าแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร
2) ปัญหาพื้นที่นอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครที่ประสบปัญหาน้ำท่วม กดดันให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ชั้นใน
3) การสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำและคลอง ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ตลอดแนว รวมทั้งแนวป้องกันเดิมมีสภาพชำรุด | ![]() 9 | ![]() 6 | 1. เกิดปัญหาน้ำท่วมเพิ่มขึ้นทั้งบริเวณจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมและระยะเวลาน้ำท่วมขังจะเพิ่มขึ้นใช้เวลาแก้ไขนานขึ้น 2. สูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซมถนน สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภค และบ้านเรือนของประชาชนบริโภค | 1. ความเสียหายด้านเกษตรกรรม(บริเวณพื้นที่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา) ด้านอุปโภคบริโภคและด้านเศรษฐกิจ 2. ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐ 3. ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัยขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค 4. การสัญจรระบบการคมนาคมถูกตัดขาด | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักการระบายน้ำ |
3 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.1 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 1) สภาพปัญหาการจราจรติดขัดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน | ![]() 25 | ![]() 16 | 1. เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุล่าช้า อาจทำให้เพลิงไหม้เกิดการติดต่อลุกลามและขยายวงกว้างมากขึ้นทำให้ยากแก่การควบคุมซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก | 1. การควบคุมไฟล้าช้าอาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก | 25 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
4 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.2 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 2) สภาพซอยคับแคบ มีสิ่งกีดขวาง เช่น กันสาด แผงลอย ทำให้รถดับเพลิงเข้าถึงจุดเกิดเหตุไม่ได้นอกจากนี้ ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยย้ายจากถนนสายหลักไปขายในซอยมากขึ้น | ![]() 16 | ![]() 6 | 1. เมื่อถึงพื้นที่เกิดเหตุช้าอาจทำให้เพลิงไหม้เกิดการติดต่อลุกลามและขยายวงกว้างขึ้นทำให้ยากแก่การควบคุม | 1. ความล่าช้าในการเข้าที่เกิดเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น 2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
5 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.3 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 3) การแจ้งข้อมูลจากผู้ประสบเหตุไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้อง และผิดช่องทาง | ![]() 9 | ![]() 2 | ๑. ทำให้จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการเข้าระงับเหตุไม่เหมาะสม | 1. ความล่าช้าในการเข้าที่เกิดเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
6 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.4 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 4) เจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่เกิดเหตุไม่มาประสานให้ข้อมูล | ![]() 12 | ![]() 8 | การระงับเหตุล่าช้ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น 2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
7 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.5 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 5) ขาดการควบคุมในพื้นที่เกิดเหตุ | ![]() 15 | ![]() 10 | ทำให้เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ยากและเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย | 1.โอกาสได้รับการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยมีน้อยลง | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 10 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
8 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.6 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 6) แหล่งน้ำประปามีสิ่งกีดขวาง เช่นจอดรถยนต์ดึงเบรคมือ หรือจอดรถเข็นร้านขายอาหารคร่อมประปาหัวแดง | ![]() 12 | ![]() 8 | การระงับเหตุล่าช้ามีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
9 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.7 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 7) เส้นทางที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นซอยที่มีสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สายเคเบิลที่มีความสูงหรือต่ำกว่ารถดับเพลิงเป็นอุปสรรคในการ เข้าระงับเหตุ | ![]() 12 | ![]() 9 | รถดับเพลิงเข้าที่เกิดเหตุได้ล่าช้าเนื่องจาก ติดสายไฟ สายโทรศัพท์ | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
10 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.8 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 8) หน่วยอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีเอกภาพเนื่องจากไม่ทราบว่าใครเป็นผู้บังคับบัญชาการเหตุการณ์ และมีอาสาจากหลายหน่วยและหลายพื้นที่ไม่เคยประสานงานกันมาก่อน รวมถึงหัวหน้าผู้ควบคุมแต่ละกลุ่มขาดการประสานกันเพราะไม่รู้จักกัน | ![]() 12 | ![]() 8 | เกิดความสับสนในการปฏิบัติงานทำให้ไม่สามารถระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
11 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.1.9 | 2.1 การปฏิบัติงาน ดับเพลิงทำได้ยากและลำบาก | 9) สภาพอาคาร เก่า ดัดแปลงและใช้งานผิดประเภทเนื่องจากเจ้าของอาคารขนาดใหญ่อาคารสูง ตึกแถว อาคารพาณิชย์ดัดแปลงอาคารในภายหลัง และใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และกฎหมายที่กำหนด เช่น ดัดแปลงเป็นห้องเช่าจำนวนหลายห้อง ทำให้ใช้ไฟฟ้าเกินขนาด สร้างห้องเก็บของที่มีสิ่งของจำนวนมากเกะกะขวางทางและเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ฯลฯ ตลอดจนไม่บำรุงรักษาอาคารให้อยู่ในสภาพที่ดี | ![]() 16 | ![]() 6 | 1. เมื่อเกิดเหตุจะเพิ่มความรุนแรงเช่น อาคารพาณิชย์ที่ดัดแปลงเป็นห้องพักให้เช่าจำนวนหลายห้อง ความเสียหายจะเกิดกับคนจำนวนที่มากขึ้น 2. ยากต่อการควบคุมเพลิง ทำให้ระงับเหตุได้ช้าลง ความเสียหายเพิ่มขึ้น | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น 2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
12 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.2 | 2.2 มีผู้ลอบวางเพลิงในที่สาธารณะหรือที่ส่วนตัว และที่รกร้างว่างเปล่า เช่น เผาหญ้าขยะ | 1) ประชาชนไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว | ![]() 10 | ![]() 5 | 1. บุคลากรของกรุงเทพมหานครเสี่ยงอันตราเพิ่มขึ้น และมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น | 1. ลุกลามติดอาคารบ้านเรือนของประชาชน2. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเช่น ควันพิษ เขม่า โลกร้อน ฯลฯ(มลพิษทางอากาศ) | 10 | ระดับความเสี่ยงสูง | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
13 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.3 | 2.3 ยานพาหนะ เครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานชำรุด และไม่พร้อมใช้งาน | 1) ใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านั้นมานานหลายสิบปี ทำให้เสื่อมสภาพ เช่น หม้อลมของรถที่เก็บลมไม่อยู่ ระบบเบรคชำรุด วิทยุสื่อสารเสีย ฯลฯ และเมื่อส่งซ่อมก็ใช้เวลานานหรือซ่อมไม่ได้ เพราะไม่มีอะไหล่ | ![]() 15 | ![]() 9 | 1. ประสิทธิภาพในการดับเพลิงลดลง 2. เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (รถยุโรป)ในการดูแลและซ่อมแซม 3. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน ไม่มีความมั่นใจ 4. เมื่อรถดับเพลิงเกิดอุบัติเหตุอาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานถูกสอบวินัย จ | 1. ความล่าช้าในการระงับเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพยสินของประชาชนในวงกว้างมากขึ้น2. ประชาชนบริเวณโดยรอบสถานที่เกิดเหตุได้รบผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ยาวนานขึ้น | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
14 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | อัคคีภัย | 2.4 | 2.4 งบประมาณ สวัสดิการและกำลังคน ไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงาน | 1) เจ้าหน้าที่มีงานรับผิดชอบหลายด้าน ทั้งงานรักษาการณ์ เข้าเวรประจำ งานปฏิบัติการงานกู้ภัยงานสาธารณภัย ฯลฯ และบางคนขอย้ายกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดสวัสดิการที่มีไม่จูงใจเพียงพอที่จะอยู่ปฏิบัติงานกับกรุงเทพมหานครนอกจากนี้ อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ยังไม่สัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบการจัดสรรเจ้าหน้าที่มาบรรจุทดแทนมีความล่าช้า มีตำแหน่งว่างนานมาก | ![]() 16 | ![]() 9 | 1. ประสิทธิภาพในการทำงานช้าลง การระงับเหตุล่าช้าความเสียหายเพิ่มมากขึ้น 2. เจ้าหน้าที่ขาดขวัญกำลังใจและมีภารกงานเพิ่มขึ้นเกิดWork Load | (not set) | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
15 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | แผ่นดินไหว | 3 | แผ่นดินไหว | กรุงเทพมหานครอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรืออาจจะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนต่างๆของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ และพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นดินอ่อน เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะสามารถขยายความรุนแรงอีกประมาณ 2 - 3 เท่าตัว | ![]() 5 | ![]() 4 | หากเกิดแผ่นดินไหว แม้จะอยู่ในระยะไกล ก็สามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะอาคารบ้านเรือนและตึกสูงที่ก่อสร้างมาโดยไม่ได้ออกแบบให้รองรับการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งอาจพังทลายลงทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก | 1. ประชาชนได้รับผลกระทบเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
16 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | ขยะ | 4.1 | 4.1 ปริมาณขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณสูง และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการกำจัด | 1. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคและการสร้างขยะ
2. พฤติกรรมและวัฒนธรรส่งผลต่อปัญหาขยะล้นเมือง
3. ระบบกำจัดขยะยังเหมาะสมกับการจัดการขยะแยกประเภท ไม่สามารถเก็บขยะไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของขยะแต่ละประเภทได้
4. มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการรีไขเคิล และการคัดแยกขยะ และการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ยังไม่ชัดเจน
5. ระบบคัดแยกมูลฝอยไม่สัมพันธ์กับระบบการเก็บขน ขนส่ง และเทคโนโลยีการกำจัด
6. ระบบการขัดแยกและนำขยะกลับไปใช้ปะโยชน์ในปัจจุบัน เป็นการคัดแยกตามความสมัครใจ ซึ่งมาตรการของรัฐในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้บริโภคคัดแยกขยะ ไม่เพียงพอ ขาดความต่อเนื่อง | ![]() 20 | ![]() 12 | 1. ปริมาณขยะจำนวน 10,000 ตันต่อวัน จะตกค้างหากระบบการขนส่งขยะหยุดลง และและทำให้การกำจัดขยะมีความยากลำบากและล้าช้ามากขึ้น 2. ภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดขยะค่อนข้างสูง | 1. ขยะจะตกค้างในบ้านเรือนและในรถเก็บขนมูลฝอย ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็น ทัศนอุจาด และเกิดการแพร่กระจายของพาหะนำโรคและและเชื้อโรค ส่งผลต่อสุขภาพกายแลจิตใจของประชาชน 2. ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผลพิษทั้งทาง น้ำ ดินและอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมกำจัดให้ถูกวิธี จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ปี พ.ศ. 2566 กรงุเทพมหานครมีปริมาณขยะที่ไม่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ 8,808 ตัน/วัน คิดเป็นร้อยละ 69.09 ของปริมาณขยะทั้งหมด 12,780 ตัน/วัน | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | หน่วยงานหลัก ๑. สำนักสิ่งแวดล้อม๒. สำนักอนามัย๓. สำนักเทศกิจ๔. สำนักงานเขต๕. กรมควบคุมมลพิษ๖. กรมโรงงานอุตสาหกรรม |
17 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | ขยะ | 4.2 | 4.2 สารเคมีและวัตถุอันตรายรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้หรือระเบิดระหว่างการใช้ บรรจุ ขนส่งและการเก็บรักษา | 1) ผู้รับผิดชอบไม่ระมัดระวัง หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง การใช้บรรจุ และเก็บรักษา นอกจากนี้ยังมีการลักลอบขนถ่ายสารอันตรายและขยะอันตรายในที่สาธารณะหรือในสถานประกอบการ
วัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยง 1) เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อสุข | ![]() 12 | ![]() 9 | การรั่วไหลของสารเคมี และวัตถุอันตรายมีความเข้มข้นของสารเคมีและวัตถุอันตรายสูงเกิดเหตุเพลิงไหม้และระเบิด จนเกินศักยภาพในการควบคุมของกรุงเทพมหานคร | 1. กระทบต่อสุขภาพและชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน 2. ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | หน่วยงานหลัก๑. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ กทม.๒. สำนักสิ่งแวดล้อม ๓. สำนักอนามัย ๔. สำนักการโยธา ๕. สำนักงานเขต หน่วยงานสนับสนุน ๑. โรงพยาบาลในสังกัดกทม.๒. ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ๓. ศปภ.กทม. และศปภ.เขต ๔. สถานีตำรวจ ๕. กรมควบคุมมลพิษ ๖. กรมโรงงานอุตสาห |
18 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | น้ำอุปโภคและน้ำเสีย | 5.1 | 5.1 แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาได้รับการปนเปื้อน | 1) ประชาชนลักลอบทิ้งสารเคมีและวัตถุอันตรายใกล้คลองประปาทิ้งของเสีย ขยะ ใกล้แหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกชะลงไปในแหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำ โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้รับการบำบัดลงในแหล่งน้ำ เกิดภาวะน้ำท่วมไหลทะลักเข้าไปในคลองประปา รถขนส่งสารเคม | ![]() 8 | ![]() 4 | 1. คุณภาพน้ำและน้ำใต้ดินที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคอาจปนเปื้อนโลหะหนัก กรุงเทพมหานครและมีต้นทุนในการฟื้นฟูแหล่งน้ำ | 1. คุณภาพน้ำและน้ำใต้ดินที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคอาจปนเปื้อนโลหะหนัก ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนนอกจากนั้น ยังส่งผลต่อระบบนิเวศน์ พืช สัตว์ และห่วงโซ่อาหาร | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | - สำนักสิ่งแวดล้อม 1 สำนักการระบายน้ำ 2. สำนักอนามัย 3. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4. สำนักการโยธา 5. สำนักงานเขต 6. สำนักการแพทย์ 7. สำนักเทศกิจ ๘. สำนักผังเมือง ๙. โรงพยาบาล (กทม.) ๑๐. ศปภ.กทม. และเขต ๑๑. ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. หน่วยงานที่เกี่ |
19 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | น้ำอุปโภคและน้ำเสีย | 5.2 | 5.2 การปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำบริเวณผิวดิน ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียในแหล่งน้ำและน้ำใต้ดิน | 1) ประชาชนลักลอบทิ้งสารเคมีและวัตถุอันตราย ขยะมูลฝอย กากไขมันขยะติดเชื้อ และสิ่งปฏิกูลใกล้กับแหล่งน้ำ สารเคมีในการเกษตร การเผาขยะ น้ำเสียจากโรงงาน ไหลลงสู่แหล่งน้ำและน้ำใต้ดินโดยไม่ผ่านการบำบัดซึ่งเป็นเพราะประชาชนขาดความเข้าใจ ขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อส | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. คุณภาพน้ำและน้ำใต้ดินที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคอาจปนเปื้อนโลหะหนัก กรุงเทพมหานครต้องใช้ทรัพยากร ในการบำบัดและมีต้นทุนในการฟื้นฟูแหล่งน้ำ | 1. ผลที่เกิดจากความเสี่ยงจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคที่อาจปนเปื้อนโลหะหนักส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยตรงนอกจากนั้น ยังส่งผลต่อระบบนิเวศน์ พืช สัตว์ และห่วงโซ่อาหาร และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งน้ำ | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | หน่วยงานหลัก ๑. สำนักสิ่งแวดล้อม ๒. สำนักป้องกันฯ ๓. สำนักอนามัย ๔. สำนักงานโยธา ๕. สำนักการระบายน้ำ ๖. สำนักงานเขต หน่วยงานสนับสนุน ๑. โรงพยาบาลสังกัด กทม. ๒. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓. ศปภ.กทม. และเขต ๔. สถานีตำรวจ ๕. กรมควบคุ |
20 | E (environment)- สิ่งแวดล้อม | มลพิษทางอากาศ | 6 | มลพิษทางอากาศและเสียงเกินค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) เกินค่ามาตรฐาน | 1) ยานพาหนะที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น รถยนต์เรือ ฯลฯ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ อาทิ ควันดำ ฝุ่นขนาดเล็ก PM10, PM2.5
2) การก่อสร้างอาคาร ใช้รถบรรทุกรถขนส่งคนงาน ฯลฯ ทำให้เกิดฝุ่นละออง
3) โรงงานอุตสาหกรรม/สถานประกอบการปล่อยมลพิษทางอากาศ
4) การเกิดเหตุไฟไหม้หญ้าขยะปล่อยมลพิษโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก
5) ฌาปนสถานปล่อยมลพิษทางอากาศ
6) กิจการค้าที่เป็นอันตราย อาทิ กิจการแพลนท์ปูน กิจการพ่นสีรถยนต์ กิจการหลอมโลหะ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
วัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยง
1) เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว
2) เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน | ![]() 20 | ![]() 9 | 1. มลพิษทางอากาศและเสียงในพื้นที่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและไม่จำกัดขอบเขตขอบปัญหาได้อย่างัดเจน ไม่สามารถควบคุมต้นตอปัญหาได้ ทำให้การแก้ไขปัญหาของกรุงเทพมหานครทำได้ยากขึ้นและเกิดข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทจากภาคประชาชนมากขึ้น | 1. การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นโดยตรงทั้งโรคภัยที่เกิดขึ้น ความสามารถในการทำงานลดลง ระบบเศรษฐกิจที่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา และสูญเสียความสามารถในการหารายได้ของประชาชนตลอดจนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | หน่วยงานหลัก ๑. สำนักสิ่งแวดล้อม ๒. สำนักป้องกันฯ ๓. สำนักอนามัย ๔. สำนักการโยธา ๕. สำนักเทศกิจ ๖. สำนักงานเขต ๗. สำนักงานประชาสัมพันธ์ |
21 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.1 | 7.1 เกิดอาชญากรรม | สถานที่เปลี่ยว ลับตาคน มืดสลัวไม่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรไปมา ที่รกร้าง อาคารร้าง หน้าสถานศึกษา สถานบันเทิงป้ายรถประจำทาง ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ | ![]() 5 | ![]() 4 | 1. กรุงเทพมหานครและภาครัฐไม่สามารสร้างควรปลอดภัยให้กับประชาชนและไม่สามารถและไม่ได้รับความเชื่อมมั่นจากประชาชน 2. กรุงเทพมหานคร และภาครัฐสูญเสียทรัพยากร และมีภาระงานในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น 3. เกิดผลกระทบกับประเทศเศรษฐกิจ สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว ปัญหาสังคม และการเมือง | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต หวาดกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถิติการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2565 ความผิดต่อชีวิตร่างกาย 2,363 กรณีควาผิดต่อทรัพย์ 8,047 กรณี รวม 10,410 กรณี คิดเป็นร้อยละ 15.74 ของประเทศที่ 66,125 กรณี | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
22 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.2 | 7.2 เกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในพื้นที่กรุงเทพ | 1) มีปริมาณรถจำนวนมาก
2) มีผู้ค้าจำหน่ายสินค้าบนผิวจราจรและทางเท้า
3) ผู้ขับขี่ขาดวินัยจราจรไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร | ![]() 16 | ![]() 4 | 1. กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดการจราจร และสร้างความคล่องตัวในการเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวได้ 2. ส่งผลกระทบกับการเรียนการสอน และการดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนบริเวณหน้าโรงเรียน | 1. จราจรติดขัด เสียเวลาเดินทาง 2. เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน จากรายงานสถิติจราจร ปี 2565 สถิติอุบัติเหตุทางจราจรของ กทม.มี 31,122 คดี คิดเป็นร้อยละ 49.50 ของจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมดของประเทศ 62,869 คดี มีผู้เสียชีวิต 490 ราย บาดเจ็บสาหัส 869 ราย | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
23 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.3 | 7.3 เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ท่อประปาแตก ไฟฟ้ารั่ว ฯลฯ | 1) ระบบสาธารณูปโภคมีสภาพไม่ดีไม่พร้อมใช้งาน ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและชำรุด เพราะขาดการบำรุงรักษา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. การสื่อสารขัดข้อง เช่นสายเคเบิล สายโทรศัพท์ ฯลฯ ชำรุดเสียหายส่งผลกระทบต่อการทำงาน 2. ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซม และแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย 2. การจราจรติดขัด 3. เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
24 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.4 | 7.4 เกิดอุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ | 1) ไม่มีมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างที่ดี ขาดการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง | ![]() 5 | ![]() 3 | 1. กรณีเกิดในการก่อสร้างภาครัฐทำให้งานก่อสร้างมีความล่าช้า 2. กรุงเทพมหาครต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มในการการ่อสร้างและการแก้ไขปัญหา | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 2. ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย จากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2567 พบว่า ในปี 2562 มีการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างทั้งสิ้น 11,599 กรณี คิดเป็นร้อยละ 12 จากอุบัติเหตุทั้งหมด 94,906 กรณี ต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้าง 186 คน จากผู้เสียชีวิต 639 คน คิดเป็นร้อยละ 29 | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 3 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
25 | S (social)-สังคม | ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 7.5 | 7.5 เกิดอุบัติเหตุในระบบขนส่งสาธารณะ | 1) ผู้ใช้รถใช้ถนน/ ขนส่งสาธารณะขาดวินัย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรกฎหมายอื่น ๆ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง | ![]() 8 | ![]() 6 | 1. ทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหาย 2. กรุงเทพมหานคร/หน่วยงานต้องรับผิดชอบชดใช้ให้คู่กรณี หรือเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดีทางศาล 3. ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบขนส่งมวลชน | 1. ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 2. ประชาชนสูญเสียทรัพย์สิน 3. การเดินทางไม่สะดวกจากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติจราจรทางบกปี 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนรถขนส่งสาธารณะที่เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1,551 คัน เฉลี่ยวันละ 4 ถึง 5 คัน สูงเป็น อันดับหนึ่ง ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 31.91 จากอุบัติเหตุในระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมด 4,860 คัน | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการจราจรและขนส่ง 2. สำนักการโยธา 3. สำนักสิ่งแวดล้อม 4. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5. สำนักเทศกิจ 6. สำนักอนามัย 7. สำนักงานเขต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายนอก : 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เจ้ |
26 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.1 | โรคระบาด | 1) ในภาวะน้ำท่วมขังมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อได้ โดยเฉพาะขณะน้ำท่วมและหลังน้ำลด เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง อุจจาระร่วง ฉี่หนู ฯลฯ | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบสุขาภิบาลน้ำ อาหารและะชาชนสิ่งแวดล้อมไม่ดี กรุงเทพมหานครต้องวางมาตรการดูแลเพิ่มขึ้น 2. เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทั้งในพื้นที่และในวงกว้างและกรุงเทพมหานครเกินทรัพยากรและศักยภาพในการดูแลของกรุงเทพมหานคร 3. เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของ กทม. | 1. ประชาชนที่มีการเจ็บป่วยอาจมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ 2. ประชาชนมีความกังวลและเกิดภาวะเครียด | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักอนามัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการแพทย์ 2. สำนักสิ่งแวดล้อม 3. สำนักงานเขต 4. สำนักการศึกษา 5. สำนักงบประมาณ 6. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 7. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 8. สำนักการคลัง |
27 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.2 | โรคระบาด | 2) การเคลื่อนย้ายประชากรสูง เนื่องจากมีช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศที่สะดวก หลายช่องทางได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) ท่าอากาศยานดอนเมือง และ
ท่าอากาศยาน อีกทั้ง กรุงเทพฯยังเป็น ศูนย์กลางคมนาคม และการค้าขายเป็นประจำ ซึ่งอาจนำโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคติดต่อที่อุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือเมอร์ส โรคที่มาจากสัตว์นำโรค เช่น โรคฉี่หนู กาฬโรคปอด
โรคไวรัส ซิการ์ ฯลฯ เข้ามาระบาดได้ | ![]() 20 | ![]() 9 | 1. ความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ 2. ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนทางเศรษฐกิจ 3. สถานที่ เครือข่ายสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย | 1. ประชาชนเกิดความหวาดกลัวได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และมีผลต่อสุขภาพจิต 2. ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐได้รับความเสียหาย | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | สปภ |
28 | S (social)-สังคม | โรคระบาด | 8.3 | โรคระบาด | 3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น โรคไข้หวัดนกเกิดจากการอพยพของนกในฤดูหนาว โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น | ![]() 9 | ![]() 4 | 1. มีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่และวงกว้างและไม่สามารถจำกัดขอบเขตของการแพร่ระบาดได้ 2. ระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการรักษา หรือให้ภูมิคุ้มกันแต่ประชาชน | 1. ประชาชนเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 2. ประชาชนที่เกิดการเจ็บป่วยอาจมีอาการรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้ 3. ประชาชนมีความกังวลและตื่นตระหนก 4. เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศ | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักอนามัย |
29 | S (social)-สังคม | การก่อการร้าย | 9.1 | 9.1 ขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติมีแนวโน้มที่จะใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ในการก่ออาชญากรรมมากขึ้น | 1. กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ที่สามารถเข้าออกประเทศได้ง่าย
2. ประเทศไทยมีการส่งเสริมการท่องที่ยวทำให้อาชญากรข้ามชาติส่วนหนึ่งอาศัยโอกาสเข้าประเทศในลักษณะของนักท่องเที่ยว
3. ประเทศไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูงมากนัก
4. สามารถหาซื้อยาเสพติด หรืออาวุธเพื่อใช้ในการกระทำผิดได้ จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาชากรเข้ามาในประเทศ
5. ทำหนังสือเดินทางปลอมเพื่อใช้ขณะพักอาศักยอูยู๋ในพื้นที่ได้ไม่ยาก | ![]() 9 | ![]() 6 | 1. ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบความปลอดภัยของรัฐ 2. กระทบต่อเศรษฐกิจการลงทุน และการท่องเที่ยว 3. ขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน และนานาชาติมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 4. เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อยากไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง 5. กทม. ต้องสูญเสียงบประมาณในการป้องกันและฟื้นฟูความเสียหายส่งผลกระทบต่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร | 1. ประชาชนเกิดความหวาดกลัวเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ มีผลต่อสุขภาพจิต 2. ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐได้รับความเสียหาย 3. ประชาชนถูกหลอกลวง ฉ้อโกงจากอาชญากรรมข้ามชาติ ต้องสูญเสียทรัพย์สิน | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | - สำนักงานปกครองและทะเบียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย2. สำนักเทศกิจ3. สำนักการจราจรและขนส่ง4. สำนักการโยธา5. สำนักการแพทย์6. สำนักอนามัย7. สำนักพัฒนาสังคม8. สำนักสิ่งแวดล้อม9. สำนักงานเขต |
30 | S (social)-สังคม | ความขัดแย้งฯ | 10 | ความขัดแย้งทางสังคม | 1. กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางของประเทศ ทั้งด้านการบริหาร เศรษฐกิจการศึกษา คมนาคม ฯลฯ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ ไม่ว่าจะเกิดในพื้นที่ใดของประเทศ ทั้งจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหรือผลกระทบในการประกอบอาชีพหรือจากการดำเนินนโยบายของรัฐก็มักจะมีกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเดินทางเข้ามาเรียกร้องหรือแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่กทม.เสมอ ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาลรัฐสภา องค์กรอิสระ กระทรวง ทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานทหาร ตำรวจกระจายไปทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในบางครั้งการเข้ามาเรียกร้องหรือแสดงสัญลักษณ์มีพัฒนาการไปถึงขั้นการจัดให้มีการชุมนุมยืดเยื้อ ปัญหาที่พบเช่น ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับแรงงานทั้งในประเทศและต่างด้าว การจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่ การขึ้นค่าโดยสารนักเรียนตีกัน บุกรุกที่สาธารณะ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ฯลฯ | ![]() 4 | ![]() 2 | 1. ความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน 2. การบริหารงานทางการเมืองไม่มีเสถียรภาพ 3. กระทบต่อความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ 4. เกิดการแสวงหาอำนาจพวกพ้อง 5. มีการรวมตัวหรือจับกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ 6. มีการร้องเรียนหรือร้องทุกข์กับหน่วยงานต่างๆ 7. ความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภค เช่น - ขโมยทรัพย์สิน สายไฟไฟสปอร์ทไลท์ - การทำลายทรัพย์สิน การเจาะถนน เพื่อตั้งสมอบก - การทำลายกล้อง CCTVเพื่อไม่ให้บันทึกภาพ - การเจาะท่อประปา เพื่อต่อ น้ำใช้ 8. สูญเสียงบประมาณแผ่นดินในการแก้ไขปัญหา | 1. การจราจรติดขัด 2. ประชาชนสัญจรไปมาบนทางเท้าไม่สะดวก เนื่องจากการตั้งกีดขวางของ - ร้านค้าขายของที่ระลึก - เวทีผู้ชุมนุมตั้งบนพื้นถนน - รั้วเหล็กผู้ชุมนุมนำมากั้นบริเวณทางเท้า - จอโปรเจ็คเตอร์ - ห้องน้ำ ห้องสุขา - ที่พักชั่วคราว 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุมนุมและบริเวณข้างเคียง ได้แก่ - ขยะมูลฝอย - กลิ่นเหม็น - เสียงดัง - ความสะอาดและสุขอนามัย 4. ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. ความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน 6. ผลกระทบทางด้านจิตใจ 7. แตกความสามัคคีแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายของคนในชาติ 8. ผลกระทบด้านการศึกษา 9. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจธุรกิจ การค้า การส่งออกการลงทุน การท่องเที่ยว 10. คุณภาพการดำเนินชีวิตตกต่ำ 11. ความขัดแย้งทางศาสนามักจะมีความรุนแรง พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อความเชื่อ อุดมการณ์ 12. เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม"รวยกระจุก จนกระจาย" | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : - สำนักเทศกิจ - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - สำนักงานปกครองและทะเบียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักการแพทย์ 2. สำนักอนามัย 3. สำนักการโยธา 4. สำนักสิ่งแวดล้อม 5. สำนักการจราจรและขนส่ง 6. สำนักพัฒนาสังคม 7. สำนักงบประมาณฯ 8. สำนักการค |
31 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.1 | 11.1 ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น | 1) จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชาชนวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็ก นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลง และมีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังโดยปราศจากคู่ชีวิตที่จะช่วยเหลือและปรึกษากันในบั้นปลายชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหญิงซึ่งการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้การพึ่งพาทางเศรษฐกิจและการเกื้อหนุนทางสังคมระหว่างประชากรวัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป ศักยภาพของวัยแรงงาน ในการสนับสนุนผู้สูงอายุลดลง ในส่วนของผู้สูงวัยก็มีอายุยืนยาวขึ้น ต้องเผชิญกับภาวะการเจ็บป่วยและการช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีผู้สูงอายุจำนวนประมาณ 767,516 คน ที่จะต้องดูแลและจัดสวัสดิการ
หมายเหตุจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1.2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2503 เป็น 8.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 เป็นร้อยละ 13.2) ในขณะที่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่รองรับผู้สูงอายุไม่เพียงพอ นอกจากนี้ กฎหรือระเบียบต่าง ๆ ยังทำให้ผู้สูงอายุหลายรายไม่สามารถเข้ารับบริการจากองค์กรของรัฐและเอกชนได้ | ![]() 16 | ![]() 12 | 1. จำนวนแรงงานในวัยแรงงานลดลงทำให้กรุงเทพมหานครและหน่วยงานภาครัฐขาดกำลังคนในการเข้ามาทำงานร่วมกับกรุงเทพมหาคร 2. การจัดเก็บภาษีได้ลงลงรายได้และงบประมาณของกรุงเทพมหานครลดลง 3. กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น | 1. ผู้สูงอายุขาดคุณภาพชีวิตที่ดี 2. ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลอย่างเสมอภาคและทั่วถึง 3. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ 4. ผู้สูงอายุขาดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม 5. ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพ หรือภาวะพึ่งพาสูงเพิ่มขึ้น 6. ผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว 7. รายได้ครัวเรือนไม่เพียงพอ | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล2. สำนักพัฒนาสังคม3. สำนักอนามัย4. สำนักการแพทย์5. สำนักการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : 1. สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก :1. กระทรวงแรงงาน 2. กระทรวงเกษตรฯ3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4. กระทรวงม |
32 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.2 | 11.2 การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรและประชากรแฝง | 1) ถิ่นฐานเดิมมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีและไม่มีคุณภาพ มีทรัพยากรจำกัด | ![]() 25 | ![]() 16 | 1. กรุงเทพมหานครต้องรองรับการดูแลประชากรแฝงมากขึ้น2. การที่มีประชากรแฝงจำนวนมากและไม่สามารถกำหนดจำนวนและลักษณะที่ชัดเจนทำให้ไม่สามารถประมาณการงบประมาณและบริการที่ตัองจัดบริการรองรับได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ3. ทรัพยากรลดลง ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต | 2. ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย แออัดคุณภาพชีวิตไม่ดี3. ได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ4. ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน5. ปัญหาครอบครัวความรุนแรงในครอบครัว6. ปัญหาสังคม7. อาชีพและรายได้ไม่เพียงพอ | 25 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักงานปกครองและทะเบียน 2. สำนักพัฒนาสังคม 3. สำนักการแพทย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงมหาดไทย |
33 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.3 | 11.3 การเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานต่างด้าว | 1) ถิ่นฐานเดิมมีค่าจ้างแรงงานต่ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และคนไทยไม่ประกอบอาชีพบางประเภท จึงเป็นโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้ามา การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน | ![]() 25 | ![]() 20 | 6. ไม่สามารถจัดบริการขั้นพื้นฐานให้เพียงพอต่อความต้องการได้2. ต้องใช้ทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข 5. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอ7. การทำงานนอกกฎหมายที่กำหนด | 3. ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. ปัญหายาเสพติด 1. แรงงานไทยระดับล่างถูกแย่งงาน ปัญหาว่างงาน 8. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม6. การรับบริการขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ | 25 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : สปท. สพส. สนพ. สนอ.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงมหาดไทย - กระทรวงแรงงาน - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
34 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.4 | 11.4 ประชากรเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะมีบุตรเร็วขึ้น | 1) ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษาและการยับยั้งชั่งใจ ดำเนินชีวิตตามกระแสของสังคม ปัญหาชีวิตและครอบครัวที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ | ![]() 12 | ![]() 8 | 1. แม่และเด็กไม่มีคุณภาพและไม่ได้รับการพัฒนาตามวัย 2. เป็นภาระของสังคมเมื่อถูกทอดทิ้ง | (not set) | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : สนศ. สนอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขต หน่วนงานภายนอก : - กระทรวงสาธารณสุข - กระทรวงศึกษาธิการ - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าภาพหลัก : สนพ. สนอ. สนท. สปท. |
35 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.5 | 11.5 อัตราการตายของผู้ชายสูงขึ้น | 1) ผู้ชายมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ค่อยดูแลสุขภาพ และทำงานที่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง | ![]() 9 | ![]() 6 | 1.. ขาดแรงงานที่เป็นเพศชาย | 1. ขาดผู้นำครอบครัว 2. สัดส่วนของเพศชาย/หญิงไม่สมดุล | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : - สำนักงานเขตหน่วนงานภายนอก : - กระทรวงสาธารณสุข - กระทรวงมหาดไทย - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
36 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.6 | 11.6 ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ | 1) การคิดค้นวิทยาการสมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ และแนวโน้มการหันมาดูแลสุขภาพของตนเองแบบเชิงรุกมากขึ้น | ![]() 9 | ![]() 6 | คนอายุยืนขึ้น รัฐต้องรับภาระในการดูแลเพิ่มขึ้น สัดส่วนประชากรไม่สมดุลกับงบประมาณ การจัดระบบ สาธารณูปโภคและบริการ ด้านต่าง ๆ ของรัฐต้องเพิ่มขึ้น | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สนพ. สนอ. สพส. สวท. |
37 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.7 | 11.7 อัตราการเกิดลดลง | 1) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและค่านิยมทางสังคม อาทิเช่น ผู้หญิงที่ทำงานมีจำนวนและอัตราที่สูงขึ้น การแต่งงานช้าลงทำให้ค่าเฉลี่ยคู่สมรสมีอายุสูงขึ้น ครอบครัวมีบุตรคนแรกช้ากว่าในอดีต แนวโน้มของการเป็นโสดที่เพิ่มมากขึ้น การให้คุณค่ากับความสำเร็จของชีวิตมากกว่าการมี
2) นโยบายหรือมาตรการจูงใจในการมีบุตรไม่ชัดเจนบุตร | ![]() 20 | ![]() 12 | 1. ประชากรลดลง การลงทุนในบริการสาธารณะหรือโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นการขาดผู้ใช้งาน 2. ขาดแรงงานในภาคธุรกิจและเกษตรกรรม | 1. ครอบครัวเดี่ยวจะมากขึ้น รวมถึงช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น เนื่องจากการมีบุตรช้าลง 2. รูปแบบสังคมเปลี่ยนไป คนจะมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง และเน้นการรวมกลุ่มในโลกดิจิทัลมากขึ้น | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : 1. สำนักอนามัย 2. สำนักการแพทย์ 3. สำนักพัฒนาสังคม |
38 | S (social)-สังคม | การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ | 11.8 | 11.8 การเข้ามาของกลุ่มคนพเนจรดิจิทัล (Digital Nomad) | 1) ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อาทิ ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้กรุงเทพมหานครถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นเป้าหมายของ Digital Nomad ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนถึงล้านคน/ปี
2) ความเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นแรงจูงใจให้กลุ่ม Digital Nomad เข้ามาท่องเที่ยวไปพร้อมกับการทำงาน | ![]() 6 | ![]() 3 | 1. จำนวนของผู้ใช้บริการสาธารณะมากขึ้น | 2. ค่าครองชีพสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่ม Digital Nomad มีกำลังซื้อสินค้าที่สูงกว่าคนไทย | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 3 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :1. กระทรวงการต่างประเทศ |
39 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.1 | 12.1 การท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ได้ | 1. กรุงเทพมหานครมีเมืองคู่แข่งด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเดียวกันซึ่งแบ่งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานคร
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเทียวในพื้นที่กรุงเทพมหานครสูงกว่าเมืองอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
3. ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครเป็นทรัพยากรที่มีอยู่เดิม กรุงเทพมหานครไม่ได้มีการสร้างทรัพยากรการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพิ่มเติมเท่าที่ควร | ![]() 15 | ![]() 12 | 1. ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครลดลง 2. แหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครขาดแหล่งทุนในการดูแล บำรุงรักษา | 1. ศักยภาพด้านการเงินและสภาพคล่องของผู้ประกอบการลดลงและกระทบกับการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2. รายได้ของผู้ประกอบการส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขัน | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | - สำนักวัฒนธรรมกีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขต |
40 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.2 | 12.2 ด้านการลงทุนและการประกอบชีพ | 1. ต้นทุนในการประกอบธุรกิจในพื้นที่กรุงเทพค่อนข้างสูงและมีขันตอนในการขออนุญาติยุ่งยากทำให้ผู้ประกอบการหันไปพื้นที่อื่น
2. ค่าครองชีพและต้นทุนในการประกอบอาชพีของประชาชนกรุงเทพสูงกว่าต่างจังหวัดและค่าที่ดินและที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพข้อนค่างสูง
3. ปัญหาทุนใหญ่ผูกขาดในระบบธุรกิจของบริษัทรายใหญ่มีสัดส่วนการถือครองตลาดมากและในหลายประเภทธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยทำธุรกิจด้วยความยากลำบาก
4. ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายย่อยยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ และไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตลาด | ![]() 10 | ![]() 4 | 1. ศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการในพื้นที่ลดลง 2. ผู้ประกอบการ และนักลงทุนต่างประเทศ ไม่สนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ 3. ผู้ประกอบการรายย่อยขาดช่องทางการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ครอบครัวกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ | - | 10 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักการคลัง - สำนักพัฒนาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเขต |
41 | S (social)-สังคม | ด้านเศรษฐกิจ | 12.3 | 1.2.3 ด้านหนี้ครัวเรือน | 1. สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาโดยตลอด ที่ผ่านประชาชนคนไทยมีการกู้หนี้ยืมสินกันเยอะมาก จนทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่สูง โดยข้อมูลจารกสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไตรมาส 3 ปี 2565 ไทยมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 14.90 ล้านล้านบาท คิดเป็น 86.8% ต่อ GDP | ![]() 12 | ![]() 8 | 1. ปัญหาหนี้สาธารณเพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อเนื่องไปยังปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ 2. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และรายได้ของกรุงเทพมหานคร | 1. ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ กระทบกับสภาพคล่องของครัวเรือน 2. คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ได้รบผลกระทบ 3. เสี่ยงกับการทวงหนี้นอกระบบ | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักพัฒนาสังคมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเขต |
42 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงเชิงยุทธศาตร์ | 13.1 | 13.1 ความเหมาะสมสอดคล้องของการกำหนดยุทธศาสตร์กับสภาพปัญหาสภาพการปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน | 1) การกำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานยังคงยึดถือรูปแบบเป้าหมายหรือวิธีการดำเนินการแบบเดิม และมีลักษณะตายตัวและไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะที่เรียกว่า“VUCA World”คือมีความผันผวน (Complexity) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) และความกำกวม (Ambiguity)ค่อนข้าสูง | ![]() 15 | ![]() 6 | 1. การดำเนินงานพัฒนาเมืองผิดทิศทางและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงรวมทั้งไม่ต้องและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน 2. การดำเนินตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลาจะส่งผลให้แผนกลยุทธ์นั้นๆไม่ประสบผลสำเร็จได้ | 1. ประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา และไม่ได้รับบริการที่ตรงความต้องการ | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร |
43 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงเชิงยุทธศาตร์ | 13.2 | 13.2 การแปลงแผนและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ไม่มี | 1. โครงการและกิจกรรมซึ่งสนับสนุนการบรรุลเป้าหมายของยุทธศาสตร์ไม่ได้รับงบประมาณดำเนินการ
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ไม่ให้ความสำคัญกับการกำหนดโครงการ/กิจกรรมมารองรับและสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เข้าใจวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดของแต่ละยุทธศาสตร์ทำให้การกำหนดโครงการ/กิจกรรมมาบรรจุในแผยไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ไม่มีนัยสนุคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย | ![]() 16 | ![]() 9 | 1. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และไม่สามารถสร้างประโยชน์หรือแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ 2. เกิดความสูญเป้าของงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ | 1. ประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา และบริการตามที่ต้องการ | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
44 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงเชิงยุทธศาตร์ | 13.3 | 13.3 การประเมินการดำเนินงานตามยุทธศาสสตร์ มีความล่าช้าและขาดความครอบคลุม | 1. ขาดข้อมูลสำหรับการติดตามประเมินผล
2. การประมินเน้นการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเป็นหลักทำให้ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินไม่ครบถ้วนและขาดการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนและสังคม
3. การประเมินผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์ข้อมุลในการประมินไม่เป็นไปสในแนวทางเดียวกันและขาดมาตรฐาน
4. การดำเนินงานประเมินดำเนินการในรูปของคณะกรรการซึ่งอาจทำให้ให้มีกระบวนการและขึ้นตอนการดำเนินงานเพิ่มขึ้นและมี่ความล่าช้า | ![]() 12 | ![]() 6 | 1. ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และพัฒนายุทธศาสสตร์รวมทั้งการตัดสินใจขาดความครบถ้วน 2. ผลกระทบจากการขับเคลื่อนยุทธศาตร์ที่เกิดกับประชาชนจากการดำเนินงาไม่ได้รับการแก้ไขเนื่องจากขาดข้อมูลสะท้อนกลับ 3 ผลการประเมินมีความล่าช้าไม่ทันกับระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อการกำหนดและพัฒนายุทธศาสตร์ในระยะต่อไป | - | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
45 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.1 | 14.1.1 เกิดสาธารณภัยหรืออัคคีภัย | 1) อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด
2) ไฟฟ้าลัดวงจร
3) กระแสไฟฟ้าเกิน
4) ไฟกระชากจากสายพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน ม.อ.ก.
5) แมลงหรือสัตว์กัดแทะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ หรือสายไฟฟ้า/ สายสัญญาณ
6) ต้นไม้ล้มทับทำให้สายสื่อสารขาด เกิดไฟไหม้สายสื่อสาร
7) ภัยธรรมชาติ ได้แก่ อุทกภัยวาตภัย แผ่นดินไหว
8) วินาศภัย หรือการก่อการร้าย | ![]() 5 | ![]() 2 | 1. เกิดความเสียหายของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และข้อมูล 2. เสียงบประมาณในการซ่อมแซมหรือจัดหาทดแทน 3. ไม่สามารถให้บริการระบบได้อย่างต่อเนื่อง | 1. ประชาชนไม่ได้รับการริการและการบรรเทาสาธารณภัยอย่างทันท่วงที | 5 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก :สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
46 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.10 | 14.1.10 การถูก Black List โดยอุปกรณ์ป้องกันการบุกรุกเครือข่าย (Firewall) จากหน่วยงาน ต่าง ๆ | 1) มีการเก็บข้อมูลหมายเครื่อง(Ip Address) ที่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบอินเทอร์เน็ต จากผู้ผลิตอุปกรณ์ป้องกันการบุกรุกเครือข่าย(Firewall)
2) เครื่องลูกข่ายมีการส่งข้อมูล(Packet) ที่ไม่พึงประสงค์ ไปยังระบบอินเทอร์เน็ตอย่างผิดปกติ | ![]() 2 | ![]() 1 | 1. หน่วยงานจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 2. จะไม่สามารถให้บริการต่อประชาชนได้ | (not set) | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
47 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.11 | 14.1.11 เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการใช้งานและเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสภาพเก่าชำรุดและเสียบ่อย | 1) กรุงเทพมหานครมีทรัพยากรจำกัด จึงอาจจะทำให้บางหน่วยงานไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
2) แนวทางหลักเกณฑ์การจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะงานในปัจจุบัน
3) หน่วยงานไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานระหว่างการยุบสภาพเครื่องเดิมและจัดหาเครื่องทดแทน
4) ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์สำรองสำหรับให้หน่วยงานยืมใช้งานมีจำนวนไม่เพียงพอ | ![]() 9 | ![]() 1 | 1. เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน 2. ภาพลักษณ์ขององค์กรไม่ทันสมัย 3. เครื่องคอมพิวเตอร์เดิมใช้งานมาเป็นระยะเวลานานจึงเสื่อมสภาพ เสียบ่อย และไม่รองรับการปฏิบัติงานโปรแกรมสมัยใหม่ 4 ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ 5. ขาดประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
48 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.12 | 14.1.12 ประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน | 1) ระบบปฏิบัติการ (OS)และโปรแกรม (Software)ในปัจจุบันใช้ทรัพยากรมากขึ้นทำให้เครื่องช้า
2) จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะไม่เหมาะสมกับการใช้งาน | ![]() 9 | ![]() 1 | 1. เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน 2. ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รองรับการใช้งานโปรแกรมในปัจจุบัน | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
49 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.13 | 14.1.13 ขาดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารของกทม. และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ได้แก่มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศมาตรฐานเครือข่ายและ การสื่อสารข้อมูลมาตรฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศมาตรฐานวิชาชีพและสมรรถนะหลักด้านIT | 1) ผู้บริหารไม่เห็นประโยชน์ของการพัฒนาหรือปฏิบัติงานด้านดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานสากลจึงไม่ได้มุ่งเน้นนโยบายด้านดังกล่าว
2) การปฏิบัติเรื่องดังกล่าวของกรุงเทพมหานครยังไม่พร้อมที่จะนำมาตรฐานสากลมาประยุกต์ใช้
3) มาตรฐานสากลมีรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติจำนวนมาก4) ยังไม่มีผลการบังคับใช้อย่างจริงจังในระดับประเทศ | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ไม่สามารถบูรณาการฐานข้อมูลของระบบต่าง ๆ มาใช้ให้บริการประชาชน ปฏิบัติงานและสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร 3. การพัฒนาระบบสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน 4. ข้อมูลไม่ตรงกัน ไม่เป็นปัจจุบันซ้ำซ้อน และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้5. ไม่มีแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจนที่หน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติได้เนื่องจากระเบียบฯไม่ได้ถูกแก้ไข | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
50 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.14 | 14.1.14 ขาดการผลักดันและขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติ | 1) หน่วยงานไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการ
2) แผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้รับการนำไปใช้ในการพิจารณางบประมาณในสภา
3) หน่วยงานไม่ดำเนินกิจกรรม/โครงการที่บรรจุในแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและบุคลากร | ![]() 9 | ![]() 9 | ๑. ทำให้การขับเคลื่อนแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ประสบความสำเร็จ ๒. การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนไม่ทันต่อความต้องการของประชาชน | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
51 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.15 | 14.1.15 การขับเคลื่อนนโยบาย แผนงาน และเป้าหมาย ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครโดยคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานครไม่เป็นไปตามเป้าหมาย นโยบายผู้บริหาร และแผนต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ตามที่กำหนด | 1) หน่วยงานเสนอโครงการโดยกำหนดวัตถุประสงค์ขอบเขตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย นโยบายผู้บริหารและแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่กำหนดไว้
2) หน่วยงานเสนอโครงการไม่เป็นไปตามปฏิทินการเสนอโครงการ
3) หน่วยงานจัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมล่าช้าและไม่ครบถ้วน
4) ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
5) การดำเนินโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานและ/หรือการบูรณาการกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด | ![]() 15 | ![]() 8 | 1. การขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามนโยบายผว.กทม. และแผนปฏิบัติราชการ กทม. ไม่บรรลุผลสำเร็จ ตามที่กำหนด 2. คณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดประชุมได้ตามแผนและส่งผลต่อการประชุมพิจารณาของสำนักงบประมาณฯ 3. ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้โครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4. โครงการด้านเทคโนโลยีไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดได้ | (not set) | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | สยป สดท |
52 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.16 | 14.1.16 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ตอบสนองหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน | 1) การสอบถามความต้องการของผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน
2) ผู้ใช้งานมีความต้องการระบบงานที่หลากหลาย
3) มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือรายละเอียดระบบในระหว่างที่พัฒนาจึงต่างไปจากความต้องการของผู้ใช้งาน
4) เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
5) การเกิด Bugs หรือ Defectsและการแก้ไข Defect ใหม่
6) การเกิด Bugs หรือ Defectsส่งผลให้ Defect เดิมที่เคยแก้ไขไปแล้ว กลับมาในระบบอีกครั้ง | ![]() 16 | ![]() 12 | 1. ผู้ใช้งานไม่อยากใช้ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมา เพราะไม่ตรงกับความต้องการ 2. การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น | (not set) | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
53 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.17 | 14.1.17 ผู้ใช้งานขาดความรู้และทักษะในการใช้งานโปรแกรมระบบงานประยุกต์ ระบบสนับสนุนการทำงาน และทักษะการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น | 1) หลักการของโปรแกรมมีความซับซ้อนและเข้าใจยาก
2) ผู้ใช้งานไม่ได้รับการฝึกอบรมศึกษาจากคู่มือเท่านั้น
3) เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการแก้ไขปัญหา | ![]() 2 | ![]() 1 | 1. การปฏิบัติงานและให้บริการมีความล่าช้า ติดขัด 2. เจ้าหน้าที่ดูแล บำรุงรักษาและแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องปฏิบัติงานมากขึ้น | (not set) | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
54 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.18 | 14.1.18 บุคลากรผู้ดูแลระบบและบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการดูแลแก้ไขปัญหาและพัฒนางานให้ครอบคลุมกับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 1) ข้าราชการที่จบการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีจำนวนน้อย
2) ขาดความก้าวหน้าในตำแหน่งจึงขอโอนย้ายหรือลาออก
3) อัตรากำลังตามโครงสร้างขององค์กรมีจำนวนน้อยและไม่เหมาะสมกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น | ![]() 2 | ![]() 2 | 1. การปฏิบัติงานและการให้บริการมีความล่าช้าติดขัด 2. เจ้าหน้าที่ที่ทำงานทดแทนไม่สามารถดูแลระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่นการดูแลเว็บไซต์และระบบต่างๆของ กทม. 3. ใช้คนไม่ตรงกับงาน ทำให้งานในหน้าที่มีประสิทธิภาพลดลง 4. จ้างบุคลากรในรูปแบบบำรุงรักษา | (not set) | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
55 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.19 | 14.1.19 ผู้มีอำนาจตัดสินใจขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ | 1) ความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นความรู้เฉพาะด้านจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้
2) ผู้บริหารโดยส่วนใหญ่ไม่ได้จบการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเรื่องดังกล่าวมาก่อน
3) มีความรู้พื้นฐาน IT จากการอบรม
4) เมื่อมีการฝึกอบรมแล้วไม่มีการติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับไปวางแผนหรือแก้ไขปัญหาหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน | ![]() 6 | ![]() 4 | 1. ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ไม่ได้รับการอนุมัติ หรือต้องแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักการที่ดี ฯลฯ | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
56 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.2 | 14.1.2 อาคารที่สร้างใหม่ไม่รองรับการติดตั้งระบบสารสนเทศ | 1) การออกแบบอาคารสำนักงานไม่มีการวางโครงสร้างด้านระบบสารสนเทศ | ![]() 4 | ![]() 1 | ๑. อาคารที่สร้างไม่สามารถเข้าใช้งานได้ เนื่องจากไม่รองรับการติดตั้งระบบสารสนเทศ เช่น การเดินสายสัญญาณต่างๆ ที่ต้องมีการเจาะผนังหรือกำแพง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ | (not set) | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก :สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักการโยธา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
57 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.3 | 14.1.3 สายสัญญาณต่างๆ เช่น Fiber Optic ฯลฯ ชำรุดเสียหาย | 1) เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการก่อสร้าง หรือการติดตั้ง
2) คุณภาพของสายสัญญาณไม่ได้มาตรฐานหรือเสื่อม
3) การบำรุงรักษาไม่ดี
4) เกิดจากเหตุทางธรรมชาติเช่น กระรอก หนู กัดสายสื่อสาร หรือต้นไม้ล้มทับทำให้สายสื่อสารขาด
5) เกิดไฟไหม้สายสื่อสาร | ![]() 6 | ![]() 2 | ไม่สามารถใช้งานระบบเครือข่าย และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจะทำให้การตรวจสอบและซ่อมแซมทำได้ล่าช้าเนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นของหน่วยงานใด | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักการจราจรและขนส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
58 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.4 | 14.1.4 ระบบเครือข่ายหลักขัดข้อง | 1) อุปกรณ์ชำรุด
2) สายสัญญาณชำรุดตามสภาพการใช้งานหรือจากอุบัติเหตุ หรือจากภัยธรรมชาติ
3) ระบบไฟฟ้าขัดข้อง | ![]() 8 | ![]() 2 | 1. หน่วยงานของกรุงเทพมหานครไม่สามารถเชื่อมต่อใช้งานระบบสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานและบริการประชาชน | (not set) | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
59 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.5 | 14.1.5 ระบบอินเทอร์เน็ตขัดข้อง | 1) อุปกรณ์ในระบบมีอายุมากกว่า 5 ปี
2) ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประสบปัญหาจากเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิด อาทิ สายไฟเบอร์ขาด | ![]() 8 | ![]() 1 | 1. ไม่สามารถใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้ 2. ประชาชนหรือผู้รับบริการเกิดความไม่พึงพอใจ3. ประชาชนหรือผู้รับบริการไม่สามารถรับบริการจากหน่วยงานได้ | (not set) | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
60 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.6 | 14.1.6 ระบบคอมพิวเตอร์ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | 1) ระบบไฟฟ้า
2) อุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะสม
3) ระบบบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายขัดข้อง
4) การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหลักขัดข้อง | ![]() 9 | ![]() 2 | 1. ข้อมูลเสียหาย 2. ระบบปฏิบัติการโปรแกรมหรือฐานข้อมูลเสียหายต้องมีการติดตั้งใหม่ 3. เสียงบประมาณในการซ่อมแซมหรือจัดหาทดแทน | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
61 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.7 | 14.1.7 ข้อมูลสำคัญและข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล | 1) การบุกรุกโจมตีจากภายนอก
2) การติดไวรัสคอมพิวเตอร์หรือMalware
3) ข้อมูลรั่วไหลจากการเปลี่ยนมือผู้ใช้และการซ่อมแซมเครื่องที่เสีย
4) การเข้าถึงระบบสารสนเทศจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
5) ข้อมูลรั่วไหลจากการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ | ![]() 8 | ![]() 2 | 1. ข้อมูลสำคัญและข้อมูลส่วนบุคคลสูญหายหรือถูกโจรกรรม 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสียหาย 3. ใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ได้ 4. ระบบเครื่องแม่ข่ายหรือลูกข่ายติดไวรัสและแพร่กระจายสู่เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย 5. ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือรูปภาพบนWebsite | (not set) | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
62 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.8 | 14.1.8 ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง และขาดความน่าเชื่อถือ | 1) แต่ละหน่วยงานพัฒนาระบบงานของตนเอง และขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลร่วมกัน
2) ไม่มีหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล | ![]() 8 | ![]() 2 | 1. ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ทำให้การวางแผนและการพัฒนาไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2. ก่อให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน 3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน 4. การพัฒนาระบบสารสนเทศไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปเนื่องจากไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและไม่สามารถใช้ระบบฯร่วมกันได้ | (not set) | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
63 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.1.9 | 14.1.9 การใช้ซอฟท์แวร์ที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์ | 1) แผ่นติดตั้งระบบปฏิบัติการลิขสิทธิ์สูญหาย
2) มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการเวอร์ชันอื่นแทนระบบปฏิบัติการลิขสิทธิ์เดิมที่มีอยู่
3) กรณีเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ทำให้ระบบปฏิบัติการลิขสิทธิ์แบบ 1 user ไม่สามารถติดตั้งใหม่ได้ | ![]() 9 | ![]() 1 | 1. การใช้งานอาจไม่ได้ประสิทธิภาพตามความสามารถของซอฟท์แวร์นั้นๆ 2. ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ 3. การติดไวรัสและแพร่กระจายสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เนื่องจากช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
64 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.1 | 14.2.1 แผนบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561-2565) ไม่ตอบสนองภารกิจของกรุงเทพมหานคร และมีความล่าช้า | 1) การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรหรือภารกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มขึ้น อาจทำให้แผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครไม่ทันสมัย ล่าช้าและไม่ตรงกับบริบทในอนาคต
2) กำหนดตัวชี้วัดในแผนฯ จำนวนมาก หลากหลาย และยากต่อการนำไปปฏิบัติ | ![]() 2 | ![]() 1 | 1. การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์บริหารทรัพยากรบุคคลฯ อาจไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองภารกิจของกรุงเทพมหานครได้ 2. การเสนอขอจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการอาจไม่สอดคล้องกับแผนฯเนื่องจากต้องเสนอขอจัดสรรงบประมาณก่อนแผนฯ จะประกาศใช้ | (not set) | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | 1 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : - สำนักงาน ก.ก. - สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร - สถาบันพัฒนาข้าราชการกทม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนัก สำนักงาน และสำนักงานเขต - สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
65 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.10 | 14.2.10 ปัญหาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงาน | 1) ปริมาณงานที่สะสมเป็นจำนวนมาก
2) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชนและผลสัมฤทธิ์ของงานมากกว่าคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่
3) การขาดอัตรากำลัง ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานหนักเกินเวลาการปฏิบัติงานเป็นประจำ | ![]() 20 | ![]() 9 | 1. เกิดภาวะความเครียดในการปฏิบัติงาน 2. ชีวิตประจำวันไม่สมดุล เพราะขาดการออกกำลังกาย 3. เกิดโรคภัยไข้เจ็บ 4. เกิดปัญหาครอบครัว | (not set) | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | สำนักงาน กก |
66 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.2 | 14.2.2 มีกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากและกฎหมายหลายฉบับมีความล้าสมัย ไม่เป็นปัจจุบัน | 1) การดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องมีกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ รองรับ
2) การปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันจำเป็นต้องมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมิให้เกิดข้อขัดแย้ง
3) การตีความตัวบทกฎหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เข้าใจไม่ตรงกัน | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. การปฏิบัติงานด้านดังกล่าวมีข้อผิดพลาด ไม่มีความชัดเจนและไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี 2. ข้าราชการและบุคลากรบางส่วนต้องสูญเสียประโยชน์จากความผิดพลาดของการปฏิบัติที่สับสน | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | สกค สกก สนค |
67 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.3 | 14.2.3 การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ไม่เหมาะสม | 1) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไม่เข้าใจหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
2) ผู้ขอรับการประเมินขาดความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข ฯลฯ
3) กระบวนการพิจารณาล่าช้า | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. วันที่มีผลในการประเมินหรือแต่งตั้งของผู้ขอรับการประเมิน (Effective Date) มีความล่าช้า 2. ผู้รับการประเมินเสียสิทธิบางประการที่หน่วยงานไม่สามารถย้อนหลังให้ได้ เช่นเงินรางวัลประจำปี ฯลฯ | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | สกก สกจ |
68 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.4 | 14.2.4 ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน | 1) การเจ้าหน้าที่ประจำส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานครสำนักและสำนักงานเขตมีความเข้าใจผิดในการพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันไม่ได้คัดกรองคุณสมบัติผู้สมัครฯ ก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาลงนามเพื่อจัดส่งเอกสารให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่
2) หลักเกณฑ์การรับสมัครไม่ชัดเจน | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. ผู้สมัครคัดบุคคลไม่ได้รับคำตอบหรือข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 2. เพิ่มภาระการตอบข้อสงสัยให้กับสำนักงาน ก.ก. และ สำนักงานการเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน 3. การเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเขต ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาให้แก่ข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้ 4. เกิดข้อร้องเรียนในประเด็นที่ผู้สมัครคัดเลือกฯ มีข้อสงสัย 5. ทำให้ผู้สมัครฯ เสียสิทธิ์ในการคัดเลือก 6. หลักเกณฑ์ไม่ชัดเจนทำให้ ผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | สกก สกจ |
69 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.5 | 14.2.5 บุคลากรของกรุงเทพมหานครกระทำผิดวินัย | 1) เจ้าหน้าที่ไม่ทราบระเบียบ/กฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
2) การบริหารจัดการไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
3) บุคลากรขาดคุณธรรมจริยธรรม และจิตสำนึกที่ดี
4) ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม | ![]() 9 | ![]() 6 | 1. ราชการได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดวินัยของบุคลากร 2. ภาพลักษณ์ขององค์กรขาดความน่าเชื่อถือ | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สกก สกค |
70 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.6 | 14.2.6 การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย | 1) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยจำนวนหลายแห่ง
2) กฎหมายที่ใช้ควบคุมทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครด้านวินัยมีความหลากหลาย
3) ขาดการบริหารจัดการที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล
4) การจัดเก็บข้อมูลผู้กระทำความผิดด้านวินัยไม่ครบถ้วน | ![]() 6 | ![]() 4 | 1. ได้บุคลากรที่เคยกระทำผิดวินัยเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ 2. การดำเนินการทางด้านบริหารทรัพยากรบุคคลล่าช้า 3. บุคลากรของกรุงเทพมหานครขาดขวัญและกำลังใจ | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สกจ สกก สกค |
71 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.7 | 14.2.7 บุคลากรของกรุงเทพมหานครไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร | 1) สวัสดิการต่าง ๆ มีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ และรายละเอียดที่ใช้ดำเนินการจำนวนมาก | ![]() 9 | ![]() 2 | 1. บุคลากรของกรุงเทพมหานครไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด2. มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสวัสดิการ | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สนป. |
72 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.8 | 14.2.8 ความไม่คุ้มค่าในการใช้งบประมาณเพื่อการพัฒนาข้าราชการกทม.และบุคลากรของกรุงเทพมหานคร | 1) การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาข้าราชการฯ ของหน่วยงานยังไม่คำนึงถึงความจำเป็นในการพัฒนาที่ขับเคลื่อนนโยบาย แผนพัฒนาและภารกิจหลักของหน่วยงานได้ระหว่างหน่วยงานและกลุ่มเป้าหมาย
2) การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาข้าราชการฯ ยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง | ![]() 9 | ![]() 6 | 1.การพัฒนาข้าราชการฯ อาจได้ผลไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ 2. การพัฒนาข้าราชการฯไม่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานครและลักษณะงานที่ปฏิบัติอย่างแท้จริง 3. การพัฒนาข้าราชการฯไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. |
73 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) | 14.2.9 | 14.2.9 ระบบสารสนเทศ(MIS 2) ด้านบุคลากรไม่มีประสิทธิภาพ | 1) การจัดการข้อมูลของระบบสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากตัวระบบไม่มีประสิทธิภาพ | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. ข้อมูลบุคลากรในระบบสารสนเทศ (MIS 2) ไม่เป็นปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ไม่ได้ | (not set) | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
74 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.1.1 | 15.1.1 ด้านรายได้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้และไม่เพียงพอต่องบประมาณรายจ่าย | เมื่อพิจารณาทั้งรายได้จากภาษีและไม่ใช่ภาษีที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเองและรายได้จากภาษีที่ส่วนราชการอื่น จัดเก็บให้ พบว่า มีสาเหตุ ดังนี้
1) ความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาคและการกำหนดนโยบาย มาตรการทางการเงินการคลังของรัฐบาล | ![]() 15 | ![]() 12 | 1. การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดลง ส่งผลกระทบให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บและได้รับการจัดสรรรายได้ลดลงตามไปด้วย | 1. ประชาชนได้รับบริการและการแก้ไขปัญหาไม่ตรงกับความต้องการ | 15 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | - สำนักการคลัง(สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองรายได้ กองบัญชี)หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร |
75 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.1.2 | 15.1.2 ด้านรายได้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้และไม่เพียงพอต่องบประมาณรายจ่าย | 2) ข้อจำกัดทางกฎหมายในการจัดหารายได้เพิ่มเติม อัตราภาษี อัตราค่าบริการต่างๆ ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน | ![]() 20 | ![]() 16 | - ทำให้รายได้จากที่ กทม. จัดเก็บเองในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงหรือเพิ่มไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความอ่อนแอทางการคลังของกรุงเทพมหานคร - ยอดจำหน่ายปริมาณน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันแจ้งมา เพื่อเสียภาษีในแต่ละเดือน ไม่สามารถตรวจสอบการจำหน่ายได้อย่างแท้จริง | - | 20 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 16 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | เจ้าภาพหลัก - สำนักการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองรายได้ กองบัญชี) |
76 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.2 | 15.2 ด้านรายจ่ายการเบิกจ่ายของหน่วยงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย | 1) การจัดเก็บรายได้ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลงไม่สมดุลกับงบประมาณที่ตั้งไว้2.หน่วยงานไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินที่กำหนดไว้3.หน่วยงานภาครัฐมอบนโยบายและหรือถ่ายโอนภารกิจให้กทม.ดำเนินการแต่ขาดการสนับสนุนงบประมาณ
| ![]() 12 | ![]() 6 | - | - | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักการคลัง |
77 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.3 | 15.3 ด้านการก่อหนี้และบริหารหนี้กรุงเทพมหานครอาจจะไม่มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อหนี้เงินกู้สำหรับโครงการขนาดใหญ่การบริหารหนี้เงินกู้ไม่มีประสิทธิผล | 1.ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร/หน่วยงานอาจจะไม่ทราบสถานะทางการคลังอย่างต่อเนื่องจึงไม่ได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนและก่อหนี้เงินกู้เกินความสามารถด้านการคลังของและหรืออาจจะไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดในสัญญา
2.การบริหารการกู้เงินมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ | ![]() 12 | ![]() 9 | - | - | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | - สำนักการคลัง(สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองรายได้ กองบัญชี) |
78 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.4 | 15.4 ด้านการบริหารสภาพคล่องระดับเงินคงคลังไม่เหมาะสมและเพียงพอต่อการบริหารสภาพคล่อง | 1) บริหารงานการเงิน โดยขาดการวิเคราะห์ข้อมูลฐานะทางการเงินที่ถูกต้องเหมาะสม | ![]() 9 | ![]() 4 | (not set) | (not set) | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | - สำนักการคลัง(สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองรายได้ กองบัญชี) |
79 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.1 | 15.5.1 การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และเข้าข่ายการทุจริต | 1) ขาดการควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดเนื่องจากผู้บังคับบัญชามีภารกิจที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก
2. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่มีเงื่อนไขจำนวนมาก ข้าราชการจึงใช้เป็นข้อต่อรองในการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ค้าหรือผู้รับจ้าง
3. ข้าราชการและผู้รับจ้างมีความสนิทสนม รู้จักกันมานาน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน
4. ขาดการหมุนเวียนงานของข้าราชการที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง
5. กระแสวัตถุนิยมในสังคม
6. ข้าราชการไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
7. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ในการละเมิดการควบคุม
8. ผู้บังคับบัญชาร่วมมือกับข้าราชการเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันและมีผลต่อความก้าวหน้าในตำแหน่ง
9. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจบังคับหรือชี้นำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการที่เข้าข่ายการทุจริต
10. องค์กรให้ค่าตอบแทนในอัตราที่ไม่เพียงพอกับการครองชีพ
11. ข้าราชการผู้รับผิดชอบมีปัญหาส่วนตัวทางด้านการเงิน เช่น ติดการพนัน มีหนี้นอกระบบ ฯลฯ
12. ข้าราชการเห็นเป็นเรื่องปกติ เคยชิน และทำตามคนอื่นที่ปฏิบัติมา
13. ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นข้าราชการที่ทำทุจริตได้รับโทษอย่างจริงจัง | ![]() 12 | ![]() 6 | 1. งานที่เกิดปัญหาอาจได้รับความเสียหาย ไม่มีคุณภาพประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเท่าที่ควร 2. ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย 3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี หากไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง (พฤติกรรมเลียนแบบ) 4. สิ้นเปลืองงบประมาณเพราะได้ผลสำเร็จไม่เต็มที่ 5. ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า | 1. ประชาชนได้รับบริการที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรจะเป็น 2. การแข่งขันทางด้านราคาไม่สมบูรณ์หรือไม่ยุติธรรมทำให้องค์กรเสียประโยชน์ | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | - สำนักงาน ก.ก. เจ้าภาพร่วม: - สำนักการคลัง |
80 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.10 | 15.5.10 การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมและใช้ระบบอุปถัมภ์ | 1. การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ความทะเยอทะยานและความต้องการก้าวหน้าในตำแหน่ง
3. ระบบอุปถัมภ์ที่ไม่มีคุณธรรม
4. ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา
5. ผู้กระทำผิดวินัยหรือกระทำทุจริตไม่ได้รับการลงโทษอย่างจริงจังและยังได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้า | ![]() 12 | ![]() 6 | 1. ส่งเสริมให้ข้าราชการที่ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอได้ดำรงตำแหน่ง 2. การบริหารงานในตำแหน่งที่มีความสำคัญ อาจได้รับความเสียหาย ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. ทำให้มีช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์ โดยใช้อำนาจในทางที่มิชอบ 4. ภาพลักษณ์ขององค์กรเสียหาย 5. ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถขาดโอกาสในการก้าวหน้าในตำแหน่ง 6. เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี | - | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักงาน ก.ก. เจ้าภาพร่วม: - สำนักการคลัง |
81 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.2 | 15.5.2 การเรียกรับผลประโยชน์ เช่น การอนุมัติ อนุญาต การออกเอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ ฯลฯ | 1. ขาดการควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหัวหน้างานมีภารกิจจำนวนมาก
2. การปฏิบัติงานมีหลายขั้นตอนและให้อำนาจใช้ดุลยพินิจเปิดโอกาสให้ข้าราชการใช้เป็นข้อต่อรองในการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อแลกกับความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ
3. ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานมีแรงกดดันจากปัญหาส่วนตัวด้านการเงิน เช่น ติดการพนัน หนี้สิน
4. ข้าราชการมีอำนาจเต็มที่
5. ขาดการหมุนเวียนงานของข้าราชการที่รับผิดชอบงานดังกล่าว
6. ข้าราชการมีความทะเยอทะยาน
7. กระแสวัตถุนิยมในสังคม
8. ข้าราชการรู้จักสนิทสนมและ
9. ผู้ค้าหรือผู้รับจ้างเสนอผลประโยชน์ให้กับข้าราชการ
10. ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่มิชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ค้าหรือผู้รับจ้าง
11. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ในการละเมิดการควบคุม บังคับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดำเนินการที่เข้าข่ายการทุจริต
13. ผู้บังคับบัญชาร่วมมือกับข้าราชการที่รับผิดชอบ เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีผลต่อความก้าวหน้าในตำแหน่ง
14. องค์กรให้ค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอกับการครองชีพ
15. ข้าราชการเห็นเป็นเรื่องปกติเคยชิน และปฏิบัติตามกันมา
16. ไม่เคยเห็นผู้ที่ทำทุจริตได้รับโทษ | ![]() 12 | ![]() 6 | 1. ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย 2. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี หากไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง (พฤติกรรมเลียนแบบ) 3. องค์กรสูญเสียเงินหรือรายได้บางส่วน 4. งานได้รับความเสียหาย ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล | 1. ประชาชนได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายฃในการรรับบริการโดยไม่จำเป็น 2. ประชาชนได้รับการเหลื่อมล้ำในการขอรับบริการ | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | เจ้าภาพหลัก : สำนักงาน ก.ก. เจ้าภาพร่วม: สำนักการคลัง |
82 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.3 | 15.5.3 การยักยอกเงินเช่น การเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย ภาษีประเภทต่าง ๆ การใช้ใบเสร็จปลอม ฯลฯ | 1. รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายประจำ จึงเป็นแรงกดดันให้ทำการ-ทุจริต (เงินเดือนและผลตอบแทนน้อยกว่าค่าครองชีพ)
2. ขาดการควบคุมและติดตามงานจากผู้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากไว้วางใจและติดภารกิจอื่น
3. ไม่มีมาตรการควบคุมการ-ดำเนินการที่รัดกุม เปิดโอกาสให้ข้าราชการทำทุจริตได้ เช่น ไม่ควบคุมการเบิกและรักษาใบเสร็จ
4. ขาดการหมุนเวียนงานของข้าราชการที่รับผิดชอบงานดังกล่าว
5. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ในการละเมิดการควบคุม
6. ผู้บังคับบัญชาร่วมมือกับข้าราชการที่รับผิดชอบงานดังกล่าวเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีผลต่อความก้าวหน้าในตำแหน่ง
7. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการที่เข้าข่ายการทุจริต
8. กระแสวัตถุนิยม
9. ข้าราชการผู้รับผิดชอบมีปัญหาส่วนตัวทางด้านการเงิน เช่น ติดการพนัน มีหนี้สิน ฯลฯ
10. ข้าราชการเห็นเป็นเรื่องปกติเคยชิน และปฏิบัติตามกันมา
11. ไม่เคยเห็นข้าราชการที่ทำทุจริตได้รับการลงโทษอย่างจริงจัง | ![]() 8 | ![]() 4 | 1. รายได้ของกรุงเทพมหานครไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือประมาณการ 2. ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย 3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี หากไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง (พฤติกรรมเลียนแบบ) 4. ต้องสรรหาข้าราชการหรือบุคลากรใหม่ 5. สูญเสียงบประมาณในการนำมาพัฒนากรุงเทพมหานคร 6. งานขององค์กรได้รับความเสียหาย ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล | 1. ประชาชนได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรรับบริการโดยไม่จำเป็น 2. ประชาชนได้รับการเหลื่อมล้ำในการขอรับบริการ | 8 | ระดับความเสี่ยงสูง | 4 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | สำนักงาน กก |
83 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.4 | 15.5.4 การใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างไม่เหมาะสมเช่น นำไปใช้ส่วนตัว สำรองห้องพักของโรงพยาบาลให้กับญาติและคนรู้จัก ฯลฯ | 1. ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติควบคุม ครอบครอง และรักษาทรัพย์สิน ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
2. ความสนิทสนมส่วนบุคคลระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงละเว้นหรือไม่ปฏิบัติตามระบบการควบคุมที่กำหนดไว้
3. ความไว้วางใจ ขาดการติดตามและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
4. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ในการละเมิดการควบคุม
5. ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวร่วมมือกัน เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีผลต่อความก้าวหน้าในตำแหน่ง
6. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจบังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำทุจริต
7. กระแสวัตถุนิยมในสังคม
8. ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงซึ่งเป็นสิ่งล่อใจ
9. ข้าราชการผู้รับผิดชอบมีปัญหาส่วนตัวทางด้านการเงิน เช่น ติดการพนัน มีภาระหนี้สิน ฯลฯจึงไม่สามารถซื้อทรัพย์สินที่เป็นของตนเองได้
10. ข้าราชการเห็นเป็นเรื่องปกติเคยชิน และปฏิบัติตามกันมา
11. ไม่เคยเห็นข้าราชการที่ทำทุจริตได้รับการลงโทษอย่างจริงจัง | ![]() 12 | ![]() 9 | 1. ทรัพย์สินของทางราชการชำรุดและเสียหาย 2. สิ้นเปลืองงบประมาณ 3. สูญเสียโอกาสในการใช้งานทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับราชการ 4. งานขององค์กรได้รับความเสียหาย 5. งานไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีหากไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง (พฤติกรรมเลียนแบบ) | (not set) | 12 | ระดับความเสี่ยงสูงมาก | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : - สำนักงาน ก.ก.เจ้าภาพร่วม: - สำนักการคลัง |
84 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านการเงิน | 15.5.5 | 15.5.5 การเบียดบังเวลาราชการ | 1. ข้าราชการเห็นประโยชน์ส่วนตนสำคัญกว่าประโยชน์ของทางราชการ
2. ข้าราชการไม่รับผิดชอบงานในอำนาจหน้าที่และไม่มีวินัยในการปฏิบัติงาน
3. ข้าราชการเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเคยชิน และปฏิบัติตามกันมา
4. ไม่เคยเห็นข้าราชการที่ทำทุจริตได้รับการลงโทษอย่างจริงจัง | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. งานในความรับผิดชอบไม่บรรลุผลสำเร็จ 2. งานไม่มีประสิทธิภาพ 3. ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย 4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี หากไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง (พฤติกรรมเลียนแบบ) 5. ประชาชนได้รับบริการที่ไม่มีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น | - | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : - สำนักงาน ก.ก.เจ้าภาพร่วม: - สำนักการคลัง |
85 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านกฎหมาย | 16.1 | 16.1 มีกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจำนวนมาก และกฎหมายหลายฉบับมีความล้าสมัย ไม่เป็นปัจจุบัน | 1) การดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องมีกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ รองรับ
2) การปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันจำเป็นต้องมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมิให้เกิดข้อขัดแย้ง
3) การตีความตัวบทกฎหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เข้าใจไม่ตรงกัน | ![]() 6 | ![]() 2 | 1. การปฏิบัติงานด้านดังกล่าวมีข้อผิดพลาด ไม่มีความชัดเจนและไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี 2. ข้าราชการและบุคลากรบางส่วนต้องสูญเสียประโยชน์จากความผิดพลาดของการปฏิบัติที่สับสน | 1.กฎหมายที่ได้กระทบจากประชาชน ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา | 6 | ระดับความเสี่ยงปานกลาง | 2 | ระดับความเสี่ยงต่ำ | เจ้าภาพหลัก : สำนักงานกฎหมายและคดี สภากรุงเทพมหานคร |
86 | G (goverment)- ธรรมภิบาล | ความเสี่ยงด้านกฎหมาย | 16.2 | 16.2 ระเบียบ คำสั่ง กฎหมาย ข้อบังคับ และแนวทางการปฏิบัติไม่ได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องรองรับ และเอื้ออำนวยต่อการประยุกต์เทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติราชการและการบริการของกรุงเทพมหานคร | 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพ-แวดล้อมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
2. การปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติต่าง ๆ มีขั้นตอนมากและใช้ระยะเวลานาน
3. ไม่มีการศึกษาว่า ระเบียบคำสั่ง กฎหมาย ข้อบังคับ ฯใดบ้าง ที่ไม่สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ![]() 9 | ![]() 9 | 1. ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ทดแทนเฉพาะส่วนของอุปกรณ์ที่ชำรุดได้ 2. ไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนที่หน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ เนื่องจากระเบียบฯ ไม่ได้ถูกแก้ไข | 1. ไม่สามารถเพิ่มช่องทางหรือวิธีการ เพื่อจัดทำโปรแกรมประยุกต์ให้บริการประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์เทคโนโลยีและความต้องการของประชาชน | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | 9 | ระดับความเสี่ยงสูง | เจ้าภาพหลัก : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ทุกหน่วยงาน |
